ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 4793 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

นํ้ายางข้น จี้รัฐหนุนหมื่นล้าน ดันราคายางพุ่ง 60 บาทต่อกิโล

นํ้ายางข้น จี้รัฐหนุนหมื่นล้าน ดันราคายางพุ่ง 60 บาทต่อกิโล

ดันราคายางพุ่ง 60 บาทต่อกิโล ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ มีผู้..

data-ad-format="autorelaxed">

ดันราคายางพุ่ง 60 บาทต่อกิโล

สภาพเศรษฐกิจของภาคการเกษตรไทยมีปัญหาราคาตกต่ำต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางพารา ที่มีปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ จากปัญหาราคายางและผลิตภัณฑ์ยางตกต่ำ และไม่มีเสถียรภาพมาโดยตลอด กระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ในส่วนของน้ำยางข้น หนึ่งในห่วงโซ่การผลิตที่สำคัญที่รับซื้อน้ำยางสดจากเกษตรกรมาผลิตต่อ ได้มีแนวคิดหรือไอเดียเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราตกต่ำ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ภาครัฐไม่ต้องรับภาระซื้อและเก็บสต๊อกยางให้เป็นภาระอีกต่อไป ซึ่ง “ชัยพจน์ เรืองอรุณวัฒนา “นายกสมาคมน้ำยางข้นไทยคนปัจจุบันได้สะท้อนแนวคิด ผ่าน”ฐานเศรษฐกิจ” ดังบรรทัดถัดจากนี้

 

ซัพพลายทั่วโลกเพิ่ม-สต๊อกล้น

 

“ชัยพจน์” กล่าวว่า ยางพารา เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ ทั้งทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศ มีผู้เกี่ยวข้องมากถึง 15% ของจำนวนประชากรของไทย และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยในปี 2558 ประเทศไทยผลิตยางพาราได้ประมาณ 4.47 ล้านตัน มูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 4 แสนล้านบาท ที่ผ่านมาสถานการณ์ผลิต และการใช้ยางพาราของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในสภาวะเศรษฐกิจโลกมีปัญหาในช่วงที่ผ่านมานั้นพบว่าปริมาณการผลิต และปริมาณการใช้ยางพาราไม่สมดุลกัน มีสต๊อกคงเหลือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ราคายางพาราในตลาดโลกลดลงและส่งผลกระทบต่อราคายางในประเทศไทยไปด้วย

 

ดังนั้นจึงเกิดความผันผวนของราคายางในประเทศมาตั้งแต่ปลายปี 2554 และส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวสวนยางมาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งในปี 2558 รัฐบาลได้เข้ามาแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำใน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง และโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง หรือบัฟเฟอร์ฟันด์

 

“ทั้ง 2 โครงการสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะสั้น เพราะงบประมาณมีจำกัด ทำให้ปริมาณยางที่รับซื้อยังมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับผลผลิตยางทั้งประเทศ ซึ่งโครงการสามารถผลักดันราคายางให้สูงขึ้นได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งรัฐบาลยังมีภาระต้องดูแลสต๊อกยางมาจนถึงปัจจุบันประมาณ 3.1 แสนตัน ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าฝากเก็บ ดอกเบี้ย เจ้าหน้าที่และอื่นๆ โดยเฉลี่ยเดือนละ 30 ล้านบาท ขณะที่ยางเริ่มเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา สวนทางกับต้นทุนที่สูงขึ้นทุกวัน ถือว่าเป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดิน”

 

เร่งรัฐหนุนหมื่นล. ดัน 60 บ./กก.

 

ดังนั้นเมื่อเร็ว ๆนี้ ทางสมาคมน้ำยางข้นไทย จึงได้เข้าหารือกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำ โดยรัฐบาลไม่ต้องรับภาระซื้อและเก็บรักษายางอีกต่อไป แต่จะใช้วิธีอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการยางให้ดูดซับยางพาราออกจากระบบนำไปเก็บในสต๊อกของผู้ประกอบการในลักษณะหมุนเวียน เพื่อลดปริมาณยางในตลาด ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางในตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยขอสนับสนุนวงเงินดำเนินการ 1 หมื่นล้านบาท รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยไม่เกิน 3% มีระยะเวลาในการดำเนินการโครงการ 2 ปี (ตั้งแต่ ต.ค.59 – ก.ย.61) ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนยาง และขอให้ภาครัฐให้การสนับสนุนโดยเร็ว

“ทางสมาคมจึงได้เสนอระยะเวลาของโครงการนี้ 2 ปี ก็คือ ระหว่างเดือนตุลาคม 2559-กันยายน 2561 มีเป้าหมายที่จะดูดซัพพลายยางออกจากระบบประมาณ 20% ของผลผลิตน้ำยางข้น 1.9 แสนตัน จากผลผลิตทั้งปีประมาณ 9.6 แสนตัน (เนื้อยางแห้ง) คาดหวังจะช่วยดันราคายางให้ไปถึง 60 บาทต่อกิโลกรัม”

 

ผลพวงบีบต่างประเทศเร่งซื้อ

 

“ชัยพจน์” กล่าวอีกว่า หากไทยเร่งดำเนินโครงการนี้จะสามารถสร้างความกังวลให้กับผู้ใช้ยางพาราในต่างประเทศ จนต้องรีบออกมาซื้อยางจากไทยมากขึ้น เพราะเป็นการสร้างอุปสงค์ในตลาดมากขึ้น ส่งให้ราคายางปรับตัวขึ้นอย่างอัตโนมัติ ดังนั้นจึงเห็นว่าควรจะเร่งอนุมัติให้โครงการนี้เกิดโดยเร็วแม้ว่าในช่วงนี้ปริมาณฝนตกค่อนข้างมากทำให้ชาวสวนกรีดยางไม่ได้ ราคาน้ำยางสดนับตั้งแต่นี้จนถึงสิ้นปี คาดว่าอยู่ที่ราคา 50 บาทต่อกิโลกรัม

 

ควง กยท.ถกมาเลย์

 

ที่ผ่านมาไทยเป็นผู้ประเทศส่งออกน้ำยางสดให้มาเลเซียโดยเฉลี่ยปีละ 3 แสนกว่าตัน แต่ไม่เคยเชื่อมกันในนามของสมาคม อาจจะแยกกันต่างคนต่างขาย ดังนั้นครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งแรกที่สมาคมร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) นำคณะโดยนายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์การยาง กยท.ได้เดินทางไปเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา เพื่อประชุมหารือกับคณะกรรมการยางมาเลเซีย (MRB) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดน้ำยางข้นจากยางธรรมชาติและน้ำยางสังเคราะห์ เพื่อกำหนดทิศทางอนาคตของร่วมกัน พร้อมกันนี้ได้แสวงหาแนวทางในการสนับสนุนทางจากรัฐบาลของทั้ง 2 ฝ่ายทางด้านตลาดยางพารา เพื่อสร้างเข้มแข็งสามารถเพิ่มรายได้ จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางของทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมและเกษตรกรชาวสวนยางในที่สุด

 

“ปัจจุบันสมาชิกของสมาคมฯ มีสมาชิกสามัญ 49 ราย สมาชิกวิสามัญ 29 ราย และสมาชิกกิตติมศักดิ์ 3 ราย รวมทั้งสิ้น 81 ราย ผมได้รับตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม (วาระปี 2559 – 2561) ที่ผ่านมาได้มีนโยบายในการบริหารของสมาคมน้ำยางข้นไทย อาทิ ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในทุกมิติเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรสวนยางให้สามารถขายยางได้ในราคาที่ยุติธรรม ส่งเสริมและสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่สมาชิก ยกระดับสินค้าน้ำยางข้นของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ต้องการของลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ เป็นผู้นำ และให้ความร่วมมือสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมยางพารา โดยเน้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำยางข้นเป็นหลัก เป็นต้น”

 

source: thansettakij.com/2016/10/21/106073


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4793 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6688
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7051
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>