พื้นฐานของผู้ส่งออกปลากัด
ผู้ส่งออกปลากัดส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีใจรักและสนใจปลากัดมาตั้งแต่วัยเด็ก มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารกับชาวต่างชาติที่เป็นลูกค้าได้เป็นอย่างดี และยังเป็นผู้ที่มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี
ขั้นตอนสำหรับผู้ส่งออกปลากัดรายใหม่
ในการเริ่มต้นธุรกิจส่งออกปลากัดนั้น ธุรกิจปลาสวยงาม สำหรับผู้ที่สนใจจะต้องมีการติดต่อขอรับใบอนุญาตการค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรืออุตสาหกรรมสัตว์น้ำ (ใบอนุญาต 6) ณ ฝ่ายบริหารและจัดการทรัพยากรประมง กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมง หรือที่สำนักงานประมงทุกจังหวัด โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (บุคคลธรรมดา) หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (นิติบุคคล) หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีที่ไม่สามารถมาได้ด้วยตนเอง) โดยต้องยื่นคำขอล่วงหน้าก่อนการส่งออกไม่น้อยกว่า 3 วัน
จากนั้นจะมีการตรวจมาตรฐานฟาร์ม เพราะเป็นสินค้าส่งออกจึงจำเป็นต้องเป็นฟาร์มที่มีการจัดการดี เพื่อให้ปลามีสุขภาพดี ปลอดจากโรคต่างๆ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากกรมประมงมาทำการตรวจสุขาภิบาลฟาร์ม และสุ่มตัวอย่างปลามาทำการตรวจวินิจฉัยโรค ประมาณ 2-4 ครั้งต่อปี แต่ในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การส่งปลาจำเป็นที่จะต้องมีใบรับรองคุณภาพสัตว์น้ำประกอบการส่งออกด้วย
ความต้องการทางการตลาด
ตลาดที่รองรับปลากัดสวยงามมีอยู่ทั่วทุกทวีป แต่ที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ ตลาดสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ ยุโรปออสเตรเลีย และเอเชีย โดยปลากัดที่ตลาดต้องการส่วนใหญ่จะเป็นปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Halfmoon) เรื่องสีสันของปลากัดนั้นไม่มีสีหรือรูปแบบของสีที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความแปลกใหม่ของปลากัด ส่วนในเรื่ององค์ประกอบต่างๆ นั้น ครีบทุกส่วนควรอยู่ในรูปแบบที่ครบสมบูรณ์ ทางด้านปลากัดต่อสู้นั้นยังไม่ได้รับความนิยมจากตลาด เนื่องจากต่างชาติไม่รู้จักกติกาในการแข่งขันกัดปลา อีกทั้งยังเห็นว่าเป็นการทารุณ โหดร้าย และทรมานสัตว์ จากการสัมภาษณ์พบว่า ไม่เพียงแต่ปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว เท่านั้นที่ตลาดต้องการและขายได้ราคาดี ปลากัดยักษ์ก็ถือเป็นปลากัดที่ขายได้ราคาดี เมื่อคิดเทียบกับจำนวนปลาที่ส่ง ปลากัดยักษ์ไม่ใช่ปลากัดชนิดใหม่แต่อย่างใด ปลากัดยักษ์เป็นปลาที่พัฒนาขึ้นมาเมื่อหลายปีก่อน แต่ไม่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากต่างชาติคิดว่ามีการใช้สารสเตอรอยด์ในการเร่งให้ปลากัดมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
วิธีการส่งออกปลากัด
วิธีการส่งออกปลากัดที่ทำในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบ คือ
การส่งออกโดยผู้เพาะเลี้ยงเป็นผู้ส่งออกเองโดยตรง ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ
การติดต่อซื้อขายนั้นจะเป็นการขายตรง คือ ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีการพบปะกันซึ่งหน้า โดยที่ผู้ซื้อจะต้องได้เห็นสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อ ตกลงราคากันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทางเจ้าของฟาร์มจะเป็นผู้บรรจุปลาให้ จากนั้นผู้ซื้อจะนำกลับประเทศเอง
การติดต่อซื้อขายกับลูกค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจมีการทำเว็บไซต์ส่วนตัวขึ้นมา และถ่ายภาพปลาเพื่อเอาไปขึ้นในเว็บไซต์ เป็นการแสดงสินค้าพร้อมทั้งตั้งราคาขาย แต่การมีเว็บไซต์เป็นของตนเองนั้น มีข้อจำกัดอยู่ที่ต้องมีการอัพเดตข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งรูปปลาในเว็บไซต์ให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ ในการซื้อขายปลากัดผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นอาจจะไม่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองก็ได้ แต่ใช้วิธีเข้าไปพูดคุยในกระทู้เกี่ยวกับปลากัดที่มีอยู่มากมายทั่วโลก โดยเริ่มจากการติดต่อกันผ่านทางอีเมล์หรือออนไลน์ผ่าน MSN แล้วเสนอขายสินค้า ตกลงราคา หรืออาจจะทำผ่านทางเว็บไซต์ที่เปิดขึ้นเพื่อการประมูลซื้อขาย (Bid)
การส่งออกโดยผ่านทางผู้รวบรวมปลา ซึ่งมีทั้งบริษัทที่รวบรวมปลาเพื่อส่งออกโดยเฉพาะ เป็นการรับซื้อปลาจากฟาร์มที่เป็นทั้งฟาร์มส่งออกหรือเป็นฟาร์มที่ขายในประเทศ ซึ่งจะคัดเฉพาะปลากัดที่มีความสวยงามเท่านั้น โดยต้องเป็นฟาร์มที่มีมาตรฐาน ผ่านการตรวจรับรองจากทางกรมประมง ผู้รวบรวมปลาอาจเป็นผู้ที่เพาะเลี้ยงเองด้วยและเป็นผู้รวบรวมด้วย ในกรณีที่มีปริมาณการสั่งซื้อมากเกินกำลังการผลิต ซึ่งในกรณีนี้การติดต่อซื้อขายกับลูกค้านั้นจะทำผ่านทางอินเตอร์เน็ตเช่นเดียวกันแต่ในบางรายผู้รวบรวมปลาไม่ได้มีการเพาะเลี้ยงปลาเลย ใช้วิธีการซื้อมาแล้วขายไปเพียงอย่างเดียว
รูปแบบการจ่ายเงิน
รูปแบบการจ่ายเงินมีอยู่ด้วยกัน 3 วิธีการ คือ
การจ่ายเงินผ่านระบบ Bank to bank เป็นการจ่ายเงินโดยการโอนผ่านจากธนาคารต่างประเทศทางฝ่ายลูกค้ามายังธนาคารในประเทศที่ผู้ส่งออกได้เปิดบัญชีไว้ แต่การจ่ายเงิน ระบบนี้มีข้อเสียตรงความล่าช้า ทำให้การขนส่งปลาต้องล่าช้าออกไปอีก
การจ่ายเงินผ่านระบบ Western union เป็นบริการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงไปทั่วโลกของตัวแทน Western union เงินจะถึงมือผู้รับภายในไม่กี่นาที โดยผู้รับไม่ต้องมีบัญชีกับธนาคาร Western union จึงเป็น วิธีส่งและรับเงินที่สะดวก รวดเร็ว และเชื่อใจได้ แต่เสียค่าธรรมเนียมสูง
การจ่ายเงินด้วยระบบ Paypal เป็นการจ่ายเงินที่มีความสะดวกและรวดเร็วที่สุดสำหรับลูกค้า โดย Paypal Inc. (www.paypal.com) เป็นบริษัทออนไลน์ที่ให้บริการระบบโอนและชำระเงินผ่านอีเมล์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค โดยผู้ที่ต้องการใช้บริการโอนหรือชำระเงินผ่านเครือข่ายบริการของ Paypal ต้องลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของ Paypal ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่มีการเปิดระบบนี้ขึ้น ดังนั้นจึงต้องให้ผู้ที่ไว้ใจได้เปิดบัญชีจากต่างประเทศแล้วนำเอาเลขบัญชี (Account) มาใช้
PayPal
การบรรจุ
การบรรจุปลากัดลงในถุงนั้น เริ่มจากการคัดขนาดปลาใส่ถุงตามความเหมาะสมกับขนาดถุงที่เตรียมไว้เพื่อส่งออก ในการบรรจุปลาเพื่อเตรียมส่งออกนั้น ในแต่ละฟาร์มใช้หลักการเดียวกันหมด คือ กล่องโฟมที่ใช้จะมีขนาดมาตรฐานคือ 60x45x30 เซนติเมตร โดยเริ่มจากใส่น้ำลงในถุงพลาสติกชั้นในสุดไม่เกิน 1 ใน 3 ของถุง นำปลาใส่ถุง ปลากัดเป็นปลาที่อดทน ใช้ออกซิเจนในการหายใจน้อย จึงไม่ต้องใส่ออกซิเจนลงไปในถุง มัดปากถุงให้แน่น เช็ดนอกถุงให้แห้งสนิท นำถุงเปล่ามาซ้อน 3 ชั้น มัดปากถุงแยกแต่ละถุง นำไปใส่ในกล่องโฟมและปิดด้วยเทป หุ้มกล่องด้วยถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกชั้น แล้วใช้เทปปิดถุงพลาสติกส่วนที่เกินออกมาให้สนิทกับตัวกล่อง ในกรณีที่ส่งทาง Air cargo ส่วนการส่งทาง EMS ก็ใช้วิธีเดียวกัน แต่ต้องใส่ปลาลงในกล่องไปรษณีย์พร้อมจ่าหน้าถึงลูกค้า
รูปแบบการขนส่งปลาธุรกิจปลาสวยงาม
การขนส่งปลากัดไปยังต่างประเทศนั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 วิธีก็คือ การขนส่งผ่านทาง Air cargo และ
ผ่านทาง EMS โดยจะเลือกใช้ Air cargo ก็ต่อเมื่อปริมาณการสั่งซื้อมากพอ เพราะระบบนี้มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งแต่ละครั้งค่อนข้างมาก แต่ก็มีความสะดวก สบาย เพราะทางบริษัทที่รับทำ Air cargo จะจัดการให้ทั้งหมด ตั้งแต่การนำมาปลาไปตรวจโรค ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาให้กับผู้ส่งออก เพราะการนำปลาไปตรวจโรคเองนั้นต้องเสียเวลาอย่างน้อย 1 วัน จนกระทั่งส่งปลาไปยังสนามบินปลายทาง แต่การส่งผ่านทาง Air cargo นั้น ต้องมีผู้มารับช่วงต่อที่สนามบินปลายทางอีกทอดหนึ่ง โดยทำหน้าที่ในการรับสินค้าและกระจายสินค้า (Distributor) ไปยังลูกค้า โดยดูว่าปลาที่ส่งมาทั้งหมดนั้นเป็นของลูกค้ารายเดียวหรือไม่ ถ้าใช่จะส่งต่อไปยังลูกค้าทันที ถ้ามีลูกค้าจากหลายที่รวมอยู่ ไม่ใช่เป็นของลูกค้าเพียงรายเดียว ก็จะแกะกล่องและแยกส่งไปตามการสั่งซื้อที่ทางผู้ส่งออกได้ระบุรายละเอียดเอาไว้ ส่วนการส่งทาง EMS นั้นถือว่าเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถส่งปลาได้ทันที โดยปลาที่ส่งไปจะถึงมือผู้ซื้อใช้เวลาประมาณ 3 วัน การส่งปลาทาง EMS นั้นจะใช้ในกรณีที่ปริมาณการสั่งซื้อมีน้อย ซึ่งต้องมีการบรรจุปลาอย่างดี เพื่อป้องกันการรั่วซึมของนํ้าที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้
ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก
ปัญหาหลักที่พบในการส่งออกปลากัดมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
ปัญหาด้านการตัดราคา ส่งผลให้ไม่มีมาตรฐานในการตั้งราคาปลาสำหรับส่งออก ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียความน่าเชื่อในการส่งออกปลากัดของไทย ทำให้ปลากัดของไทยไม่มีมาตรฐาน ทั้งๆ ที่เป็นปลาที่มีเอกลักษณ์
ปัญหาด้านการจ่ายเงิน ยังไม่มีความสะดวกสบายเท่าที่ควร เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีระบบการจ่ายเงินแบบ Paypal ทำให้ต้องขอความช่วยเหลือ พึ่งพาต่างชาติ ในกรณีที่ไม่มีญาติ เพื่อน หรือคนรู้จักที่อยู่ต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัด
ปัญหาด้านภาษา นับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง เพราะจำเป็นต่อการติดต่อสื่อสาร ซื้อขาย ต่อรอง ตกลงราคาต่างๆ ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
มีความแตกต่างของระบบการส่งออกปลากัดที่พบในเอกสารอื่นๆ ในเรื่องความต้องการทางการตลาดนั้น ปัจจุบันปลากัดที่เป็นที่ต้องการของตลาดจะเป็นปลากัดหางยาวประเภทพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว และปลากัดยักษ์ โดยจะพิจารณาเรื่องของลักษณะของตัวปลาความครบสมบูรณ์ สวยงามของครีบประกอบด้วย แตกต่างกับบทความของยนต์ ที่กล่าวว่าปลากัดหม้อ ปลากัดป่า และปลากัดจีนเป็นปลาที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ในเรื่องของรูปแบบการส่งออก พบว่ารูปแบบของการส่งออกปลากัดนั้นจริงๆ แล้วมีเพียง 2 รูปแบบเท่านั้น คือ เจ้าของฟาร์มเป็นผู้ส่งออกเอง ซึ่งแบ่งได้เป็น การติดต่อซื้อขายกับลูกค้าโดยตรง และการติดต่อซื้อขายกับลูกค้าโดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต และการส่งออกโดยผ่านทางผู้รวบรวม ปลา (ยี่ปั๊ว) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น การรวบรวมจากทางบริษัทส่งออกปลาสวยงาม ผู้รวบรวมเป็นผู้เพาะเลี้ยงด้วย และผู้รวบรวม และรับซื้อเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เพาะเลี้ยง จึงสามารถกล่าวได้ว่า การส่งออกปลากัดล้วนแต่เป็นการซื้อขายผ่านทางระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิกส์ทั้งสิ้น ส่วนในเรื่องของขั้นตอนการส่งออกต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนกับที่กรมประมงได้กำหนดไว้แทบทั้งสิ้น เรื่องการขนส่งปลากัดไปยังต่างประเทศนั้นไม่ใช่ส่งได้แค่เพียงทางเครื่องบิน (Air cargo) เท่านั้น หากแต่ยังสามารถส่งปลาโดยใช้ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ได้อีกทางหนึ่งด้วย
ธุรกิจปลาสวยงามในเรื่องของปัญหาในการส่งออกหลักๆ มีอยู่ 3 ข้อ คือ
เรื่องระบบการจ่ายเงิน การตัดราคากัน และความรู้ทางด้านภาษา โดยต่างจากข้อมูลของ ธนากร ฤทธิ์ไธสง ที่กล่าวว่าปัญหาการขาดเที่ยวบินและการรวมกลุ่มตั้งราคาปลาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่จากศึกษาพบว่าการรวมกลุ่มเพื่อตั้งราคากลางในการส่งออกปลากัดนั้น ไม่ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะการส่งออกปลากัดนั้น การจะขายปลาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างทั้งในเรื่องของชื่อเสียงของตัวผู้ส่งออกเอง คุณภาพ ความสวยงามของปลา ส่วนในเรื่องการช่วยเหลือจากรัฐบาล ผู้ส่งออกไม่ได้ต้องการอะไรจากรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหาตลาดหรือการส่งเสริมการส่งออกในด้านอื่นๆ เพราะในการส่งออกปลากัดนั้น ผู้ส่งออกสามารถดำเนินธุรกิจเพียงลำพังได้ไม่จำเป็นต้องพึ่งพารัฐบาล เพียงแต่ต้องการให้รัฐบาลให้ความร่วมมือ และการอำนวยความสะดวกในเรื่องที่ต้องมีการติดต่อกับทางราชการ อีกทั้งยังต้องการความรวดเร็วในการปฏิบัติงานของทางหน่วยงานราชการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกปลากัด เพื่อที่ผู้ส่งออกจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนในการส่งออกในส่วนต่อๆ ไปได้อย่าง
ข้อมูลจาก lovebettafish.com