data-ad-format="autorelaxed">
หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60
พลเอกประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมงานเปิดโครงการปลูกหม่อนเลี้ยงแพะ จ.นนทบุรี ซึ่งจัดโดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี ร่วมกับกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทองและประชารัฐ โดยใช้แผนที่ Agri-map ประกอบการจัดทำโครงการ ณ กลุ่มคนรักสัตว์บางบัวทอง ตำบลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เมื่อวันก่อน
ทั้งนี้ กรมหม่อนไหมได้นำหม่อนพันธุ์ บุรีรัมย์ 60 มาปลูกในพื้นที่ 8 ไร่ หมู่ 12 ตำบลบางบัวทอง เพื่อเป็นอาหารใช้เลี้ยงแพะ รวมถึงเป็นสมุนไพรสำหรับคน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกร นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ได้ผลผลิตสูง โดยมีเป้าหมายประเทศไทย 4.0 และสนับสนุนโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สำหรับหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 นั้น เมื่อปี 2525 นายไชยยงค์ สำราญถิ่น และ นายเธียรศักดิ์ อริยะ ผู้อำนวยการสถานีทดลองหม่อนไหมศรีสะเกษและบุรีรัมย์ ในขณะนั้น ได้นำท่อนพันธุ์หม่อนหมายเลข 44 มาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีใบใหญ่หนา ข้อปล้องถี่ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง แต่ต้องขยายพันธุ์ด้วยการติดตาหรือเสียบกิ่ง ในขณะนั้นพันธุ์หม่อนน้อยที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก มีคุณภาพใบดีขยายพันธุ์ได้ง่าย แต่มีผลผลิตค่อนข้างต่ำ
ทางสถานีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์จึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์หม่อนโดยการผสมหม่อนหมายเลข 44 เพศเมีย กับหม่อนน้อย เพศผู้ เพื่อรวมลักษณะที่ดีเข้าด้วยกัน ในปี 2526 และทำการเพาะกล้าหม่อน 140 ต้น และคัดเลือกต้นที่ดีไว้ 58 ต้น
ต่อมาในปี 2527 ได้ทำการขยายพันธุ์หม่อนที่คัดเลือกไว้ 58 ต้น โดยการปลูกด้วยพันธุ์แล้ว คัดเลือกต้นที่ออกรากได้ดีสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยท่อนพันธุ์และต้านทานต่อโรคใบด่าง จนใน ปี 2528 ได้ทำการคัดเลือกต้นที่มีความแข็งแรงปลูกง่ายทรงพุ่มดีใบใหญ่และหนาไว้จำนวน 12 พันธุ์
ในระหว่างปี 2529-2530 ได้ทำการเปรียบเทียบผลผลิตใบหม่อนเพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุด โดยใช้หม่อน 5 พันธุ์ คือ บร.4, บร.5,บร.9,บร.10,บร.36 กับพันธุ์มาตรฐานหม่อนน้อย และได้นำไปปลูกทดสอบในไร่เกษตรกร พื้นที่นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ นิคมสร้างตนเองปลวกแดง จ.ระยอง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ฉะเชิงเทรา พบว่า พันธุ์ บร.9 ให้ผลผลิตสูงที่สุดในทุกสถานที่
ลักษณะเด่นของพันธุ์ บร.9 คือให้ผลผลิตต่อไร่สูง 4,328 กิโลกรัมต่อไร่ มีการเจริญเติบโตและตอบสนองต่อปุ๋ยดี แตกกิ่งเร็วหลังตัดแต่ง ใบมีขนาดใหญ่ หนา อ่อนนุ่ม ไม่เหี่ยวง่าย ใบมีคุณค่าทางอาหารสูงใกล้เคียงกับหม่อนน้อย ทรงต้นตั้งตรง สะดวกในการเขตกรรมและดูแลรักษา นอกจากนี้ยังต้านทานต่อโรคใบด่างและทนทานต่อโรคราแป้งได้ดีกว่าหม่อนน้อย และกรมวิชาการเกษตรได้มีมติรับรองเป็นพันธุ์รับรอง เมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2530 ที่ผ่านมา โดยใช้ชื่อว่า หม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60
แต่มีข้อจำกัดคือ ไม่เหมาะกับการปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หรือปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ... อ่านต่อที่ :
source: dailynews.co.th/agriculture/530506