ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 3559 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ฟันธงราคายางกก.ละ 100 บาท เป็นได้ยาก แล้วอนาคตยางไทยล่ะ จะเป็นอย่างไร

แม้ช่วงที่ผ่านมาหลายภาคส่วน รวมถึงรัฐบาล พยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะช่วยเหลือชาวสวนยางพารา ที่กำลังประสบปัญหาด้านราคาตก

data-ad-format="autorelaxed">

แผนพัฒนายางทั้งระบบปี 58/2559 'ฝ่าวิกฤติราคาตกต่ำ สู่ความยั่งยืน'

 

แม้ช่วงที่ผ่านมาหลายภาคส่วน รวมถึงรัฐบาล พยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะช่วยเหลือชาวสวนยางพารา ที่กำลังประสบปัญหาด้านราคาตกต่ำในปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบของระยะสั้นและระยะยาว ล่าสุดระหว่างที่มีการจัดงาน "วันยางพาราไทย" ที่ จ.ตรัง ระหว่างวันที่ 20-10 เมษายน 2558 มีการระดมมันสมองบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิในหลายภาคส่วนอีกครั้งด้วยจัดเวทีเสวนา “ฝ่าวิกฤติยางพารา พัฒนาสู่ความยั่งยืน”

 

thai-rubber-future

 

เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราไทย ทั้งจากภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะสถาบันเกษตรกรทุกกลุ่ม เข้าร่วมสัมมนา เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการแก้ปัญหาราคายางตามนโยบายของรัฐบาล และร่วมกันหาทางออก พร้อมทั้งแสดงข้อเสนอแนะในการนำไปปรับปรุงแนวทางการพัฒนายางพาราของประเทศ และร่วมกันกำหนดเป็แนวทางจัดทำแผนพัฒนายางทั้งระบบ ในปี 2558/2559 ต่อไป

 

วอนชาวสวนยางรวมตัว

นายประสิทธิ์ หมีดเส็น รักษาการแทนผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) สะท้อนบนเวทีสัมมนาว่า นับตั้งแต่พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำยางพารามาปลูกที่ จ.ตรัง เป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวมเวลา 115 ปีแล้ว จนยางพารากลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ และสร้างรายได้อันดับต้นๆ ในภาคการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย แต่ปัจจุบันเกษตรกรชาวสวนยางอาจประสบปัญหาในเรื่องราคายางตกต่ำ จึงอยากให้เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศมีการรวมตัวกัน และร่วมกันหารือ เพื่อหาข้อสรุปและทางแก้ไขปัญหาของชาวสวนยางทั้งหมด ที่พร้อมจะฝ่าวิกฤติยางพาราไปด้วยกัน พร้อมทั้งทำให้อุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทยมีความยั่งยืนด้วย

 

นอกจากนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องพัฒนาวงการยางพาราให้มีความเจริญก้าวหน้าเช่นในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งร่วมกำหนดแนวทางฟันฝ่าวิกฤติยางพาราไทยต่อไปในอนาคต นอกเหนือไปจากการคาดหวังเรื่องราคายางว่าจะดีขึ้น สิ่งที่อยากฝากไว้คือ การทำให้ตัวเองสามารถอยู่ได้โดยอาศัยสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือทำให้สวนยางที่มีอยู่สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงกลับคืนมา

 

"เรื่องนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการพัฒนายางทั้งระบบ 16 โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการมากว่า 8 เดือน โดยที่ชาวยางทุกคนจะต้องร่วมกันคิดพิจารณาเพื่อหาทางแก้ไข และใช้เวทีนี้ให้เกิดประโยชน์ในการเสนอแนะ และสรุปเกี่ยวกับมาตรการที่ผ่านมา เพื่อให้รัฐบาลได้นำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่เกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง และนำไปสู่การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมยางต่อไปในอนาคต" นายประสิทธิ์ กล่าว

 

ต้องผลักดันพระราชบัญญัติมาตรา 49

นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ในฐานะประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแก้ปัญหาราคายาง เพื่อให้ชาวสวนยางอยู่ได้ จะต้องอาศัยความร่วมมือจากเกษตรกรชาวสวนยางหลายกลุ่ม ที่ผ่านมา ได้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็นสมัชชาสถาบันเกษตรกร โดยรวมตัวจาก 7 องค์กร เพื่อเป็นตัวแทนเจรจาแก้ไขปัญหาวิกฤติราคายาง และพร้อมจะผลักดันพระราชบัญญัติมาตรา 49 เพื่อเน้นในส่วนของการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บจากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร หรือเงินเซสส์ (CESS) จำนวน 10% เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้องชาวสวนยางทั่วประเทศอย่างแท้จริง

 

ส่วน นายสุนทร รักษ์รงค์ อนุกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทยฯ ระบุว่า ร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.... ยังมีการหารือในเรื่องนิยามความหมายของคำว่า “ยาง” และ “เกษตรกร” ที่ควรจะต้องเพิ่มคนกรีดยางเข้าไปด้วย นอกจากนี้ ตามมาตรา 49 ที่ว่าด้วยการจัดสรรเงินสงเคราะห์ (CESS) ควรแบ่งออกเป็น 10% เพื่อใช้เป็นงบบริหารของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 40% ใช้สำหรับการสงเคราะห์ปลูกแทน 35% ใช้ในการพัฒนาและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยาง 5% ใช้ในการวิจัย 3% ใช้ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และอีก 7% ใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางด้านสวัสดิการให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง

 

ตรังนำร่องทำถนนจากยางพารา

นายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง กล่าวว่า ทางจังหวัดตรังมีนโยบายดูแลพี่น้องชาวจังหวัดตรังเป็นอย่างดี โดยเฉพาะพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้สนับสนุนให้เกิดการใช้ยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยจัดประชุม 14 จังหวัด เกี่ยวกับการนำยางพารามาเป็นส่วนผสมในการทำถนน ซึ่งทางจังหวัดตรังมีการนำร่องทำถนนผสมยางพารา เพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่จังหวัดอื่นๆ แล้ว

 

ขณะที่ นายพงศา ชูแนม ประธานมูลนิธิธนาคารต้นไม้ กล่าวว่า ให้เน้นหลักการพัฒนายางโดยยืนอยู่บนพื้นฐานความจริงทางระบบนิเวศ ด้วยการปลูกยางพาราแบบผสมผสานกับต้นไม้นานาชนิด เพื่อสร้างความยั่งยืน โดยเปลี่ยนพื้นที่ให้เป็นการปลูกป่ายางพาราแบบครบวงจร ซึ่งจะเป็นทางออกให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไทย โดยส่วนหนึ่งยังคงเป็นเกษตรกรรายย่อย ให้สามารถทำสวนยางในพื้นที่ของตนเองได้ต่อไป เพราะมีกลไกสนับสนุนการปลูกยางพาราควบคู่กับปลูกไม้ใหญ่อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยสร้างระบบนิเวศที่ดี สามารถเป็นที่พึ่งด้านอาหารและแรงงาน และที่สำคัญทำให้เกษตรกรไม่ต้องพึ่งรายได้จากยางพาราเพียงอย่างเดียว สามารถสร้างความคุ้มค่าให้ชาวสวนยางในระยะยาวได้

 

นายเชาว์ ทรงอาวุธ รองผู้อำนวยการ สกย. ในฐานะโฆษก สกย. สรุปว่า การดำเนินการจัดเสวนา ในช่วงแรกเป็นการนำเสนอแนวทางการพัฒนายางพาราของไทย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันเกษตรกร สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของยางพาราไทยในปัจจุบัน ซึ่งวิทยากรได้นำเสนอแนวทางการสร้างความยั่งยืนของสวนยางพาราของไทยในอนาคต โดย สกย.มีความเห็นว่า แนวทางดังกล่าว สามารถนำไปแนะนำเกษตรกรได้ทันที

 

สิ่งที่ สกย.จะนำไปดำเนินการ อาทิ การปลูกยางพาราแบบผสมผสาน ตามความเห็นของของวิทยากรบางท่าน หรือโครงการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นภารกิจในความรับผิดชอบของ สกย.อยู่แล้ว โดยจะได้นำแนวทางเหล่านี้ไปถ่ายทอด แนะนำเพื่อการพัฒนาเกษตรกรชาวสวนยางไทยต่อไป แต่มีบางเรื่องเป็นการนำเสนอเชิงนโยบาย นอกเหนือไปจากภารกิจที่ สกย.ได้รับมอบหมาย ส่วนนี้จะต้องสรุปเสนอให้ นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ที่กำกับดูแล สกย. เพื่อกำหนดเป็นนโยบายแนวทางการพัฒนายางทั้งระบบ ในปี 2558/2559 ต่อไปในอนาคต

 

ฟันธงราคายางกก.ละ100บาทเป็นได้ยาก

ส่วน รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ภายในระยะเวลา 7 ปีนี้ ราคายางจะไม่มีทางถึง 100 บาทต่อกิโลกรัม อย่างที่ผ่านมา เพราะด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ

 

1.ราคาน้ำมัน สาเหตุที่ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเพราะราคาน้ำมันมีแต่เพิ่มขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 110-115 ดอลลาร์ ดังนั้นราคายางพาราในขณะนั้นจะอยู่ที่ 100 บาทต่อกิโลกรัมได้ เพราะเมื่อราคาน้ำมันราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตยางเทียมแพงตามไปด้วย เพราะยางเทียมทำมาจากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และเมื่อยางเทียมแพง ยางธรรมชาติก็จะแพงตาม

 

ฉะนั้นจากนี้ไปเมื่อเริ่มมีการพบแหล่งน้ำมันหิน (Shale Oil) จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อใดก็ตามที่น้ำมันถึง 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อนั้นผู้ผลิตน้ำมันรายเล็กรายน้อยหันมาผลิตเพราะต้นทุนสามารถอยู่ได้ ซึ่งถ้าราคาน้ำมันถึง 60 ดอลลาร์เมื่อไหร่ อเมริกาจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ จากเดิมที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันมาก่อน และจะส่งผลให้ราคายางเทียมและยางธรรมชาติถูกลง

 

2.การค้นพบดอกหญ้าแดนดิไลอ้อน (Dandelion) ซึ่งให้ผลผลิตเป็นน้ำยางได้คล้ายๆ กัน และกำลังกลายเป็นแหล่งยางดิบทดแทนยางธรรมชาติในอนาคตได้ 3.ประเทศจีน ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไทยสามารถผลิตยางพาราได้เอง อีกทั้งยังไปลงทุนในประเทศอื่นๆ ที่ประเทศลาว กัมพูชา เป็นต้น จึงทำให้การนำเข้ายางพาราของจีนจากไทยมีปริมาณลดน้อยลง

 

แนวทางการแก้ไข คือ การลดต้นทุนการผลิต ใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น ลดการใช้สารเคมี ใช้แรงงานในครัวเรือนมากขึ้น และควรแปรรูปผลผลิตยางพาราให้มากขึ้นด้วย เน้นการใช้ยางในประเทศ นอกจากนี้การแก้ไขปัญหาระยะยาว อาทิ การจัดตั้งโรงงานชุมชนเพื่อแปรรูปผลผลิต ซึ่งถ้ามีทุกจังหวัดได้ก็จะดี โดยมุ่งเน้นการแปรรูปยางทุกชนิดและทุกขั้นตอน ก็จะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้

 

สอดคล้องกับมุมมองของ นายเชษฐา มีมั่งคั่ง ตัวแทนผู้ประกอบการ บมจ.ไทยฮั้ว ยางพารา วิเคราะห์ว่า สถานการณ์ด้านการตลาดของจีนในขณะนี้ เช่น ไชน่า ไฮหนาน มีการซื้อที่ดินในเขมร ลาว พม่า เพื่อปลูกยางพารา ทำให้ในอนาคตไทยจะส่งออกยางพาราให้ประเทศจีนได้น้อยลง ประกอบกับที่ชิงเต่ามีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยยางพารา ซึ่งในประเทศไทยไม่มี ทำให้ไทยค่อนข้างเสียเปรียบ และเนื่องจากจีนเป็นผู้บริโภครายใหญ่และใช้ยางมากที่สุดในโลกกว่า 38%

 

ดังนั้น ไทยจึงควรทำการตลาดด้วยการแปรรูปผลผลิตยางพารา เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์ สายยาง ตุ๊กตายางที่เกี่ยวกับการแพทย์ หรืออุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ซึ่งไทยมีศักยภาพในการผลิตอยู่แล้ว เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางในประเทศได้อีกทางหนึ่ง

 


ข้อมูลจาก komchadluek.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3559 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6688
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7051
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>