data-ad-format="autorelaxed">
เลี้ยงกบเนื้อ
ผลกระทบจากราคายางพาราตกต่ำทำให้เกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬต้องพึ่งพาตนเองเพื่อหารายได้เสริม ให้สามารถจับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องตัวโดยไม่พึ่งยางพาราเพียงอย่างเดียว
นายสมพร องอาจ อายุ 36 ปีอยู่บ้านเลขที่ 280 หมู่ที่ 6 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่หันมาเลี้ยงกบที่ผสมมาจากหลายสายพันธุ์ คือ กบบลูฟร๊อก กบภูเขา กบจานและกบมาเล เป็นกบเนื้อลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนาโครงสร้างและสีสันขึ้น ทำให้เลี้ยงง่ายโตไว ซึ่งปกติกบสายพันธุ์ทั่วไปจะเลี้ยงกันอยู่ประมาณ 6 เดือน แต่กบสายพันธุ์ใหม่นี้จะเลี้ยงอยู่ที่ 3 -5 เดือน การเลี้ยงจะเลี้ยงแบบขุนในระบบบ่อ โดยใช้กระชังบกที่ผลิตขึ้นเอง (ลักษณะคล้ายบ่อ 4 เหลี่ยม) หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแกล้งเลี้ยงในบ่อ โดยจะใช้เวลาเลี้ยงแค่ 3 เดือน ก็จะสามารถจับขายได้ น้ำหนักก็อยู่ที่ประมาณ 4 – 5 ตัวต่อกิโลกรัม/ละ 150 บาท หากซื้อยกบ่อก็จะขายถูกลงมาอีกกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งการเลี้ยงกบในกระชังบกข้อดีคือ จะดูแลรักษาง่ายใช้พื้นที่น้อย เลือกพื้นที่วางบ่อได้ตามต้องการ การเปลี่ยนถ่ายน้ำก็ไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้ยังได้รับการดูแลจากประมงจังหวัดบึงกาฬ ที่เข้ามาติดตามและแนะนำให้ความรู้เสริมอีกทางหนึ่งด้วย
นายสมพรชัย เล่าว่า เดิมทีเคยเลี้ยงกบอยู่ที่นครปฐมพอย้ายมาบึงกาฬก็เลยนำกบมาเลี้ยงด้วย โดยนำสายพันธุ์มาด้วยซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ร่วมกันกับน้องคิดค้นขึ้นมา โดยนำสายพันธุ์กบบลูฟร๊อก กบภูเขา กบจานและกบมาเล มาผสมกันพัฒนาเรื่องโครงสร้างยังไม่ได้กำหนดชื่อสายพันธุ์
ปัจจุบันคุณสมพร นอกจากจะเลี้ยงกบไว้ขายแล้วยังได้เพาะพันธุ์ลูกกบ (หรือลูกอ๊อด) ขายทำรายได้เพิ่มขึ้นอีก โดยลูกอ๊อดจะขายในราคาตั้งแต่ 2 - 8 บาท/ตัวขึ้นอยู่กับขนาด เดือนหนึ่งมีรายได้จากการขายกบเนื้อและขายลูกอ๊อดประมาณ 30,000 - 40,000 บาท นอกจากนี้แล้วยังได้ผลิตกระชังบกจำหน่ายในราคาถูกเน้นเลือกวัสดุที่มีคุณภาพโดยกระชังบกจะประกอบด้วยผ้าพลาสติกทำเป็นพื้น และยกขอบเป็นบ่อเย็บต่อด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์อื่นเข้ามารบกวนและป้องกันกบหนีจากบ่อ นอกจากจะเป็นกระชังบกเลี้ยงกบแล้วยังสามารถใช้เลี้ยงปลาดุก ปลาไหล ปลาหมอและกุ้งฝอยได้อีกด้วย ซึ่งราคากระชังบกจะขึ้นอยู่กับขนาดและความหนาของผ้าพลาสติก เช่น ขนาดกว้าง 2 เมตรยาว 3 เมตรสูง 1.20 เมตร ราคาอยู่ที่ 650 บาท ซึ่งสามารถผลิตได้ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ หากเกษตรกรที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ คุณสมพร องอาจ เบอร์โทรศัพท์ 0629893562
source: nwnt.prd.go.th/