ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 5047 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็ว จากภูมิปัญญาท้องถิ่น

น้ำมะพร้าวหมัก ตัวช่วยอย่างดีให้น้ำยางพาราจับตัวดีกว่า โดยศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. เปิดเผยว่า นักเรียนโครง..

data-ad-format="autorelaxed">

น้ำมะพร้าวหมัก

น้ำมะพร้าวหมัก

 

น้ำมะพร้าวหมัก

ตัวช่วยอย่างดีให้น้ำยางพาราจับตัวดีกว่า โดยศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย สวทช. เปิดเผยว่า นักเรียนโครงการเจเอสทีพีได้ค้นพบว่า น้ำมะพร้าวหมัก มีประสิทธิภาพช่วยน้ำยางพาราจับตัวเร็วกว่าการใช้กรดน้ำส้มถึง 8 เท่า ได้แผ่นยางพาราดิบที่มีคุณภาพดี เหมาะแก่อุตสาหกรรมยางพาราในครัวเรือน เสนอเป็นทางเลือกใหม่ใช้สารจากธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพที่ดีของเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม โดย น.ส.ศรีสุดา โรจน์เสถียร นักเรียนชั้น ม. 6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและ เยาวชน (Junior Science Talent Project) หรือ เจเอทีพี (JSTP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) เผยว่าในขั้นตอนผลิตยางแผ่นดิบจะต้องใช้น้ำยางพารามาผสมกับสารละลายกรด เช่น กรดฟอร์มิก หรือ กรดแอซิติก (กรดน้ำส้ม) เพื่อให้เนื้อยางจับตัวกันเป็นก้อนก่อนนำไปขึ้นรูปเป็นยางแผ่น แต่นอกจากเป็นสารเคมีราคาแพงแล้วอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเกษตรกรในอนาคต จึงสนใจหาสารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเป็นกรดมาช่วยในการจับตัวของน้ำ ยางพาราแทนสารเคมี “เมื่อลองหาวัตถุดิบในภาคใต้พบว่า พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่นอกจากเป็นสวนยางพาราแล้ว ชาวบ้านมักปลูกสวนมะพร้าวในบริเวณใกล้เคียงกันด้วย โดยส่วนใหญ่จะเน้นขายเนื้อมะพร้าวและทิ้งน้ำมะพร้าวไว้ เพราะขายไม่ได้ราคา น้ำมะพร้าวที่เหลือทิ้งบางส่วนชาวบ้านจะนำมาใช้ถนอมอาหารด้วยการดองผักตาม ภูมิปัญหาดั้งเดิม เช่น ผักเสี้ยนดอง ซึ่งจะมีรสเปรี้ยว เนื่องจากปกติสารที่มีรสเปรี้ยวมักมีสมบัติเป็นกรด จึงตั้งสมมุติฐานว่า หากนำ น้ำมะพร้าวมาหมัก ก็จะมีฤทธิ์เป็นกรด และอาจนำมาใช้แทนสารเคมีในกระบวนการผลิตแผ่นยางดิบได้” น.ส.ศรีสุดา เผยที่มาของจุดเริ่มในการทำวิจัยครั้งนี้ ในงานวิจัยนี้ น.ส.ศรีสุดากล่าวว่าได้ทดลองผสมน้ำมะพร้าวหมักกับน้ำยางพาราแล้วพบว่าเนื้อ ยางพารามีการจับตัวกันได้ดี จึงขยายขนาดภาชนะที่ใช้ทดลอง จากนั้นหาอัตราส่วนการทำน้ำมะพร้าวหมักหรือหาอัตราส่วนของน้ำมะพร้าวต่อ น้ำตาล แล้วหาอัตราส่วนผสมของน้ำมะพร้าวหมักต่อน้ำยางพาราต่อ เพื่อดูว่าอัตราส่วนใดที่ให้เนื้อยางพาราจับตัวได้ดีและใช้เวลาน้อยที่สุด จากการทดลองพบว่าการหมักน้ำมะพร้าว 16 ส่วนต่อน้ำตาล 1 ส่วน เป็นเวลา 22 วันเป็นอัตราส่วนผลิตน้ำมะพร้าวหมักที่ให้น้ำยางพาราจับตัวอย่างสมบูรณ์ใน เวลา 18 นาที และได้แผ่นยางคุณภาพดี มีสีเหลืองอมน้ำตาลอ่อนสม่ำเสมอทั้งแผ่น ส่วนอัตราส่วนของน้ำมะพร้าวหมักผสมกับน้ำยางพารา พบว่า อัตราส่วนน้ำยางพารา:น้ำมะพร้าวหมัก:น้ำ เป็น 4:2:1, 4:1.5:2, และ 4:2:2 นั้น ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดีในเวลาที่ไม่ต่างกันมากนัก ดังนั้นจึงเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม

 

นอกจากนี้ในงานวิจัยยังได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบการจับตัวของน้ำยางพารา ที่ใช้น้ำมะพร้าว และกรดแอซิติก ที่มีการควบคุมค่าความเป็นกรด-เบส หรือค่า pH ให้เท่ากัน พบว่า น้ำมะพร้าวหมักที่อัตราส่วน 16:1 ช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้เร็วกว่าการใช้กรดแอซิติกถึง 8.11 เท่า และเมื่อนำยางแผ่นที่ได้จากน้ำมะพร้าวหมักไปทดสอบคุณภาพกับสถาบันวิจัย ยางพารา กรมวิชาการเกษตร พบว่ายางแผ่นที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทั้งในส่วนของสี (Lovibond scale) ที่ได้ ค่าความอ่อนตัวแรกเริ่ม ปริมาณไนโตรเจน สิ่งระเหย และเถ้ามีค่าใกล้เคียงกัน นางสาวศรีสุดา กล่าวว่า ผลวิจัยแสดงให้เห็นว่าน้ำมะพร้าวหมักช่วยให้น้ำยางพาราจับตัวได้ดี และแผ่นยางที่ได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับการใช้กรดแอซิติก ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปทดลองใช้ได้ เพียงแต่ในเบื้องต้นยังเหมาะต่อการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมครัวเรือนเท่านั้น ส่วนแผนงานวิจัยต่อจากนี้จะมีการศึกษาว่าสารชนิดใดในน้ำมะพร้าวที่ช่วยให้ น้ำยางพาราจับตัวดี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาไปสู่การนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมยางพาราขนาด ใหญ่ในอนาคต สำหรับงานวิจัยนี้มี น.ส.คณิตา สุขเจริญ อาจารย์โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี เป็นที่ปรึกษา และ นางฉวีวรรณ คงแก้ว นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยงในโครงการเจเอสทีพี โดยปกติแล้วเกษตรกรชาวสวนยาง มักจะนิยมใช้ กรดน้ำส้ม ใส่เข้าไปเพื่อเร่งการจับตัวเป็นก้อนของน้ำยางดิบในแม่พิมพ์ก่อนทำการรีด แผ่น แต่บทวิจัยนี้สามารถเพิ่มทางเลือกให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี น้ำหมักกล้วยใช้แทนน้ำส้มฆ่ายาง ในช่วงที่มีสภาพ อากาศที่มีฝนฟ้าตกบ่อยๆ อาจจะเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญต่อเกษตรกรที่มี อาชีพทำสวนยางพารา ซึ่งขายน้ำยางสดและทำขี้ยางขายถ้าหากฝนตกลงในถ้วยรองรับน้ำยางเยอะก็จะทำให้ เกิดความเสียหายกับเกษตรกรได้ คุณจรณะ มุขวัฒน์ เป็น ประธานกลุ่มศูนย์เรียนรู้ชมชนบ้านในไร่ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและทำการเกษตรแบบอินทรีย์ชีวภาพได้บอกสูตรน้ำหมัก กล้วย ซึ่งใช้ในการทำให้น้ำยางพาราแข็งตัวเร็วยิ่งขึ้นและสามารถใช้แทน น้ำส้มฆ่ายาง (กรดฟอมิค ที่ทำให้ยางแข็งตัว) ได้ดีกว่าด้วย ให้กับเจ้าหน้าที่ร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้าน เกิดได้ทราบโดยมีรายละเอียดวิธีการทำดังนี้ ส่วนผสม : กล้วยน้ำหว้า 3 กิโลกรัม, กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม, น้ำ 10 กิโลกรัม, ถังหมัก วิธีทำ : นำกล้วยมาหั่นเป็นชิ้นโดยหั่นทั้งเปลือก หมักไว้ 21 วัน ประโยชน์ ใช้สำหรับเป็นน้ำยาฆ่ายางใช้แทนน้ำส้มฆ่ายางที่ใช้ในยางพาราให้น้ำยางแข็ง ตัว ใช้ในฤดูฝนทำให้น้ำยางแข็งตัวเร็วขึ้น วิธีใช้ : พอกรีดยางเสร็จให้หยอดลงไปในถ้วยใส่น้ำยางพอประมาณ ก็ทำให้น้ำยางมีสีเข้มขึ้นและแข็งตัวเร็ว และเมื่อน้ำหมักกล้วยตกลงที่พื้นดินก็จะทำให้เพิ่มจุลินทรีย์ในดินได้อีก ด้วย

 

ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลทางการเกษตร *1677 / สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ.นครศรีธรรมราช / pandintong.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5047 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8468
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7572
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7514
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6690
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7666
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6654
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7056
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>