ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: เกษตรกรตัวอย่าง | อ่านแล้ว 7580 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เปิดใจ มนุษย์เงินเดือน พลิกชีวิตเป็น เกษตรกรรุ่นใหม่!

สองหมื่นบาทต่อเดือน ก็เหลือใช้ ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ต้องเสียเงินจ่ายค่าเสื้อผ้าแพงๆ เหมือนตอนเป็นมนุษย์เงินเดือน..

data-ad-format="autorelaxed">

เปิดชีวิตเกษตรกรรุ่นใหม่ โครงการสปก. จากมนุษย์เงินเดือน-ไร้เงินเก็บ ผลิกผันพึ่งพิงธรรมชาติบนผืนดิน 2 ไร่ สร้างรายได้ 2 หมื่นบาทต่อเดือน ตามรอยเศรษฐกิจพอเพียง

 

เกษตรกรรุ่นใหม่

 

เปิดปูม ‘เกษตรกรรุ่นใหม่’ จากพนง.บริษัท-คนว่างงาน สู่ฐานภาคเกษตร

 

“ผมไม่เคยทำเกษตรมาก่อน และคิดว่าอาชีพเกษตรกรไม่น่าทำ เพราะส่วนใหญ่ยากจน เป็นหนี้สิน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทำยังไงก็ไม่พอกินพออยู่ เลยคิดว่าไม่น่าจะยึดเป็นอาชีพหลักที่มั่นคงได้ แม้ว่าพี่น้องจะเป็นเกษตรกรกันหมด ” ‘ชัยชนะ สืบสิงห์’ อดีตมนุษย์เงินเดือนผู้ใช้ชีวิตทำงานในบริษัทและโรงงานมามากกว่า 10 ปี วันนี้เขาเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีใจรักอาชีพ เล่าย้อนความหลัง

 

4 ปีก่อน ‘ชัยชนะ’ อยู่ในสถานะคนว่างงานเพราะบริษัทขาดสภาพคล่อง เขากลับไปอยู่บ้านกับพี่ชายที่จ.กาฬสินธุ์ และได้รับจดหมายประชาสัมพันธ์ให้สมัครเข้าร่วม ‘โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่’ จากสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ สปก. ‘ชัยชนะ’ ตัดสินใจสมัครเข้าร่วมโครงการทันทีที่ แม้ไม่เคยเชื่อว่าอาชีพเกษตรกรจะสร้างอนาคตให้เขาได้ เหตุผลหลักที่จูงใจ คือ ผู้ผ่านการอบรมในโครงการจะได้รับการจัดสรรที่ดินฟรี

 

“ตอนนั้นคิดว่า เราทำงานมาสิบกว่าปี เงินเดือนเดือนละสองหมื่นก็เคยได้ แต่ก็ไม่เคยมีเงินเก็บพอที่จะซื้อที่ดินเป็นของตัวเองได้ พอโครงการนี้บอกว่าจะให้ที่ดินฟรีเลยเข้าอบรม” เกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นที่ 1 จากศูนย์อบรมวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครราชสีมา กล่าว

 

ปลายปี 55 ‘จินตนา ผลศิริ’ พนักงานบริษัทบัญชี ประสบการณ์ 12 ปี วัย 36 ตัดสินใจลาออกจากงานเพราะเบื่อหน่ายสถานะมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีเวลาให้ครอบครัวและไม่มีเงินเก็บ เธออ่านนิตยสารฉบับหนึ่งและเจอเรื่องราวของ ‘ชัยชนะ สืบสิงห์’ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกผักปลอดสารพิษขายและมีความสุขในการใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ‘จินตนา’ ตัดสินใจเดินทางไป ‘นิคมเศรษฐกิจพอเพียงวังน้ำเขียว’ จ.นครราชสีมา เพื่อขอคำแนะนำการทำเกษตรจาก ‘พี่ชัยชนะ’ และนั่นเป็นแรงบันดาลใจให้เธอไปที่สปก.นครราชสีมาและสมัครเข้าร่วมอบรมเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นที่ 7 ทันที

 

กลางเดือนมีนาคม 56 ‘จินตนา’ ผู้ซึ่งไม่เคยจับจอบขุดดินทำเกษตรมาก่อนผ่านการอบรมหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ จากวิทยาลัยเกษตรฯนครราชสีมา เวลานี้เธอกลายเป็นเกษตรกรเต็มตัวบนพื้นที่ 2 ไร่ครึ่งที่วังน้ำเขียวซึ่งสปก.จัดสรรที่ดินให้ โดยรวมกลุ่มปลูกผักสลัดปลอดสารพิษซึ่งขายได้ราคาดีร่วมกับเพื่อนในรุ่น และมีรายได้ขั้นต่ำเดือนละ 20,000 บาท

 

โรงเรียน(สร้าง)เกษตรกร สอนสาวโรงงาน-ทนาย-นักธุรกิจใช้จอบพรวนดิน!

manus02

 

“ในวิทยาลัยฯเขาสอนตั้งแต่การใช้จอบ เปรียบเหมือนการเริ่มต้นจากชีวิตที่ไม่มีอะไร มีแต่จอบด้ามเดียวไว้ถางหญ้าพรวนดิน เราได้เรียนวิธีปลูกผัก ทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ เพาะเห็ด ทำเห็ดหยอง ทำน้ำสลัด .... คนที่ไม่เคยทำเกษตรก็ได้ฝึกทำจนเป็น” อดีตพนักงานบัญชีเล่าถึงความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติในวิทยาลัยเกษตรฯเป็นเวลา 2 เดือน เธอเล่าว่าผู้เข้ามาร่วมอบรมในรุ่นที่ 7 จำนวน15 คน ที่จ.นครราชสีมา มีทั้งพนักงานบริษัท ทนายความ คนทำธุรกิจส่วนตัวและเกษตรกรที่ต้องการมาหาความรู้เพิ่มเติม

 

‘สุกัญญา ใจฟั้น’ อาจารย์วิทยาลัยเกษตรฯนครราชสีมาผู้มีส่วนปั้นเกษตรกรรุ่นใหม่ตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่นปัจจุบันกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมอบรมในรุ่นแรกส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่มีความรู้ไม่มาก เนื่องจากโครงการยังไม่จำกัดวุฒิการศึกษาขั้นต่ำ ม.6 โดยรุ่นหลังๆมานี้ เมื่อมีการจำกัดคุณสมบัติผู้เข้าอบรม การสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จึงเปลี่ยนไปเป็นพนักงานบริษัท-โรงงานที่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ และมีความตั้งใจจริงที่จะเป็นเกษตรกร

 

“การอบรมเกษตรกรในรุ่นแรกๆ เรารับหมดทุกคนไม่จำกัดคุณสมบัติ แต่ปรากฏว่าบางคนเขียนหนังสือไม่ได้ อ่านไม่ออก ทำให้เขียนแผนอาชีพ หรือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนไม่ได้ จึงต้องมีการจำกัดคุณสมบัติผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งทำให้เราสามารถสอนเขาได้ลึกมากขึ้น สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รู้จักวิเคราะห์วางแผน นำความรู้ที่ได้ไปใช้ต่อได้จริง”

 

“เราสอนตั้งแต่การใส่ด้ามจอบ การเรียนรู้ระบบน้ำเริ่มตั้งแต่การใช้บัวรดน้ำ พัฒนาเป็นการใช้น้ำหยด สติงเกอร์ ให้เขารู้จักการบริหารน้ำ พอเวลาลงพื้นที่จริง ถ้าน้ำมากหรือน้ำแล้ง ก็จะสามารถนำทักษะการจัดการน้ำที่เรียนรู้มาไปปรับใช้ได้” ‘อ.สุกัญญา’ กล่าว

 

และด้วยกระบวนการสอนที่เน้นให้เกษตรกรยุคใหม่ รู้จักคิดวิเคราะห์ เข้าใจปัญหา แก้ไขได้ และมองโอกาสทางการตลาดให้เป็น ระหว่างเรียนนักเรียนรุ่น 7 ของ‘อ.สุกัญญา’ ได้ร่วมกลุ่มกันลงหุ้นปลูกผักสลัดขายจนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำแม้ยังไม่ผ่านการอบรม

 

“ช่วงเรียนเรา 15 ลงหุ้นช่วยกันทำสลัดผักปลอดสารพิษที่ปลูกกันเองไปขายที่ตลาดสีคิ้ว ได้เงินวันละ 3,000-4,000 บาท น้ำสลัดก็ทำกันเองประยุกต์จากที่อาจารย์สอน ตอนนี้เรียนจบพอทุกคนลงแปลงที่วังน้ำเขียวก็ยังรวมกลุ่มกันทำสลัดผัก ไปขายที่ตลาดโรงพยาบาลรามาฯ” ‘จินตนา’ กล่าว

 

กำไรของคนปลูกผักบนพื้นที่เพียง 2 ไร่ - ร่ำรวยเงินไม่เท่าร่ำรวยมีกิน

เวลานี้ ‘จินตนา’ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่พึ่งจบมามาดๆ ย้ายตัวเองและครอบครัวจากจ.สมุทรปราการมาตั้งรกรากในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอ.วังน้ำเขียวบนที่ดิน 2.5 ไร่ที่สปก.จัดสรรให้ (โดยสปก.เปิดโอกาสให้ผู้ผ่านการอบรมสามารถเลือกทำประโยชน์บนที่ดินของสปก.ได้ทั่วประเทศ) เช่นเดียวกับ ‘ชัยชนะ’ เกษตรกรรุ่นใหม่รุ่นแรกที่อยู่ที่นี่มากว่า 3 ปี และจะใช้พื้นที่เพียง 2.5 ไร่นี้ทำกินอย่างพอเพียงแต่มีผลกำไรไปตลอดชีวิต

 

‘เกษตรแบบผสมผสาน’ ตามปรัชญาพระเจ้าอยู่หัวไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ ‘ชัยชนะ’กล่าวว่านั่นคือหัวใจที่ทำให้การทำเกษตรบนพื้นที่เพียง 2 ไร่ได้ผลและได้กำไรดี “ ในพื้นที่ 2 ไร่กว่า แบ่ง 1 ไร่เป็นเขตที่อยู่อาศัย ปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล เลี้ยงสัตว์ ปลา ไก่ ไว้กินเอง ส่วนอีก 1 ไร่แบ่งไว้ปลูกผักขาย ถึงจะปลูกผักแค่ 1 ไร่ แต่ถ้าไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นทุนก็ต่ำ รายได้เฉลี่ยเลยไม่ต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท

 

นอกจากนี้ผักที่เหลือจากการขาย ที่ใบไม่สวย ก็ยังเอาไปให้ไก่ให้ปลากินได้ เราก็กินเองด้วย เกิดวงจรการหมุนเวียน ทำให้เรามีอาหารกินโดยไม่ต้องไปซื้อหา ผมว่าการอยู่อย่างพอกินพึ่งตัวเองได้มันเกินกว่าความสุข และมากมายกว่าการตีค่าเป็นตัวเงินเดือน”

 

เมื่อถามว่าเหตุใดเกษตรกรส่วนใหญ่ แม้มีที่ทำกินหลายสิบไร่แต่ก็ยังมีปัญหาหนี้สิน ‘ชัยชนะ’ มองว่าเป็นเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดการวิเคราะห์วางแผน “บางคนมีพื้นที่ 50 ไร่ ใครปลูกอะไรใกล้ๆก็ทำตามเขาหมด เช่น ปลูกแต่ข้าวโพดตามเขา โดยไม่ได้วางแผน พอปลูกตามๆกัน หวังพึ่งพืชชนิดเดียวที่ต้องอาศัยภูมิอากาศเป็นตัวกำหนด บางทีผลผลิตต่อไร่ก็ต่ำ หรือ ถ้าฝนแล้ง ราคาตกมาหน่อย เขาก็เจ๊ง

 

manus03

 

การมีพื้นที่เกษตรไม่มาก สำหรับเขา คือ การบังคับให้ต้องรู้จักคิดวางแผนการเพาะปลูกและบริหารจัดการทุกอย่างในแปลงไปในตัวมากยิ่งขึ้น โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสำคัญ นอกจากนี้เขายังอาศัยการรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ในพื้นที่ ปลูกผักขายสู่ตลาดในลักษณะของการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรวังน้ำเขียวไม่ยากจน “ เราไม่ได้มองเฉพาะสองไร่ครึ่งของตัวเอง แต่เรามองภาพใหญ่ในพื้นที่ เพราะทุกคนช่วยกันทำ 2 ไร่ครึ่งของตัวเองให้ดีที่สุด พอรวมกันหลายคนก็หลายร้อยไร่ ดังนั้นก็เหมือนว่าเราทำเกษตรแปลงใหญ่ที่สามารถต่อรองกับตลาดได้เช่นกัน”

 

เช่นเดียวกับ ‘จินตนา’ เธอและเพื่อนร่วมรุ่น ‘ทำเกษตรแบบหมู่คณะ’ พื้นที่ 2 ไร่ครึ่งของเธอคือส่วนหนึ่งของพื้นที่กว่า 30 ไร่ที่ร่วมกับเพื่อนปลูกผักสลัดออแกนิกขาย “ในแต่ละครอป(รอบการผลิต) เพื่อน ๆ รวมกัน 12 คน จะแบ่งกันปลูกผักสลัดคนละ1-2ชนิดในแปลงของตัวเอง รวมแล้วให้ได้ 7 ชนิดที่ไว้ขายรวมเป็นสลัดผัก ทำให้กลุ่มเรามีผักสลัดทุกชนิดขายได้ทุกฤดูกาลในช่วงเดียวกัน การรวมกลุ่มจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าต่างคนต่างทำ พื้นที่แค่ 2 ไร่ก็อาจไม่พอขายได้ อย่างบางทีเรา 2 คนมาขายสลัดที่กรุงเทพฯ ก็มีเพื่อนที่เหลืออีก 10 คนคอยดูแลสวนผักและส่งผลผลิตมาให้ขาย”

 

เปิดผลสำเร็จโครงการฯ เปลี่ยนความคิดคนยุคใหม่พึ่งตนผลิตอาหารรับวิกฤต

‘หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ สำหรับบุคคลทั่วไป โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกร’ เป็นโครงการในความร่วมมือของ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( สปก.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถด้านการเกษตรและเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างครบวงจร ซึ่งสอดรับกับนโยบายการสร้าง ‘เกษตรกรปราดเปรื่อง’ หรือ สมาร์ทฟาร์เมอร์ ของกระทรวงเกษตรฯเวลานี้

 

ข้อมูลของสอศ.ระบุว่า ผู้เข้าร่วมการอบรมรุ่นที่ 1 – 6 ตั้งแต่ปี 2552 – 2555 ในวิทยาลัยเกษตรฯทั้ง 16 แห่งทั่วประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 891 ราย โดยมีผู้ผ่านการอบรมที่เข้าสู่ภาคเกษตรและทำประโยชน์ที่พื้นที่ของสปก. จำนวน 633 คน คิดเป็นร้อยละ 71.04

 

ตัวเลขเหล่านี้แม้จะช่วยยืนยันความสำเร็จของรัฐบาลในการผลิตสร้างแรงงานภาคเกษตรรุ่นใหม่ให้รักในอาชีพสำคัญของชาติมากขึ้น แต่หากดูโดยภาพรวมการส่งเสริมประชาชนให้ผันเข้าสู่ภาคเกษตรได้เพียงหลักร้อย อาจไม่ทันและสวนทางต่อการเร่งผลักดันนโยบายความมั่นคงด้านอาหาร หรือ ครัวไทยสู่ครัวโลกของรัฐบาลที่ต้องอาศัยแรงงานภาคเกษตรเป็นสำคัญ

 

อย่างไรก็ดีหากไม่คิดถึงการเร่งผลักดันนโยบายของรัฐบาล และมองเพียงประโยชน์ที่เกษตรกรยุคใหม่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมในโครงการนี้ ก็นับว่าโครงการฯประสบความสำเร็จล้นหลามที่สามารถเปลี่ยนความคิดและวิถีชีวิตหลายคนให้หันมาพึ่งพาตนจากสิ่งที่ธรรมชาติให้มาได้ ดังที่‘ชัยชนะ’ กล่าวทิ้งท้ายว่า “วันนี้ผมมองอาชีพเกษตรกรเปลี่ยนไปจากเดิมมาก มันกลายเป็นอาชีพที่ดีและมั่นคงที่สุดในโลก ถ้าเราสามารถผลิตอาหารกินเองได้ เราก็อยู่รอดได้ ที่อื่นจะเกิดวิกฤตอะไรเราก็ไม่เดือดร้อน ต่างจากบางคนที่มีแต่เงิน เมื่อเกิดวิกฤตอะไร สุดท้ายเงินก็กินไม่ได้อยู่ดี”

 

เพียงไม่กี่เดือนของคอร์สการอบรมในวิทยาลัยเกษตรฯทำให้ 2 มนุษย์เงินเดือนอย่าง ‘ชัยชนะ’ และ ‘จินตนา’ แม้ต้องพลิกชีวิตสู่ดินแต่มีความสุข ภูมิใจและรักในอาชีพเกษตรกรมากขึ้น ...วันนี้หากใครสนใจวิถีเกษตร แม้ไม่ต้องการเปลี่ยนอาชีพ แต่เพียงใฝ่ศึกษาเรียนรู้ ซึ่งอาจนำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า...ติดต่อได้ที่สปก.จังหวัดทั่วประเทศ

 


ข้อมูลจาก isranews.org


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7580 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

นายธีรทัศน์ สารินสินมหัต
[email protected]
อยากเข้าร่วมโครงการสปค
26 พ.ค. 2559 , 05:19 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [เกษตรกรตัวอย่าง]:
จากสาวออฟฟิศ สู่ปราชญ์ชาวบ้าน ยึดหลักพอเพียงสร้างธุรกิจยั่งยืน

อ่านแล้ว: 7795
หนีกรุงทิ้งเงินเดือนประจำ มาทำการเกษตร รับรายได้งาม 20,000บาทต่อเดือน ที่ชัยภูมิ

อ่านแล้ว: 8231
ทำความรู้จักการเกษตรยุค 4.0 คืออะไร? และพบตัวอย่างเกษตรกรรุ่นใหม่ คุณอายุ จือปา จากเด็กดอยสู่เจ้าของแบรนด์กาแฟระดับโลก
ลาออกจากมนุษย์เงินเดือน ไปเป็นเกษตรกรแล้วรุ่ง มีรายได้มากกว่าเดิม เพิ่มเติมคือชีวิตสโลว์ไลฟ์ เค้าทำยังไงกันล่ะ?
อ่านแล้ว: 9040
เปิดใจ ยุวเกษตรกรดีเด่น ลั่นจะเรียนด้านเกษตรจนถึงชั้นสูงสุดเพื่อนำวิชาความรู้มาพัฒนาสินค้าเกษตร
ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาผู้นำชุมชนและเครือข่าย กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจอย่างมากที่ได้เข้ารับรางวัลในวันพระราชพิธีจรดพนั..
อ่านแล้ว: 7528
ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์ ในสวนปาล์ม ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ดีกว่าอาชีพหลัก
คุณสมหวิง หนูศิริ เกษตรกรต้นแบบในการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ ปลูกพืชแซม เลี้ยงสัตว์..
อ่านแล้ว: 21936
เกษตรกรดีเด่น จ.ยะลา เผย เคล็ดลับปลูกสละ สร้างรายได้ปีละแสน
เคล็ดลับปลูกสละ - การปลูกสละอินโดของคุณดอเล๊าะ จะปลูกในร่องสวนยางพารา ความกว้างร่อง 3 x 8 เมตร ในแต่ละร่องสวนยางจะปลู..
อ่านแล้ว: 11325
หนุ่มเรียนจบปริญญา ลาออกจากงาน กลับมาอยู่บ้าน ปลูกผักขาย
ปลูกผักขาย - ตัวผมเองเข้มเเข็งมากพอที่จะทนฟังเสียงเหล่านั้นได้ เเต่สำหรับ เเม่ เมื่อโดนชาวบ้านถามทุกวัน เเม่ก็เริ่มรู้..
อ่านแล้ว: 14398
หมวด เกษตรกรตัวอย่าง ทั้งหมด >>