data-ad-format="autorelaxed">
การเลี้ยงควาย จำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ
แบบแรก ได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อใช้แรงงาน
การเลี้ยงแบบนี้เป็นการเลี้ยงที่ดำเนินกันทั่วไปในเมืองไทย อันได้แก่ การเลี้ยงควายเพื่อเป็นส่วนประกอบของการทำไร่ทำนา โดยมิได้มุ่งเลี้ยงเป็นการค้าโดยเฉพาะ การเลี้ยงเป็นไปแบบตามมีตามเกิด โดยมิต้องอาศัยวิชาการเข้าช่วยมากนัก อาศัยธรรมชาติเป็นเครื่องอำนวยการเลี้ยง การเลี้ยงควายแบบนี้จึง เรียกว่า การเลี้ยงแบบธรรมชาติ
การเลี้ยงควายอีกแบบหนึ่ง คือ การเลี้ยงแบบการค้า
ซึ่งยังเลี้ยงกันเป็นส่วนน้อยในเมืองไทย การเลี้ยงแบบนี้ อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วยเป็นอย่างมาก เพื่อมุ่งให้ได้กำไรมากที่สุดจากกิจการการเลี้ยวควายนั้น การเลี้ยงควายแบบนี้ จึงเรียกได้ว่า เป็นการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมโดยมุงให้ได้ผลผลิต คือ เนื้อมากที่สุดต่อหนึ่งหน่วยของสิ่งที่ลงทุน
การเลี้ยงแบบอุตสาหกรรมจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 4 ประการ คือ
1. การดูแลจัดการ ได้แก่ การจัดสภาพและความเป็นอยู่ขอควาย ให้อยู่ในสภาพที่ดี ให้ผลสูงแต่ต้นทุนต่ำ การดูแลนี้ครอบคลุม
ถึงการจัดโรงเรือน การปรนนิบัติต่อสัตว์ การควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนและความชื้น การดูแลรักษาความสะอาดเพื่อให้เหมาะสมแก่การขยายพันธุ์ การเจริญเติบโตจนการให้ผลผลิตของควาย
2. อาหารและการให้อาหาร ผู้เลี้ยงจะแสวงหาอาหารที่มีคุณภาพในราคาที่พอสมควรมาใช้เลี้ยงควาย โดยมุ่งให้ได้ผลผลิตและ
กำไรสูง ทั้งนี้จะได้พิจารณารวมถึงวิธีการให้อาหารที่เหมาะสมเพียงพอและประหยัด
3. พันธุ์และการผสมพันธุ์ ผู้เลี้ยงจะพิจารณาเลือกเลี้ยงพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง แต่เลี้ยงง่ายตามสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ยิ่งกว่า
นั้นผู้เลี้ยงจะเลือกใช้วิธีการผสมพันธุ์ ที่เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการผลิตว่าเป็นการผลิตพันธุ์แท้ การผลิตเพื่อขุน และการพยายามปรับปรุงคุณภาพของการเลี้ยงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
4. การป้องกันโรค ได้แก่ การวางมาตรการอันเหมาะสมในการป้องกันโรค และการดูแลรักษาสุขภาพสัตว์ เพื่อให้สัตว์สามารถ
ผลิตผลได้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ระบบการเลี้ยงควายแบบอุตสาหกรรม
อาจจำแนกได้เป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คือ
การเลี้ยงควาย ได้แก่ การเลี้ยงแบบทำไร่ปศุสัตว์, การเลี้ยงต้อนในทุ่ง, และการเลี้ยงขุนในคอก
การเลี้ยงควายเนื้อแบบทำไร่ปศุสัตว์
ใช้พื้นที่กว้างขวางมาก และมีการลงทุนปรับปรุงพื้นที่ กั้นรั้วและปลูกสร้างแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงแบบนี้โดยทั่วไป เป็นการเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์ควายคุณภาพดี ราคาแพง มีการลงทุนสูงใช้วิชาการมาก ใช้โรงเรือนและเครื่องมืออุปกรณ์ไร่มาก ในเมืองไทยได้มีผู้ลงทุน ทำไร่ปศุสัตว์กันอยู่บ้าง
การต้อนเลี้ยงควายในทุ่ง
เป็นการเลี้ยงแบบไล่ต้อนสัตว์ไปกินหญ้าในท้องกว้าง ซึ่งว่างเว้นจากการเพาะปลูกหรือทุ่งสาธารณะ
ผู้เลี้ยงสัตว์อาจไม่มีพื้นที่เป็นขอบเขตของตนเอง หรือพื้นที่สำหรับจัดการกักขังควายเมื่อคราวจำเป็นเท่านั้น การเลี้ยงแบบนี้ลงทุนเกี่ยวกับสถานที่และการลงทุนน้อยมาก โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนหรืออุปกรณ์มากนัก ใช้วิชาการน้อย ผู้เลี้ยงไล่ต้อนความไปเลี้ยงโดยการเดินเท้าหรือขี่ม้าแบบเคาบอยอเมริกันตะวันตก วัตถุประสงค์ของการเลี้ยงโดยทั่วไป เพื่อผลิตควายขาย ใช้งาน และเอาเนื้อ มีผู้เลี้ยงควายแบบนี้อยู่ทั่วไปในเมืองไทย การเลี้ยงแบบนี้ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงควายในฝูงควายฝูงหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่ 200 – 300 ตัว
การเลี้ยงควายแบบขุนในคอก
เป็นการเลี้ยงควายเพื่อให้ขุนอ้วนแล้วส่งตลาดโดยเฉพาะ ควายจะถูกกักบริเวณโดยได้รับอาหารที่มีพลังงานสูง ช่วยให้อ้วนเร็ว
การเลี้ยงแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ทุ่งหญ้าหรือพื้นที่ที่กว้างขวาง ส่วนใหญ่กระทำการแบบชานเมือง ในเมืองไทยไม่ค่อยมีการเลี้ยงแบบนี้
แต่ในอนาคตคาดว่า จะมีการเลี้ยงควายเกิดขึ้น เพราะราคาเนื้อแพงขึ้น ผู้บริโภคนิยมเนื้อคุณภาพสูง ราคาอาหารขุนก็ไม่แพงนัก วิชาการเลี้ยงควายแบบนี้แพร่หลายขึ้น พร้อมทั้งความต้องการเนื้อควายในต่างประเทศก็สูงขึ้นด้วย
อ้างอิง kanninini.wordpress.com