ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 11124 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงแพะ เพื่อสร้างรายได้หลัก หรือ เพื่อเป็นรายได้เสริม และ วิธีการ ป้องกัน รักษา โรคที่เกิดกับแพะ

การเลี้ยงแพะ เพื่อสร้างรายได้หลัก หรือ เพื่อเป็นรายได้เสริม และ วิธีการ ป้องกัน รักษา โรคที่เกิดกับแพะ

การเลี้ยงแพะ - แพะถือเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยงน่าสนใจน่าศึกษาอีกประเภทหนึ่งน่ะครับ เพราะว่าสามารถเลี้ยงเพื่อขายได้ทั้ง..

data-ad-format="autorelaxed">

การเลี้ยงแพะ

การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรก็มีหลายแบบน่ะครับมีทั้งเลี้ยงเพื่อเพาะพันธ์ุขาย หรือเลี้ยงเพื่อขายเนื้อขายลูกพันธ์ุเป็นต้น สัตว์เศรษฐกิจในประเทศไทยก็เกิดขึ้นมากมาย มีทั้งแบบพันธ์ุแท้และมีทั้งแบบนำผสมเทียมเพื่อให้ได้สายพันธ์ุใหม่ที่สามารถเลี้ยงให้เข้ากับสภาพอากาศของประเทศไทยเรา เพราะประเทศไทยเรามีสภาพอากาศที่ร้อนจึงต้องเลี้ยงสัตว์ประเภทที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศบ้านเราได้ไม่งั้นก็จะทำให้ขาดทุนกันน่ะครับ

 

แพะถือเป็นสัตว์ที่น่าเลี้ยงน่าสนใจน่าศึกษาอีกประเภทหนึ่งน่ะครับ เพราะว่าสามารถเลี้ยงเพื่อขายได้ทั้งเนื้อ,นม,ขนหรือแม้กระทั่งเขา แถมราคายังดีอีกด้วย แพะเป็นสัตว์เลี้ยงที่เชื่องที่สุดในจำนวนสัตว์ชนิดที่ใกล้เคียงกันและตอนนี้ก็เป็นที่นิยมเลี้ยงกันในกลุ่มเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ มีทั้งเลี้ยงแบบเป็นรายได้เสริมและเลี้ยงแบบเป็นอาชีพหลักเปิดเป็นฟาร์มเลยก็มี เพราะแพะเป็นสัตว์ประเภทสวยงามด้วยเด็กๆเห็นก็ชอบจึงมักมีการนำเอาไปโชว์ตามงานต่างๆเพื่อให้เด็กๆได้ให้นมแพะกันน่ะครับ

 

แพะเป็นสัตว์ที่น่าจับตามองและน่าสนใจเพราะเลี้ยงไม่ยาก คุณสมบัติโดดเด่นและพิเศษหลายประการที่น่าเลี้ยงแพะมีหลายอย่างเช่น

  • ให้ผลผลิตได้ทั้งเนื้อและนม
  • โตเร็วให้ผลผลิตเร็วเลี้ยงไม่นานก็สามารถผสมพันธ์ุและคลอดลูกใช้เวลาในเพียงไม่กี่เดือนเลยครับ
  • แพะเลี้ยงง่ายเพราะมีขนาดลำตัวที่เล็กจึงง่ายต่อการดูแลเด็กและผู้หญิงก็สามารถเลี้ยงและดูแลได้
  • กินอาหารได้หลายชนิด ทั้งหญ้าและพืชผักผลไม้และสามารถหาอาหารกินเองได้
  • เจริญเติบโตเร็ว สามารถผสมพันธ์ุได้เมื่อมีอายุได้แค่เพียง 8 เดือน อุ้มท้องเป็นเวลา 5 เดือน 
  • มีความสมบูรณ์พันธ์ุสูงสามารถคลอดลูกแฝดและใช้ระยะเวลาสั้นในการเลี้ยงลูกจึงสามารถตั้งท้องใหม่ได้เร็ว
  • ที่สำคัญทนต่อสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีคือสภาพที่แล้งและสภาพอากาศร้อน ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
  • ใช้พื้นที่ในการเลี้ยงน้อย คอกเล็กๆก็อยู่ได้สี่ห้าตัวเพราะแพะตัวเล็ก
  • สามารถจำหน่ายได้เมื่อลูกแพะมีอายุได้ 3 เดือน

 

การเลี้ยงแพะสามารถเลี้ยงได้หลายแบบน่ะครับ

การเลี้ยงแบบปล่อย

คือการเลี้ยงแบบปล่อยให้แพะออกในตอนเช้าหาอาหารกินในแปลงผักในฤดูหลังเก็บเกี่ยวหรือกินหญ้าในแปลงแล้วก็ต้อนกลับเข้าคอกในตอนเที่ยง หรือว่าจะปล่อยให้ออกหาอาหารกินในตอนบ่าย แล้วต้อนกลับเข้าคอกในตอนเย็น ในแปลงผักหรือแปลงหญ้าควรมีร่มเงาหรือต้นไม้ใหญ่ไว้ให้แพะได้มีที่หลบแดดหรือฝนด้วยครับ

 

การเลี้ยงแบบขังคอก

คือการเลี้ยงไว้ในคอกแล้วทำรางเพื่อตัดหญ้าหรืออาหารมาให้กินในคอก หรือตัดใบไม้ต่างๆเช่น ต้นกระถิน,มะขามเทศหรือใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนำมาเลี้ยงแพะได้ ภายในคอกต้องมีน้ำและแร่ธาตุให้แพะสามารถกินได้ตลอดเวลา

 

การเลี้ยงแบบผสมผสานกับการปลูกพืช

โดยการเลี้ยงแพะร่วมกับการปลูกพืชหรือไร่สวนต่างๆเช่นการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราหรือปาล์มและมะพร้ามเป็นต้นเพื่อให้แพะได้กินวัชพืชในแปลงในสวนและก็จะได้ประโยชน์คือได้ปุ๋ยจากมูลแพะนั่นเองซึ่งทั้งสองอย่างเมื่อผสมผสานกันแล้วก็ทำให้สร้างรายได้ทั้งสองทางได้อีกด้วยครับ

 

มาดูการสร้างโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงแพะให้ดีนั้น มีวิธีและเทคนิคในการสร้างโรงเรือนดังนี้น่ะครับ

  • พื้นที่ตั้งคอกควรอยู่ในที่เป็นเนินน้ำไม่ท่วมขังหรือสร้างให้สูงกว่าพื้นดินตามความเหมาะสมหรือประมาณ 1-2เมตร
  • บันไดทางขึ้นคอกควรทำมุมเป็นมุม 45 องศา
  • พื้นคอกควรทำเป็นร่องเว้นระยะห่าง 1.5 เซนติเมตร หรือจะปูด้วยพื้นแสลทปูนก็ได้ เพื่อให้มูลหรือปัสสาวะของแพะร่วงลงมาพื้นด้านล่างได้ จะได้ทำให้พื้นของคอกแพะแห้งและมีความสะอาดตลอดเวลา
  • ผนังคอกคอกสร้างแบบโปร่งให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ใช้ความสูงประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้แพะกระโดดข้ามได้
  • สำหรับหลังคาโรงเรือนนั้นสามารถสร้างได้หลายแบบครับ มีทั้งแบบเพิงหมาแหงน หรือหน้าจั่วควรให้เหมาะสมกับสภาพอากาศหรือต้นทุนในการสร้างของเราครับ ควรให้หลังคาโรงเรือนสูงจากคอกประมาณ 2 เมตร จะใช้ใบจากหรือสังกะสีก็ได้ครับ
  • สำหรับพื้นที่ในการเลี้ยงแพะแต่ล่ะคอกนั้น แพะแต่ละตัวต้องการพื้นที่ส่วนตัวล่ะ1-2ตารางเมตร ซึ่งแล้วแต่ขนาดตัวของแพะ สามารถแบ่งคอกในโรงเรือนได้ตามการใช้งานต่างๆเช่น คอกแม่แพะอุ้มท้อง,คอกสำหรับคลอดลูกแพะ,คอกอนุบาลแพะครับ
  • รั้วคอกแพะควรสร้างด้วยไม้ไผ่หรือลวดตาข่าย ไม่ควรใช้รั้วลวดหนามน่ะครับเดี๋ยวจะทำให้แพะพลาดไปโดนได้ ให้ปักเสาปูนทุกระยะ 3-4 เมตรเพื่อความแข็งแรงของรั้ว หรือปลูกต้นกระถินสลับกับไม้ไผ่ก็ได้เพื่อความประหยัด

 

โรงเรือนเลี้ยงแพะ

ภาพตัวอย่างโรงเรือนเลี้ยงแพะภาพนี้คือเลี้ยงแพะเป็น 100 ตัวขึ้นไปครับ

 

พันธ์ุแพะที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยเรามี 2 ประเภท คือ แพะเนื้อและแพะนม และจำแนกออกเป็นแพะพันธ์พื้นเมืองได้อีกคือ

 

แพะพื้นเมืองภาคเหนือ ซึ่งเป็นแพะที่มาจากประเทศอินเดียหรือประเทศปากีสถาน มีลักษณะรูปร่างที่สูงใหญ่ ขนยาวมีสีน้ำตาลเข็มปนสีขาวบ้าง

 

แพะพื้นเมืองภาคเหนือ

 

 

แพะพื้นเมืองภาคใต้ มีลักษณะตัวเล็กลักษณะเดียวกับแพะพื้นเมืองมาเลเซีย มีส่วนสูงประมาณ 50 ซม. และมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ 20-25 กิโลกรัม

 

แพะพันธ์ุพื้นเมืองภาคใต้

 

 

สำหรับแพะพันธ์ุต่างประเทศ กรมปศุสัตว์จะเป็นผู้นำเข้ามาเพื่อให้ชาวเกษตรกรนำไปผสมกับพันธ์พื้นเมือง เพื่อเพิ่มคุณภาพของแพะให้ได้ผลผลิตที่ดีให้ได้ทั้งเนื้อและนมของแพะให้ได้ดีขึ้นเพิ่มขึ้น มีด้วยกันหลายพันธ์ุเช่น

 

แพะนม ได้แก่

 

  • พันธ์ุ ซาเนน

 

พันธ์ุนมซาเนน

 

 

  • พันธ์ หลาวซาน

 

แพะนมพันธ์ุหลาวซาน

 

แพะเนื้อได้แก่

 

  • พันธ์ุ แองโกนูเบียน

 

แพะเนื้อพันธ์ุแองโกนูเบียน

 

 

  • พันธ์ุ บอร์

 

แพะเนื้อพันธ์ุบอร์

 

สำหรับการที่จะเลี้ยงแพะให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีประสิทธิภาพนั้น เราต้องมีเกณฑ์ในการเลือกน่ะครับ 

  • เลือกจากพ่อแม่พันธ์ุที่มีลักษณะดี ไม่พิการ
  • ไม่ควรนำพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุผสมกับลูกแพะ หรือว่าพี่น้องแพะผสมกันเองน่ะครับ
  • เลือกพ่อพันธ์ุที่มีลักษณะตรงตามสายพันธ์ุ เช่นแพะเนื้อจะมีลักษณะรูปร่างที่ใหญ่ กล้ามเนื้อเต็มมีขาที่แข็งแรงพร้อมขึ้นทับตัวเมีย ควรคัดเลือกจากพ่อพันธ์ุที่เกิดจาก แม่แพะที่เคยได้ลูกแฝด
  • ลักษณะที่ดีของแม่พันธ์ุแพะ แม่พันธ์ุควรมีรูปร่างลักษณะที่ดี ลำตัวยาว เต้านมใหญ่เท่ากันมีสองหัวนมและที่สำคัญต้องไม่อ้วนจนเกินไปน่ะครับหรือว่าเป็นหมัน มีลักษณะความเป็นแม่ที่ดี

 

การปฏิบัติในการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุแพะและแม่พันธ์ุก็ไม่ยากและไม่ง่ายเกินไปน่ะครับ

  • สำหรับการเลี้ยงดูพ่อพันธ์ุ ก็ให้อาหารหยาบที่มีคุณภาพสูงเช่นพืชตระกูลถั่วต่างๆ 
  • ให้แพะได้มีการออกกำลัง เพื่อพ่อพันธ์ุแพะจะได้ร่างกายที่แข็งแรง
  • พ่อพันธ์ุแพะจะเริ่มผสมพันธ์ุได้เมื่ออายุได้ 1 ปี และที่วิเศษกว่านั้นของการที่เรานำพ่อพันธ์ุต่างประเทศเพื่อมาผสมพันธ์ุกับพันธ์ุเมืองก็คือ อัตราการคุมฝูงแม่พันธ์ุ ได้ถึง 1 ต่อ 10-25 เชียวครับ
  • สำหรับการเลี้ยงดูแม่พันธ์ุแพะนั้น การที่จะใช้แพะเป็นแม่พันธ์ุได้เมื่อมีอายุอยู่ที่ 8 เดือน หากแพะได้มีการผสมพันธ์ุแล้ว มีการติดสัดอดีภายใน 21 วันให้ทำการผสมพันธ์ุใหม่ และแพะจะตั้งท้องประมาณ 150 วันหรือประมาณ 5 เดือนครับ
  • เมื่อแม่แพะท้องใหญ่ให้ทำการแยกคอกออกจากฝูง ลักษณะของอาการของแม่แพะใกล้คลอดจะมีให้สังเกตุ คือ เต้านมและหัวนมจะขยายใหญ่ขึ้น มีอาการหงุดหงิดตื่นเต้น เหมือนคนเลยน่ะครับ และก็บริเวณสะโพกจะมีรอยยุบเป็นหลุมเข้าไปให้เห็นอย่างชัดเจนทั้งสองข้าง มีน้ำเมือกของแม่แพะไหลออกมาจากช่องคลอด สัญชาติญาณความเป็นแม่อาจมีการคุ้ยหญ้าหรือฟางบริเวณคอกเพื่อเตรียมตัวในการคลอดของตัวเค้าเองด้วย เมื่อสังเกตุได้ดังกล่าวก็ให้แยกคอก ไปไว้ในห้องคลอดเลยน่ะครับ
  • ห้องคลอดของแม่แพะที่จะคลอด ให้เตรียมฟางแห้งปูที่พื้นไว้ให้แม่แพะนอนตอนคลอด และเตรียมด้ายที่จะใช้ผูกสะดือและใบมีดโกน,ทิงเจอร์,ไอโอดีน เตรียมไว้ในคอกที่จะทำการคลอดลูกแพะให้พร้อม
  • วิธีการทำคลอดแพะส่วนใหญ่ก็ไม่มีอะไรยุ่งยากถ้าเค้าสามารถคลอดเองได้น่ะครับ
  • แพะจะคลอดลูกเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก แพะจะคลอดลูกภายใน 1 ชั่วโมง แต่ถ้าแม่แพะเบ่งนานแล้วยังไม่คลอดให้ช่วยแม่แพะโดยการใส่ถุงมือหรือล้างมือสะอาดล้วงลูกแพะออกมา ทันทีที่ลูกแพะออกมาให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดตัวลูกแพะให้แห้งและให้เช็ดน้ำเมือกในจมูกลูกแพะออกให้หมด และทำการผูกสายสะดือลูกแพะให้ห่างจากพื้นท้อง ประมาณ 2-3 เซนติเมตรแล้วก็ทำการตัดสายสะดือ ทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน เป็นอันเสร็จขั้นตอนในการทำคลอดครับ

 

วิธีการเลี้ยงดูลูกแพะ

  • ให้ลูกแพะกินนมน้ำเหลืองของแม่แพะ และปล่อยให้อยู่กับแม่แพะ 3-5 วัน(แรกคลอดจะเหมือนกับการเลี้ยงลูกด้วยนมของคนเลยครับ อันนี้ผู้เขียนแอบคิดตามน่ะครับ)
  • กรณีลูกแพะนม ให้เลี้ยงลูกแพะด้วยหางนม วิธีทำคือละลายหางนม 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน
  • หลังจากลูกแพะหย่านม ให้ทำการถ่ายพยาธิ
  • ช่วงฤดูหนาวควรมีไฟในคอกกกลูกแพะช่วง 1-2 สัปดาห์เพื่อให้ความอบอุ่นลูกแพะด้วยครับ
  • อาหารของแพะนั้นต้องระวังเรื่องอาหารเสริม เพราะแพะเป็นสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก มีจุลินทรีย์ย่อยอาหารและและสังเคราะห์ไวตามิน เพราะฉนั้นอาหารเสริมของแพะต้องไม่มียาปฏิชีวนะที่จะไปทำลายจุลินทรีย์ เช่นอาหารสุกรหรืออาหารไก่ ควรใช้สูตรอาการเสริมที่เป็นอาหารแพะหรือโคนมเท่านั้น แร่ธาตุควรมีห้อยไว้ในคอกให้แพะกินได้ตลอดเวลา

 

การเลี้ยงลูกแพะ

 

การให้อาหารแพะในแต่ละวันควรมีปริมาณในการให้เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของแพะ มีดังนี้ครับ

  • อาหารหยาบเช่นหญ้าสด ประมาณ 10 %ต่อน้ำหนักตัวแพะ
  • อาหารข้นหรืออาหารเสริมสูตรของแพะหรือโคนม ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแพะ การเจริญเติบโตและการสร้างผลผลิต
  • น้ำสะอาดควรมีในคอกไว้ให้แพะได้กินน้ำตลอดเวลา
  • การดูแลเลี้ยงแพะก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ทั่วไปคือต้องให้เค้าแข็งแรง ไม่ให้มีโรคต่างๆมาทำลายสุขภาพของเค้าน่ะครับ ผู้เขียนก็ได้มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคที่มักเกิดกับแพะ และวิธีป้องกันโรคของแพะดังนี้ครับ

 

โรคพยาธิในแพะ จะทำให้แพะไม่เจริญอาหาร น้ำหนักลดสุขภาพของแพะไม่สมบูรณ์และ โรคพยาธิบางชนิดอาจทำให้แพะท้องร่วงได้ พยาธิที่พบในตัวแพะส่วนใหญ่จะเป็นพยาธิตัวกลม,พยาธิเส้นด้าย,พยาธิตัวตึด,พยาธิใบไม้ในตับและเชื้อบิด

 

วิธีป้องกันการเกิดโรคพยาธิของแพะป้องกันได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ครับ

  • ถ่ายพยาธิเป็นประจำตามโปรแกรม คือ ทุก4-6 สัปดาห์
  • ทำความสะอาดคอกหรือโรงเรือนของแพะอย่างสม่ำเสมอเพราะแพะชอบความสะอาดพื้นคอกไม่ควรเปียกหรือชื้น
  • ใช้แปลงหญ้าแบบเป็นแปลงหญ้าระบบหมุนเวียนโดยแบ่งเป็นแปลงย่อยๆ โดยการล้อมรั้วกั้นปล่อยให้แพะเข้ามากินหญ้าแต่ละแปลงเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้วให้เปลี่ยนแปลงในการให้เค้ากินหญ้า แล้วให้ทำการตัดเล็มหญ้าเพื่อให้แสงแดดส่องฆ่าไข่และตัวอ่อนของพยาธินั่นเองครับ
  • ให้กำจัดหรือทำร้ายตัวกึ่งหรือตัวนำพยาธิ เช่นตัวไรและหอยน้ำจืด
  • ไม่ควรให้แพะเดินในแปลงหญ้าที่มีพื้นเปียกแฉะเพราะอาจติดพยาธิได้

 

โรคของแพะบางครั้งก็เกิดมาจากอาหารมีหลายโรคที่เกิดกับแพะเพราะอาหารที่เค้ากิน ผู้เขียนก็จะแยกแต่ละโรคและวิธีป้องกันดังนี้ครับ

  1. โรคปากเป็นแผลพุพอง อาการของโรคคือมีแผลคล้ายๆหูดรอบๆบริเวณปากรอบๆจมูกและตา วิธีรักษาคือใช้ยาม่วง เจนเชียนไวโอเลต หรือทิงเจอร์ไอโอดีนทาที่แผล วันละ1-2 ครั้ง และต้องระวังอย่าไปสัมผัสแผลโดยครงเพราะโรคนี้อาจติดต่อมาถึงคนได้และควรแยกแพะออกจากฝูงเพราะจะติดต่อไปสู่แพะตัวอื่นได้
  2. โรคปากและเท้าเปื่อย อาการของแพะจะมีอาการซึมมีน้ำลายไหลยืดไม่กินอาหารที่ปากและแก้มจะบวมและแดงจะมีเม็ดตุ่มใสๆเล็กตรงบริเวณตรงกลีบและเท้า ขาของแพะจะเดินกะเผลกเหมือนปวดขา วิธีการรักษาคือให้ทายาสีม่วง หรือเจนเชียนไวโอเลต วันล่ะ1 ครั้งก็พอแล้วให้ฉีดยาปฏิชีวนะป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โรคนี้ป้องกันได้โดยการฉีดวัคฉีดป้องกันโรคมือและเท้าเปื่อยปีล่ะ2ครั้ง สำหรับกับแพะที่เข้ามาใหม่ให้ฉีดวัคซินกันโรคมือและเท้าเปื่อยให้แพะก่อน 14 วัน แล้วจึงนำเข้าสู่ฝูง
  3. โรคมงคล่อพิษเทียม สำหรับอาการของโรคนี้นั้นจะทำให้แพะมีอาการซูบผอม อ่อนเพลียซึมและเบื่ออาหารลำตัวซีดดีซ่าน มีไข้มีน้ำมูก ข้อขาหน้าจะบวมและมีอาการชัก โรคนี้ถ้าเป็นในแพะจะเป็นรุนแรงถึงขั้นตายได้ ได้มีการผ่าซากแพะดูเมื่อแพะเป็นโรคนี้ จะพบฝีเป็นจำนวนมากตามอวัยวะภายในต่างๆของแพะ โรคนี้ถ้าแพะเป็นแล้วรักษาได้ยากมากและยังติดต่อถึงคนได้อีกด้วย เพราะฉนั้นต้องระวังเป็นอย่างมากและต้องป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับแพะ วิธีป้องกันคือกำจัดทำความสะอาดพื้นที่แพะอยู่ให้สะอาด ทำลายซากห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด ให้ทำการเจาะเลือดแพะเพื่อตรวจโรคนี้ทุกๆ 2 ปี และสำหรับแพะที่เข้ามาใหม่ควรเจาะเลือดตรวจก่อนนำเข้าฝูง
  4. โรคแท้งติดต่อ โรคนี้เป็นได้ยากมากและสังเกตุไม่ได้เลย จะรู้ผลว่าเป็นโรคนี้ได้แค่ดูจากผลของการตรวจเลือดเท่านั้นที่น่ากลัวคือสามารถติดต่อถึงคนได้อีกด้วยครับ วิธีป้องกันโ่รคแท้งติดต่อก็คือ ให้ทำลายแพะที่เป็นโรคนี้และตรวจโรคประจำปีทั้งแพะที่มีอยู่ และแพะที่ได้มาใหม่ครับ
  5. โรคไข้นม โรคนี้จะเกิดกับแพะที่กำลังจะคลอดลูกแพะ หรือหรือในระยะที่กำลังให้นมลูกแพะ สาเหตุเกิดมาจากมีแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติเฟราะถูกใช้ไปในการสร้างน้ำนมนั่นเอง อาการคือแพะจะมีอาการตื่นเต้นตกใจมาก,การทรงตัวไม่ดีกล้ามเนื้อเกร็งนอนตะแคง,ซีด,คอบิดมีอาการหอบและอ่อนเพลีย วิธีการรักษาโรคนี้คือต้องให้สัตว์แพทย์ในท้องที่ใกล้เคียงมาทำรักษาให้ได้ครับ
  6. โรคขาดแร่ธาตุ โรคนี้ส่วนใหญ่จะมักเกิดกับแพะตัวเมียเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก อาการที่พบได้เมือเป็นโรคนี้ก็คือ มีอาการอ่อนแอ คอเอียง,เดินหมุนตัวเป็นวงกลมและล้มตัวลงนอนตะแคงท้องอืด และตายภายใน 1-2 วันเมื่อเป็นโ่รคนี้ เพราะฉนั้นต้องระวังน่ะครับ วิธีป้องกันก็คือไม่ควรขาดการให้อาหารข้นและแร่ธาตุให้แพะเลียกิน หมั่นฉีดวิตามินและแร่ธาตุ ที่สำคัญควรตั้งหรือห้อยแร่ธาตุให้แพะเลียกินได้ตลอดเวลา
  7. โรคท้องอืด สาเหตุเกิดมาจากกินหญ้าอ่อนมากเกินไปหรือกินอาหารข้นที่มีโปรตีนสูงเกินจำนวน 3 %ของน้ำหนักตัว หรือเกิดจากแพะมีอาการป่วยหรือตอนนอนนอนตะแคงด้านซ้าย วิธีแก้ป้องกันและแก้ไขคือ การเจาะท้องเอาแก๊สในท้องและพยายามกระตุ้นให้แพะลุกขึ้นเดิน

 

การตัดแต่งกลีบแพะก็ถือเป็นเรื่องสำคัญและงานประจำในการเลี้ยงแพะเช่นกันครับ เพราะจะช่วยให้กลีบงอกเป็นปกติและช่วยทำความสะอาดสิ่งสกปรกและมูลสัตว์เข้าไปติดให้กลีบเน่า การตัดแต่งกลีบแพะควรใช้มีดที่ใช้สำหรับแต่งกลีบและมีความคมหรือกรรไกรตัดแต่งกลีบเพื่อทำการตัดแต่งกลีบน่ะครับ เวลาที่ทำการตัดแต่งควรเป็นเวลาที่มีอาการเย็นชื้นเพราะกลีบจะอ่อนตัวจะได้ตัดแต่งง่าย

 

วิธีตัดแต่งกลีบแพะมีดังนี้ครับ

  • จับขาแพะให้แน่น โดยยกขาขึ้นทำการตัดแต่งกลีบทำให้มีลักษณะกลีบเหมือนกับตอนที่แพะเกิดใหม่ๆ ควรทำอย่างน้อยเดือนละครั้งน่ะครับ

 

การตัดแต่งกลีบแพะ

การตัดแต่งกลีบแพะเพื่อความสะอาดของกลีบแพะ

 

ในการเลี้ยงแพะนอกจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะจะต้องศึกษาวิธีเลี้ยงแพะแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ ต้องมีการจดบันทึกในการเลี้ยงแพะที่สำคัญต่างๆไว้ด้วย เช่น การทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์,พ่อแม่,วันที่ผสมพันธ์ุ,วันที่คลอด,น้ำหนักแรกเกิดของลูกแพะ,น้ำหนักเมื่อตอนหย่านม,น้ำหนักเมื่อขาย จดไว้เพื่อเป็นแนวทางและจะได้นำมาพัฒนาแนวทางในการแลี้ยงแพะให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดและสร้างได้ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้นครับ

 

source: baannoi.com/สัคว์เลี้ยง/75-วิธีเลี้ยงแพะ.html


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11124 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ปรีชา จิ่นจันทร์
[email protected]
รัฐมีโครงการช่วยเหลือเกษตรกรในการเปลี่ยนอาชีพมาเลี้ยงแพะหรือเปล่าครับ ต้องการเปลี่ยนอาชีพครับ
01 ต.ค. 2559 , 09:07 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7388
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7613
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 7136
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 8329
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6877
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5921
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 6320
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>