ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 17406 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กั้งตั๊กแตน : การเพาะขยายพันธุ์

กั้งตั๊กแตน - คืออะไร พบมากที่ไหน มีวิธีการเพาะเลี้ยงตามขั้นตอนอย่างไร ตลอดไปจนการลำเลียงขนส่ง และตลาดรับซื้อ

data-ad-format="autorelaxed">

กั้งตั๊กแตน

กั้งตั๊กแตน

การเพาะขยายพันธุ์กั้งตั๊กแตน

กั้งตั๊กแตนเป็นสัตว์ทะเลจำพวกกุ้ง เติบโตโดยการลอกคราบ ชอบอาศัยฝังตัวอยู่ตาม พื้นโคลน และบริเวณปากแม่น้ำ ชนิดที่พบบ่อยและมีขนาดใหญ่ที่สุด คือกั้งตั๊กแตนสีน้ำเงิน ( Silver Mantis Shrimp ) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Harpiosquilla raphidea ( Fabricius) จัดอยู่ในวงศ์ Squillidae ลำตัวสีเงิน มีลักษณะลำตัวแบน ด้านบนโค้ง ขาเดินมี 3 คู่ไม่เป็นก้ามหนีบ ระยางค์ของส่วนท้อง ซึ่งมี 5 คู่ จะช่วยในการว่ายน้ำ มีเหงือกใช้หายใจเหมือนกุ้งทั่วๆไป ความยาวตั้งแต่หัวถึงหางเฉลี่ย 30 เซนติเมตร มีตาใสสีเขียวรูปเมล็ดถั่วเหลือง

 การเพาะฟักกั้งตั๊กแตน

       เนื่องจากจำนวนผู้จับกั้งตั๊กแตนในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อรวบรวมส่งขายยังตลาดทั้งภายในและนอกประเทศเพิ่มมากขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้ปริมาณกั้งตั๊กแตนในธรรมชาติมีปริมาณลงลดอย่างรวดเร็ว สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราชจึงได้ทำโครงการทดลองเพาะฟัก กั้งตั๊กแตนขึ้น เพื่อให้ได้ลูกพันธุ์กั้งตั๊กแตนมาใช้ในการเลี้ยงหรือการทำฟาร์มต่อไปในอนาคต

       กั้งตั๊กแตนที่ใช้ทดลองเพาะขยายพันธุ์ เป็นกั้งตั๊กแตนสีน้ำเงิน Harpiosquilla raphidea จับได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติบริเวณปากแม่น้ำ และบริเวณชายฝั่งในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการเพาะพันธุ์มีขั้นตอนดังนี้

 การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

       พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ จะคัดมาจากทั้งที่จับขึ้นมาใหม่ๆ และมีสภาพแข็งแรง มีขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 180-200 กรัม
 การผสมพันธุ์และวางไข่

       กั้งตั๊กแตนเพศเมีย จะมีขนาดโตกว่าเพศผู้ และกั้งตัวเมียที่นำมาเพาะพันธุ์ จะเป็นตัวที่เจริญเพศอย่างสมบูรณ์ และได้รับการผสมกับตัวผู้มาแล้ว โดยจะสังเกตได้จาก กระเปาะเก็บ น้ำเชื้อที่มีสีขาวขุ่นตรงบริเวณปล้องอกที่ 6-7-8 ( ด้านท้อง ) เราเรียกกระเปาะเก็บน้ำเชื้อว่า Seminal receptacal เมื่อถึงเวลาไข่แก่เต็มที่ กั้งตัวเมียจะปล่อยไข่ออกมาจากช่องวางไข่ ตรงบริเวณกลางปล้องอกที่ 6 ไข่ที่ถูกปล่อยออกมาก็จะผสมกับน้ำเชื้อของตัวผู้ที่ฝากไว้บริเวณปล้องที่ 6

กั้งตั๊กแตนเพศผู้ โดยทั่วไปจะมีขนาดเล็กกว่ากั้งเพศเมียขนาดเจริญเพศแล้ว จะสังเกตลักษณะเพศได้โดยดูที่โคนขาเดินของปล้องอกที่ 8 จะมีท่อส่งน้ำเชื้อลักษณะคล้ายท่อส่งน้ำเชื้อของกุ้งกุลาดำยื่นออกมา เราเรียกท่อส่งน้ำเชื้อนี้ว่า Chitinous penis หลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วกั้งตัวเมียจะปล่อยไข่ที่มีสีส้มอ่อน เชื่อมไข่ให้ติดกันเป็นแผ่น แล้วใช้ระยางค์หรือมือจับที่ยื่นออกมาจากบริเวณปากช่วยพัดโบกใกล้ๆเพื่อช่วยให้ไข่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ เป็นเวลาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ จนกระทั่งไข่ฟักออกเป็นตัวอ่อนระยะแรก

       หรืออีกวิธี คือการคัดเลือกเฉพาะแม่พันธุ์กั้งตั๊กแตนที่มีไข่แก่ เนื่องจากกั้งจะจับคู่ผสมพันธุ์กันภายในแบบเดียวกับกุ้งทะเลและปูด้วยเหตุนี้การผสมพันธุ์จึงไม่จำเป็นต้องใช้พ่อแม่พันธุ์อีก เมื่อได้แม่กั้งมาแล้วจะนำมาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดโปรโตซัวที่ติดมาตามธรรมชาติออกเสียก่อน ด้วยการแช่ฟอร์มาลีน 200 พีพีเอ็ม ( หนึ่งในล้านส่วน ) ประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปใส่ถังไฟเบอร์ขนาดจุ 2 ตัน ที่ใส่น้ำผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีน และกรองด้วยถุงกรองขนาดตาประมาณ -1 ไมครอนเรียบร้อยแล้ว ถังละ 4 - 5 แม่

      อาหารของแม่กั้งนั้นให้วันละ 1 มื้อในตอนบ่ายโดยใช้ปลาข้างเหลือง ซึ่งใช้เฉพาะส่วนที่เป็นเนื้อเท่านั้น ส่วนท้องจะไม่นำมาให้เป็นอาหาร เพราะจะมีไขมันและสิ่งสกปรกอื่นๆ ขณะที่รอการไข่ของแม่กั้ง จะถ่ายน้ำทุกๆ 3 วัน ส่วนอาหารที่เหลือจากการกินจะดูดออกก่อนให้อาหารใหม่ทุกครั้ง และหากพบว่าแม่กั้งไข่แล้วให้เปลี่ยนน้ำและแยกแม่กั้งออกจากไข่ทันที

       การวางไข่ของแม่กั้งตักแตนจะวางไข่ในเวลากลางคืน หลังจากนำเข้าที่ฟักได้ประมาณ 5-15 วัน มีบางครั้งที่พบว่ากั้งบางตัววางไข่ในตอนเช้าซึ่งจะสิ้นสุดขบวนการไข่เวลาเย็น
 ขั้นตอนการไข่มีดังนี้

+ ขั้นแรก แม่กั้งจะงอตัวเป็นรูปตัวยู พร้อมกับพ่นน้ำลายซึ่งเป็นเมือกเหนียวๆเหลวๆออกมาปกคลุมบริเวณส่วนนอก ซึ่งเป็นจุดที่แม่กั้งจะปล่อยไข่ออกมา มีลักษณะคล้ายลูกโป่ง ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง

+ ขั้นที่ 2 เมื่อปล่อยแผ่นเมือกมาปกคลุมมิดชิดดีแล้ว แม่กั้งจะนอนหงายตะแคงตัวเล็กน้อยประมาณ 15-20 องศา เพื่อฉีดไข่ออกมาภายในถุงเมือกเหลวๆนี้ ใช้เวลาในส่วนนี้ประมาณ 3-5 ชม.

+ ขั้นที่ 3 เมื่อปล่อยไข่ออกมาหมดแล้วแม่กั้งจะพลิกตัวกลับในท่าปกติ พร้อมทั้งจัดระเบียบของไข่ให้เป็นแผ่น โดยเปลี่ยนเป็นเมือกเหลวๆ ให้กลายเป็นวุ้นเหลวๆคล้ายเยลลาติน ใช้เวลาประมาณ 3-5 ชม. ซึ่งยากแก่การเน่าสลาย บางครั้งแม่กั้งอาจจัดแผ่นไข่ให้หนาหรือบางไม่เหมือนกัน แล้วแต่นิสัยของแม่กั้งแต่ละตัว ซึ่งหากไข่ถูกจัดให้ซ้อนกันหลายๆชั้น ( 3-4 ชั้น ) จะเกิดปัญหาตามมาในการฟักตัว แต่ถ้าไข่ถูกจัดให้เป็นชั้นเดียวเสมอกันหมด อัตราการฟักเป็นตัวของแผ่นไข่จะสูงตามไปด้วย เนื่องจากการฟักเป็นตัวของไข่ จะใช้เวลานานประมาณ 1-4 วัน หลังจากตัวแรกเริ่มออกจากไข่

การฟักไข่

       เมื่อแยกแม่กั้งตั๊กแตนพร้อมทั้งไข่ที่แม่กั้งตั๊กแตนจะอุ้มไข่ไว้ด้วยระยางค์อกส่วนหน้า ( ตั้งแต่คู่ 1-5 ) ตลอดเวลาไม่ยอมปล่อยมาใส่ในถังสำหรับฟักไข่ โดยใช้ถังกรวยขนาด 200 ลิตร มีตาข่ายพลาสติกขนาด 1 ส่วน 4 นิ้ว ทำเป็นกระชังลอยในถังอีกที นำแม่กั้งพร้อมไข่ไปใส่ใน อวนมุ้งนี้ ซึ่งใช้ระบบน้ำฆ่าเชื้อเช่นกัน ในระหว่างฟักไข่ แม่กั้งจะคอยพัดโบกและปล่อยวางแผ่นไข่ตลอดเวลา ใช้เวลาประมาณ 14 -16 วัน และจะเปลี่ยนน้ำ และให้น้ำระบบไหลผ่านประมาณครึ่งชั่วโมงต่อวัน โดยไม่มีการให้อาหาร พร้อมทั้งใส่สารเคมีป้องกันราลงไปด้วย อุณหภูมิจะควบคุมไว้ที่ 30-31 องศาเซลเซียส เมื่อไข่กั้งเริ่มฟักตัวเป็นแผ่นวุ้นที่เชื่อมติดไข่แต่ละใบไว้จะเริ่มสลายตัว หลุดเป็นแผ่นเล็กๆ ช่วงนี้แม่กั้งไม่สามารถอุ้มไข่ไว้ได้อีกและจะปล่อยไข่ทิ้งทันที เมื่อสังเกตว่า แม่กั้งเริ่มทิ้งไข่ควรแยกแม่กั้งออก มิฉะนั้นแล้วแม่กั้งจะกินไข่ตัวเอง เพราะอดอาหารมานาน

       อุปกรณ์ที่ใช้ฟักไข่ประกอบด้วยกระชัง ถุงกรวย ซึ่งพบว่าการฟักไข่ในถุงกรวยโดยให้ลงแรงช่วยในการสะบัดตัวหลุดของไข่ลูกกั้งตั๊กแตนจะดีกว่า แต่มีปัญหาการติดขอบบนของผิวน้ำ ตายเสียมาก และหากใส่ไข่ลงไปพร้อมกันถุงเดียวจะเกิดการทับถม ทำให้กั้งตัวน้อยที่เกิดใหม่ตาย
การอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตน

       การอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนที่ออกมาใหม่ มีความยาว 3 มิลลิเมตร ได้รับการอนุบาลในถังอนุบาล ลูกกั้งที่ออกมาจะลอกคราบ 1 ครั้งถึงจะกินอาหาร ซึ่งจะใช้เวลา 3 วัน อาหารที่ให้คือไรน้ำเล็กๆ เมื่อถึงวันที่ 4 จะกินอาร์ทีเมีย จนกระทั่งถึงอายุ 30 วัน ขนาดของอาร์ทีเมียที่ลูกกั้งจับกินจะเริ่มจากขนาดเล็กและใหญ่ขึ้น และบางแห่งมีการอนุบาลลูกกั้งตั๊กแตนเหมือนกับการอนุบาลลูกกุ้งกุลาดำทุกประการ
ปริมาณกั้งที่ตลาดต้องการ

      ขณะนี้ตลาดกั้งตั๊กแตนได้ขยายตัวออกไปยังตลาดต่างประเทศแล้ว ประเทศที่สั่งเข้า กั้งตั๊กแตนจากประเทศไทย ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ บางครั้งมีการสั่งจาก ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นถ้าเราสามารถรวบรวมกั้งได้ตามขนาดที่ตลาดต้องการ ก็จะทำให้ธุรกิจราบรื่น และอาจจะขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ
 วิธีการลำเลียงขนส่ง

       เนื่องจากกั้งเป็นสัตว์น้ำเค็มที่มีรสชาติดี และมีโปรตีนสูง สภาพเนื้อคล้ายปู ส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักจะนิยมรับประทานกั้งโดยปรุงเป็นอาหารในขณะที่กั้งยังมีชีวิตอยู่ ถ้ากั้งตายก่อนที่จะปรุงอาหาร เนื้อของกั้งจะเหลวและสลายตัวเป็นน้ำเน่าเสียในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นการลำเลียงกั้งโดยรักษาสภาพให้มีชีวิตอยู่จึงมีความจำเป็นมาก

การลำเลียงขนส่ง

การลำเลียงขนส่งกั้งตักแตนมี 2 วิธีคือ ลำเลียงในสภาพสด และลำเลียงในสภาพแห้ง ดังนี้

+  การลำเลียงในสภาพสด ลำเลียงไปครั้งละ 80-100 กิโลกรัม ถังไฟเบอร์ที่ใช้มีจำนวน 26 ใบ บรรจุน้ำทะเล 60 ลิตร/ถัง ช่วยเพิ่มออกซิเจนด้วยเครื่องเป่าลมและควบคุมอุณหภูมิของน้ำโดยการใช้น้ำแข็งก้อนเล็กๆบรรจุในถุงพลาสติกลอยในถังลำเลียงกั้งตั๊กแตนนั้นเพื่อควบคุมอุณหภูมิให้ได้ระดับ 20-30 องศาเซลเซียส ขนาดของกั้งตั๊กแตนที่ลำเลียงมีน้ำหนักประมาณ 5-6 ตัว/กิโลกรัม ราคารับซื้อในท้องถิ่น 230-270 บาท / กิโลกรัม และเมื่อถึงกรุงเทพฯได้ในสภาพกั้งมีชีวิตราคา 350 บาท / กิโลกรัม

+ การลำเลียงในสภาพแห้ง โดยใช้ถังโฟมขนาดกว้าง x ยาว xสูง ( 12 x17 x12 นิ้ว ) มีการ ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ประมาณ 20-23 องศาเซลเซียส ด้วยการใช้หญ้าคาสดแช่ในน้ำแข็ง แล้วนำมารองพื้นไว้หนึ่งชั้น แล้วบรรจุกั้งตั๊กแตนลงไป 12-14 ตัว ( ขนสด 6-7 ตัว / กิโลกรัม ) แล้วจึงปูทับด้วยหญ้าคาสดที่แช่น้ำแข็งเตรียมไว้ แล้วจากนั้นก็บรรจุกั้งตั๊กแตนในสภาพมีชีวิตวางเรียบ 12-17 ตัว อีกชั้นหนึ่ง ( ในหนึ่งกล่องโฟม จะมีหญ้าคาสดปูไว้ 3 ชั้น ) ในกล่องใบหนึ่งจะบรรจุกั้งรวมประมาณ 3.5-4.0 กิโลกรัม ผนึกฝากล่องด้วยเทปให้สนิท แล้วเจาะรูตรงกลางฝาลังโฟม อัดออกซิเจนให้เต็ม และปิดรูให้สนิท วิธีนี้ใช้ขนส่งทางเครื่องบินแล้วพักที่กรุงเทพฯ ก่อนบรรจุใหม่เพื่อส่งต่อไปยังตลาดต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน

วิธีลำเลียงในสภาพแห้งนี้นิยมทำกันในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราชและจ.สตูล

แหล่งรับซื้อกั้งตั๊กแตนในภาคใต้

- อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
- อำเภอเมือง จังหวัดสตูล
- อำเภอละงู จังหวัดสตูล

       ระยะเวลาการขนส่งตั๊กแตนโดยการใช้รถยนต์ลำเลียง จากแหล่งรับซื้อและแหล่งบรรจุ จนถึงมือผู้รับซื้อในจังหวัดกรุงเทพฯ มีดังนี้

      จากพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ใช้เวลา 10 ชั่วโมง สำหรับพื้นที่ในจังหวัดนครศรีฯ , สตูล ใช้เวลา 12 ชม. และ 15 ชม. การลำเลียงโดยเครื่องบินจาก จ.สุราษฎร์ฯ จ.นครศรีฯ และสตูล โดยขึ้นเครื่องที่อำเภอหาดใหญ่ จ.สงขลา ใช้เวลา 1.5 -2 ชม. มีรายงานจากคำบอกเล่า แหล่งรับซื้อกั้งตั๊กแตนใน อ.เมือง และ อ.ละงู จ.สตูลนั้น เคยได้รับซื้อกั้งที่จับในเขตประเทศมาเลเซีย บริเวณเมืองปะลิส โดยมรการลำเลียงมาส่งถึง จ.สตูล โดยการใช้เรือ

เอกสารอ้างอิง

- ไม่มีชื่อผู้แต่ง. 2536. เทคโนโลยีการประมง : เพาะเลี้ยงกั้งตั๊กแตน พัฒนาการอีกขั้นของประมงไทย. วารสารมติชนเทคโนโลยีชาวบ้าน ปีที่ 5 ฉบับที่ 74. หน้า 34-35.

- ไม่มีชื่อผู้แต่ง.2536. กั้งตั๊กแตน อนาคตตลาดสดใส. วารสารประมงเศรษฐกิจ ปีที่ 1 ฉบับที่ 12 . หน้า 10-16.

- ไม่มีชื่อผู้แต่ง. 2545. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช : กั้งตั๊กแตน. วารสารการประมง ปีที่ 45 ฉบับที่ 5 . หน้า 993-998.

ข้อมูลจาก nicaonline.com
รูปภาพจาก sirikhun.com

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17406 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7387
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7613
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 7134
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 8329
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6877
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5920
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 6319
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>