ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 4916 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ชงปิดชดเชยยาง1.5 พัน/ไร่ หลังธ.ก.ส. ควักสำรองจ่ายแล้วกว่าหมื่นล. / ตัวเลขเริ่มนิ่ง

ชงปิดชดเชยยาง1.5 พัน/ไร่ หลังธ.ก.ส. ควักสำรองจ่ายแล้วกว่าหมื่นล. / ตัวเลขเริ่มนิ่ง

ใช้เงินไปทั้งสิ้นกว่าหมื่นล้าน ด้านเกษตรกรอัดรัฐ ทำไม่ถูก ชี้ช่วยชาวนาให้เปล่า แต่กับชาวสวนยางจะให้ควักเซสส์ จ่ายคืน..

data-ad-format="autorelaxed">

ธ.ก.ส.ส่งสัญญาณให้ กยท.ปิดโครงการสร้างความเข้มแข็งจ่ายชดเชยยางไร่ละ 1,500 บาท หลังตัวเลขข้อมูลเริ่มนิ่ง เจ้าของสวนเข้าร่วมโครงการกว่า 7 แสนราย และผู้กรีดยางกว่า 6 แสนราย ใช้เงินไปทั้งสิ้นกว่าหมื่นล้าน ด้านเกษตรกรอัดรัฐ ทำไม่ถูก ชี้ช่วยชาวนาให้เปล่า แต่กับชาวสวนยางจะให้ควักเซสส์ จ่ายคืน ธ.ก.ส. แนะควรเก็บให้สถาบันเกษตรกรหนุนแปรรูป

 

โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1500 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2559
โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1500 บาท ข้อมูล ณ วันที่ 29 กันยายน 2559

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงโครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยจ่ายเงินเงินชดเชยให้กับเจ้าของสวนยางและคนกรีดยางไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ว่า ล่าสุดทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้แจ้ง ณ วันที่ 29 กันยายน 2559 ได้จ่ายเงินเงินช่วยเหลือให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง จำนวน 710,749 ราย พื้นที่ 7,108,283.25 ไร่ จำนวนเงินกว่า 6,397 ล้านบาท และจ่ายเงินให้กับผู้ที่กรีดยาง 673,428 ราย จำนวนเงินกว่า 4,064 ล้านบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 10,461 ล้านบาท ซึ่งตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.)วันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ให้ ธ.ก.ส.สำรองจ่ายไปก่อน และให้ กยท.นำเงินจากกองทุนพัฒนายางพารามาจ่ายคืนให้กับ ธ.ก.ส.เป็นลำดับแรก หากไม่พอจึงให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป

 

“ปัจจุบันข้อมูลที่ กยท.ส่งรายชื่อทั้งเจ้าของสวนและผู้กรีดยางตัวเลขเริ่มนิ่งแล้ว คาดว่าในเร็วๆ นี้จะส่งเรื่องให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปิดโครงการ สันนิษฐานว่าคงจะมีเกษตรกรจำนวนเท่านี้ที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ล่าสุด ทาง กยท.มีหนังสือตอบกลับมาสั้นๆ ว่าเงินกองทุนพัฒนายางพารานั้นส่วนใหญ่เป็นเงินผูกพันการส่งเคราะห์เจ้าของสวน ซึ่งรับโอนมาจากกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง โดยจะจัดสรรตามจำนวนที่เกิดขึ้นในแต่ละปีงบประมาณไปจนกว่าจะครบจำนวนภาระการผูกพันการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางดังกล่าว จึงไม่สามารถที่จะอนุมัติคืนให้กับ ธ.ก.ส.ได้”

 

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง ทุนประเดิมของ กยท. ณ วันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ในสัดส่วนของทุนประเดิม 15% เป็นเงิน 4,696 ล้านบาท และกองทุนพัฒนายางพารา 85% เป็นเงิน 26,613 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินผูกพันการสงเคราะห์เจ้าของสวน จำนวน 23,000 ล้านบาท และเงินคงเหลือไม่มีข้อผูกพัน จำนวน 3,613 ล้านบาท ได้นำมาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 49 (1) (2) (3) (4) (5) และ (6) ในจำนวนไม่เกินอัตราร้อยละที่แต่ละอนุมาตรากำหนดไว้นั้น ทาง กยท.ได้ทำหนังสือหารือกับทางคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ข้อสรุปว่า หาก ทาง กยท.มีความจำเป็นย่อมสามารถกระทำ แต่ทางบอร์ดเห็นว่าไม่สามารถนำเงินผูกพันการสงเคราะห์เจ้าของสวนยาง (ยอดเดิม 23,000 ล้านบาท หักปี 2559 จำนวน 5,250 ล้านบาท คงเหลือ 17,750 บาท) มาจ่ายคืนให้กับ ธ.ก.ส.ได้ และเห็นควรให้ ธ.ก.ส.เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป

 

“ผลการดำเนินงาน ในปีงบประมาณ 2559 กยท.จัดเก็บค่าธรรมเนียมจากการส่งออกยางพาราออกนอกราชอาณาจักร หรือเงินเซสส์ ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2559 จำนวนกว่า 4,063 ล้านบาท จึงมีการอนุมัติการจัดสรร ดังนี้ 1.ตามมาตรา 49(1) จำนวนไม่เกิน 10% เท่ากับ 406.327 ล้านบาท 2.ตามมาตรา 49 (2) จำนวนไม่เกิน 40% เท่ากับ 1,625.302 ล้านบาท 3.ตามมาตรา 49(3) จำนวนไม่เกิน 35% เท่ากับ 1,422.140 ล้านบาท 4. ตามมาตรา 49(4) จำนวนไม่เกิน 5% เท่ากับ 203.163 ล้านบาท 5. ตาม 49(5) จำนวนไม่เกิน 7% เท่ากับ 284.427 ล้านบาท และ 6. ตามมาตรา 49(6) จำนวนไม่เกิน 3% เท่ากับ 121.897 ล้านบาท”

 

ด้านนายสาย อิ่นคำ ผู้แทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (บอร์ด กยท.) กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยที่จะนำเงินเซสส์ ไปจ่ายให้ ธ.ก.ส. ควรจะนำเงินสนับสนุนให้เกษตรกรตั้งโรงงงานแปรรูป เพิ่มมูลค่า และเก็บไว้เป็นสวัสดิการของชาวสวนยางพารา จะเกิดประโยชน์ที่ภาพรวมมากกว่า

 

เช่นเดียวกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) ที่กล่าวว่า รัฐบาลช่วยเหลือชาวนา แบบให้เปล่า แต่พอมาช่วยชาวสวนยาง กลับจะนำเงินเซสส์มาใช้มองว่าไม่ถูกต้อง ควรจะทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

 

source: thansettakij.com/2016/10/03/102784


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4916 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7567
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6689
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7664
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6651
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7052
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>