data-ad-format="autorelaxed">
จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Micro-organisms : IMOs)
เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่หาได้ในสวนของเกษตรกร นักเกษตรธรรมชาติยอมรับกันว่าจุลินทรีย์ท้องถิ่น มีความแข็งแรงกว่าจุลินทรีย์เดี่ยวหรือจุลินทรีย์คัดสายพันธุ์ที่วางขายตามท้องตลาดในรูปหัวเชื้อจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ จุลินทรีย์ท้องถิ่นมีความทนทาน สามารถปรับตัวและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในสภาพอากาศ อุณหภูมิความชื้น และปัจจัยอื่นๆ ต่างๆโดยเลือกเก็บจุลินทรีย์ตาม กองใบไม้ รากไม้ ใต้กอไผ่ หรือตอซังข้าวที่ผุพังดังนั้นนักเกษตรธรรมชาติควรเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ท้องถิ่นให้หลากหลายสายพันธุ์เพื่อน นำมาใช้ประโยชน์จุลินทรีย์ในสวน 1,000,000 ล้านเซลล์ จะช่วยปรับสมดุลดินและน้ำในสวนเกษตรให้เหมาะต่อเขา บนเขา
IMO คืออะไร ?
เทคนิค การผลิตพืชและสัตว์ในระบบเกษตรธรรมชาติจะมีการนำจุลินทรีย์มาเกี่ยวข้องเสมอ เกษตรธรรมชาติเน้นความหลากหลายของจุลินทรีย์ เน้นการควบคุมกันเองของ จุลินทรีย์ในห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะมีผลต่อชนิดและ ปริมาณของจุลินทรีย์ในระบบนิเวศ จุลินทรีย์ที่เป็นโทษต่อการผลิต พืชและสัตว์ ตามความคิดของมนุษย์จะเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่สมดุลของความหลากหลายของจุลินทรีย์ในห่วงโซ่อาหารของ ระบบนิเวศนั้น ๆ
การทำเกษตรแบบธรรมชาติ จะไม่นำจุลินทรีย์จากต่างพื้นที่เข้ามาใช้ในกระบวนผลิต ทั้ง นี้รวมถึงจุลินทรีย์ที่ได้จากกระบวนการผลิตที่เพาะเลี้ยงและคัดแยกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์จนเป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ (สายพันธุ์เดี่ยวๆ) ซึ่งมีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เนื่องจากจุลินทรีย์ดังกล่าวจะไม่แข็งแรงและไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อนำกลับไป สู่ธรรมชาติอีกครั้ง เหมือนกับจุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่น ที่ อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เป็นเวลานานจนสามารถปรับตัวและมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในพื้นที่ได้ มีรายงานว่า เกษตรกรหลายรายที่เคยใช้จุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เริ่มให้การยอมรับในประสิทธิภาพการทำงานของจุลินทรีย์ดั้งเดิมในท้องถิ่นมาก ขึ้น
การฉีดพ่นหรือเติมจุลินทรีย์ท้องถิ่น และน้ำหมักจากพืชสีเขียว จะทำให้สภาพแวดล้อมในไร่นากลับคืนสู่สภาพที่ดีขึ้น โดย เฉพาะประเทศในแถบเอเชีย ความสามารถในการผลิตจุลินทรีย์ท้องถิ่นนี้ ถือได้ว่าเป็นวัสดุที่สำคัญในการ ทำการเกษตรที่ยั่งยืน เนื่องจากสามารถผลิตได้ที่บ้านของเกษตรกรเอง
จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMOs) คือพื้นฐานของความของความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การ เพาะปลูกจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากดินที่เหมาะสมดังนั้นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับพื้นที่เพาะปลูกจึงควรต้องทำเป็น อันดับแรกดินที่มีความอุดมสมบูรณ์จะมีลักษณะอย่างไร
จากรายงานการวิจัยพบว่าดินที่ไม่มีการปนเปื้อนสารพิษในพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร จะมีจุลินทรีย์อยู่หลายชนิดคิดเป็นน้ำหนักเท่ากับ 700 กิโลกรัมโดยปกติปริมาณจุลินทรีย์มากน้อยจะขึ้นอยู่กับปริมาณอินทรียวัตถุในดิน โดยจุลินทรีย์ดินจะ ประกอบด้วยเชื้อรา 75% แบคทีเรีย 20-25% และสัตว์ขนาดเล็กในดิน 5% คิดเป็นน้ำหนักแห้งประมาณ 140 กิโลกรัม (คิดคำนวณจากการมีน้ำเป็นองค์ประกอบ 80%)
ปริมาณน้ำหนักแห้งของ จุลินทรีย์รวม 140 กิโลกรัม จะมีจำนวนคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 70 กิโลกรัม ไนโตรเจน 11 กิโลกรัม ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบถึงอัตราของปุ๋ยไนโตรเจนที่ต้องใช้ 10 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร จะพบว่าปริมาณไนโตรเจนในธรรมชาตินี้มีปริมาณใกล้เคียงกันกับประมาณที่พืช ต้องการ
ในดิน 1 กรัมจะมีจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ อาศัยอยู่จำนวนระหว่าง 100 ล้านเซลล์ถึงหนึ่งล้านล้านเซลล์ นักสิ่งแวดล้อมเคยรายงานว่า ในพื้นที่ขนาดเท่ากับรอยเท้ามนุษย์ในความลึก 1 เมตรจะมีเพลี้ยอ่อน 3,280 ตัว หมัด 479 ตัว ไส้เดือนฝอย 74,810 ตัว และไส้เดือนดิน 1,845 ตัว อาศัยอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชโดยทางอ้อม ความ สำเร็จในการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็เกิดจากการจัดการที่ดี เพราะดินเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ
ดังนั้นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและจัดการให้มีอาหารที่เพียงพอสำหรับ จุลินทรีย์และสัตว์อื่นๆ ในดิน จึงมีความสำคัญมาก พบว่าเมื่อคลุมดินที่มีความแข็งกระด้างด้วยฟางข้าว หรือตอซังข้าวประมาณ 7-10 วัน จะมีเชื้อราขาวเกิดขึ้น และดินที่เคยแข็งกระด้างก็จะกลับมาอ่อนนุ่ม และชุ่มชื้น
สภาพเช่นนี้จะเป็นทึ่งดูดให้ไส้เดือนเข้ามาในพื้นที่ เกษตรกรไม่จำเป็นจะต้องซื้อจุลินทรีย์ที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดมาพ่นลงในดิน เพียงแค่จัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ ก็จะทำให้ดินฟื้นฟูสภาพได้ด้วยตัวเอง
ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะพบ เชื้อราเจริญขึ้นมาตามลำดับตามมาด้วยไส้เดือนฝอยที่กินเชื้อราเป็นอาหารไส้เดือนดิน จิ้งหรีด แมงกะซอน และตัวตุ่น
ดังนั้นสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ก็จะช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมในดินให้มีการพัฒนา อย่างผสมกลมกลืนกัน และมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยทางอ้อมและจะพบว่า 90% ของจุลินทรีย์ดินที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอาศัยอยู่ที่ระดับความลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตรจากผิวหน้าดินลงไป
เมื่อผืนดินถูกปกคลุมด้วยอินทรียวัตถุเช่น ตอซังข้าว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและมีสัดส่วน 7:3 คือ มีร่มเงา 7 ส่วน และแสงอาทิตย์ 3 ส่วน
ในส่วนที่เป็นร่มเงาภายใต้ฟางข้าว จะช่วยลดการระเหยของน้ำ และดินก็จะไม่ถูกแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรง การทำให้เกิดสภาพเช่นนี้มีหลายวิธี เช่น การคลุมดินด้วยตอซังข้าว การใช้ใบไม้คลุมดิน การปลูกพืชคลุมดิน และการหว่านเมล็ดคลุมดิน
จะเห็นได้ว่าบนภูเขาและทุ่งนาในธรรมชาติ ดินจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก และดินจะดีจากด้านบนและลดลงสู่ด้านล่างไม่ใช่จาก ด้านล่างขึ้นไปด้านบนปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุอินทรีย์ทั้งหลาย สามารถนำมาใช้ทำวัสดุคลุมผิวดินได้ ทุกชนิดโดยทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์รูปแบบใกล้เคียงกับธรรมชาติ
อ้างอิงข้อมูลจาก http://pirun.ku.ac.th..
สินค้าแนะนำ
ป้องกันโรครา เช่นราแป้ง ราใบจุด โรคใบร่วง ออยเดียม ไฟท็อปโทร่า ใช้ฉีดพ่นลงดิน เพื่อเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประสิทธิภาพลงในดิน ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ ใช้ฉีดพ่น เพื่อย่อยสลายใบไม้ หรือซากพืช ซากสัตว์ในพื้นที่ เพื่อเร่งขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ให้กลายเป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ในดินต่อๆไป
ไอเอ็มโอ เป็นจุลินทรีย์ ทางเราจัดส่งแบบ EMS เท่านั้น เพื่อป้องกันความเสียหายหรือการรั่ว ที่เกิดจากการขยายตัวของจุลินทรีย์ในช่วงจัดส่ง
ไอเอ็มโอ
จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูง
ดินดี ต้นใหญ่ โตไว ไกลโรค
*โปรดอ่าน สำหรับสินค้าสามรายการดังนี้ 1.IMO(ไอเอ็มโอ) 2.Bio-N(ไบโอ-เอ็น) และ 3.IC-KIT2(ชุดย่อยสลายตอซังฟางข้าว) กรณีจัดส่งทางไปรษณีย์ ทางฟาร์มเกษตรจะทำการใช้สติกเกอร์แผ่นเล็กๆ ปิดรูระบายอากาศที่ฝาด้านบนของขวด ก่อนจัดส่งให่ท่าน เนื่องจากสินค้าทั้งสามรายการนี้ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ แพ็คเกจจึงต้องมีรูระบายอากาศเล็กๆ ฉนั้นก่อนเราทำการจัดส่ง จึงต้องปิดรูเอาไว้ เพื่อความปลอดภัยในการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัว IC KIT2 ย่อยสลายฟางข้าว เราจำเป็นต้องตัดพลาสติกหุ้มแพคเกจก่อน แล้วจึงจะใช้สติกเกอร์ปิดรูได้ |
มีขนาด 3 ลิตร และขนาด 20 ลิตร
- เพิ่มการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน และเศษซากพืชซากสัตว์ในดิน
- ป้องกันการเกิดโรคทางดิน ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคเส้นดำ โรครากขาวโรคเหี่ยว
- ป้องกันโรครา เช่นราแป้ง ราใบจุด โรคใบร่วง - เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน
- ปรับสภาพดิน และพัฒนาโครงสร้างดิน - เพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน
- เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
- ลดปัญหาการเกิดโรคทางดิน * ข้อสำคัญ ห้ามใช้ร่วมกับสารเคมี หรือสัมผัสกับสารเคมี เนื่องจาก สารเคมีจะทำให้จุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงเสื่อมคุณภาพ และตาย
จุลินทรีย์ท้องถิ่น (IMO)
ในปัจจุบันนี้เกษตรกรได้หันมาผลิตพืชเชิงเดี่ยวเพื่อการค้าและการส่งออกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปลูกพืชซ้ำ ๆ กันในพื้นที่เดิมเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการบำรุงดินย่อมส่งผลให้ดินเสื่อมโทรม ผลผลิตตกต่ำ ต้องใช้ปุ๋ยใช้ยาเพิ่มมากขึ้น การพึ่งพาปัจจัยเหล่านี้ย่อมทำให้เกษตรกรเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากราคาผลผลิตถูกผูกขาดและกำหนดราคาโดยกลไกของระบบตลาดทุน ซึ่งเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถควบคุมได้ เมื่อปัจจัยการผลิตมีราคาแพงขึ้น ในขณะที่ปริมาณผลผลิตและราคาผลผลิตก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม ย่อมทำให้เกษตรกรประสบกับภาวะขาดทุนและมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากทุกที รวมทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตก็เสื่อมโทรมลง เนื่องจากการใช้ปุ๋ยและสารเคมีเหล่านี้
ความหมายและความสำคัญของจุลินทรีย์ในท้องถิ่น
ทั้งนี้ การนำจุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านมาปรับใช้กับระบบผลิตของเกษตรกรอาจเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับเกษตรกรได้ เนื่องจากเป็นเทคนิคที่สอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นที่แตกต่างกันเพราะมีการนำเอาจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ภายในท้องถิ่นนั้น ๆ มาทำเป็นหัวเชื้อสำหรับนำไปขยายและประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ ช่วยปรับปรุงบำรุงดินให้ดีขึ้น สามารถปลูกพืชงอกงาม ให้ผลผลิตสูง ทำให้ธรรมชาติเกิดความสมดุล โรคและแมลงศัตรูพืชลดลง รวมทั้งเกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการผลิต ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรสามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็ดีขึ้นตามไปด้วย
โดยทั่วไป จุลินทรีย์ท้องถิ่นหรือจุลินทรีย์พื้นบ้านจะหมายถึง จุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในขอบเขตของระบบนิเวศนั้น ๆ ไม่ได้นำเข้ามาจากภายนอกระบบ ภายนอกท้องถิ่น ภายนอกเมือง ภายนอกประเทศ หรือภายนอกภูมิภาคโลกนั้น ๆ เรียกเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า Indigenous Micro Organisms (IMO)
ไอ เอ็ม โอ (IMO) เป็นชื่อเฉพาะที่สมาคมเกษตรธรรมชาติแห่งประเทศเกาหลี ใช้เรียกราใบไม้สีขาว ซึ่งเป็นจุลินทรีย์กลุ่มเล็ก ๆ ในกลุ่มราเมือก (Leaf Mold) ที่อาศัยอยู่ภายในขอบเขตพื้นที่เพาะปลูก เป็นสายพันธุ์ที่จะใช้ประโยชน์ในการทำการกสิกรรมไร้สารพิษได้ดี มีคุณภาพสูง จุลินทรีย์ท้องถิ่นเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าจุลินทรีย์ที่ได้จากน้ำหมักอีเอ็ม หรือ พ.ด. สูตรต่าง ๆ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมาก หลากหลายชนิด สามารถปรับตัวและเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้น ๆ และประการสำคัญคือ จุลินทรีย์ท้องถิ่นนั้น เกษตรกรไม่ต้องไปซื้อหาที่ไหนเพราะมีอยู่แล้วภายในท้องถิ่น อีกทั้งสามารถผลิตใช้ได้เองไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย รวมทั้งสามารถพัฒนาคิดค้นสูตรที่เหมาะสมกับระบบการผลิตของตนเองได้อีกด้วย
ประโยชน์ของเชื้อราขาว (จุลินทรีย์ท้องถิ่น)
1. ช่วยย่อยสลายเร็ว (ทำปุ๋ยหมัก)
2. ปรับความเป็นกรดด่างของดิน หรือ pH
3. ทำให้ดินปลดปล่อยแร่ธาตุ
4. ทำให้ดินโปร่ง มีออกซิเจน จุลินทรีย์ทำงานได้เต็มที่ มีประสิทธิภาพ
5. ทำให้พืชต้านทานโรคที่เกิดจาก เชื้อรา โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย และดับกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์
6. เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน
วิธีใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่น IMO
เวลาใช้ให้ผสมน้ำในอัตราส่วน IMO 1 ส่วน : น้ำ 1,000 ส่วน หรือ IMO 2 ช้อนโต๊ะ : น้ำ 10 ลิตร แล้วคลุกผสมกับรำข้าว สัดส่วนที่เหมาะสมจะกำหนดได้ยาก เราต้องทดลองกำดู ผสมแล้วกำไว้ เมื่อคลายมือแบออกก้อนรำผสมนั้นจะอยู่คงรูป ถ้าส่วนผสมเหลวเกินไปเพราะน้ำมากไปเราจะต้องเติมรำเข้าไปคลุกอีกจนได้ลักษณะที่ต้องการ
ส่วนผสมที่เราทำขึ้นนี้จะเป็นเชื้อดินหมักที่เราจะใช้สำหรับเอาไปโรยบนดินที่ต้องการทำการเพาะปลูก เมื่อผสมแล้วเราต้องเอาฟางคลุมทิ้งไว้อีก 7-10 วัน เชื้อดินหมักจะได้ที่ ฟางที่คลุมนั้นถ้าสานเป็นเสื่อฟางได้จะดีมาก
จุลินทรีย์ IMO ชอบนอนใต้ฟาง กองเชื้อดินหมักนี้ต้องทำในร่ม ใต้หลังคา อย่าให้ถูกฝนถูกน้ำ การใช้ประโยชน์ IMO โดยทั่วไปจะมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่
1. เพื่อใช้ปรับโครงสร้างของดิน โดยเอาดินในพื้นที่ของเราน้ำหนักเท่ากับเชื้อดินหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ทำเป็นกอง เอาฟางคลุมไว้ดังเดิม ทิ้งไว้อีก 3 วันแล้วจึงนำไปใช้โรยในไร่นาเพื่อเตรียมดินทำการเพาะปลูกได้
2. เพื่อใช้เป็นส่วนผสมกับปุ๋ยหมักให้มีคุณภาพสูงขึ้น โดยใช้เชื้อดินหมักประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อน้ำประมาณ 200 ลิตรที่จะใช้ทำการหมัก และทำตามกระบวนการหมักทั่วไป
โดยสรุปแล้วเทคนิคเกี่ยวกับจุลินทรีย์ท้องถิ่น คงไม่ได้เป็นเพียงเทคนิคสำหรับการปรับปรุงบำรุงดินเท่านั้น หากแต่ชวนให้ตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดความเชื่อของเกษตรกรไทย จากการเป็น “เกษตรกรมือสอง” ที่คอยแต่พึ่งพาเทคโนโลยีของระบบทุน ให้กลับมาเป็น “เกษตรกรมือหนึ่ง” ที่สร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตนเองขึ้นมาดังเช่นเกษตรกรในอดีต ที่ได้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาขึ้นมามากมาย รวมถึงแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต จากการผลิตที่ถูกครอบงำโดยปัจจัยภายนอก มาเป็นการผลิตที่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี
แม้ในวันนี้การปรับเปลี่ยนกระบวนความคิดและระบบการผลิตของเกษตรกรไทยโดยรวม ยังเป็นสิ่งที่ยากลำบาก แต่เมื่อใดก็ตามที่ยังมีเกษตรบางส่วนเลือกที่ศึกษาภูมิปัญญาดังเดิมและพัฒนาองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับวิถีการผลิตและวัฒนธรรมของชุมชน ก็เชื่อได้ว่าเกษตรกรเหล่านี้จะคอยเป็นแรงผลักดันอันมีค่าที่จะช่วยขับเคลื่อนขบวนการเกษตรกรไทยให้เดินไปสู่วิถีการเกษตรแบบยั่งยืนที่มีคุณค่า พึ่งพาตัวเองได้ในที่สุด
สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อได้ที่
ฟาร์มเกษตร หรือ www.FarmKaset.ORG
คุณ ปิยะมาศ โทร 089-459-9003
หรือ สั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์คลิกที่นี่