เห็ดยามาบูชิตาเกะ
ชื่ออื่นๆ : Lion ‘s Mane, Hedgehog Mushroom, เห็ดปุยฝ้าย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hericium erinaceus
ลักษณะทั่วไป
เห็ดยามาบูชิตาเกะ สามารถพบได้บริเวณทางซีกโลกเหนือ เช่น ยุโรป และเอเชียตะวันออก ในประเทศญี่ปุ่น โดยทั่วไปมีขนาดประมาณ 5-20 เซนติเมตร มีสีขาว ลักษณะคล้ายเส้นไหมยาว โดยมักพบเกาะอยู่ตามบริเวณต้นไม้ยืนต้น เช่น โอ๊ค หรือวอลนัท
ความเชื่อและประโยชน์ทางสุขภาพ
เห็ดชนิดนี้ได้ถูกขนานนามในภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมายว่า ผู้ที่หลับใหลอยู่ในภูเขา อันสืบเนื่องมาจากตำนานญี่ปุ่นโบราณที่กล่าวถึงพระญี่ปุ่นในนิกายชูเกนโด ที่ธุดงค์ไปในป่าตามหุบเขา (นิกายทางพุทธศาสนาโบราณในประเทศญี่ปุ่น) จะมี เครื่องประดับที่เรียกว่า “ซูซูกาเคะ” ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเห็ดชนิดนี้เป็นอย่างมาก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อเห็ดชนิดนี้ว่า “ยามาบูชิ” และ ในภาษาญี่ปุ่น คำว่า “ตาเกะ” หมายถึง “เห็ด”
ในสมัยโบราณเห็ดยามาบูชิตาเกะนี้ถูกนำไปเข้าตำรับยาในการรักษาโรคของระบบ ทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น แต่สำหรับงานวิจัยทางการแพทย์ที่ได้ตีพิมพ์ลงใน International Journal of Medicinal Mushrooms ซึ่งทำโดย ดร.ทาคาชิ แห่งมหาวิทยาลัยชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น พบว่า เห็ดชนิดนี้ให้ผลต่อการเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และผิวหนังได้อีกด้วย
งานวิจัยทางการแพทย์ ของเห็ดยามาบูชิตาเกะ
1. Park YS, Lee HS, Won MH, Lee JH, Lee SY, Lee HY (September 2002). “Effect of an exo-polysaccharide from the culture broth of Hericium erinaceus on enhancement of growth and differentiation of rat adrenal nerve cells”. Cytotechnology 39 (3): 155–62.
2. Mori K, Inatomi S, Ouchi K, Azumi Y, Tuchida T (March 2009). “Improving effects of the mushroom Yamabushitake (Hericium erinaceus) on mild cognitive impairment: a double-blind placebo-controlled clinical trial”. Phytother Res 23 (3): 367–72.
3. Mori K, Obara Y, Hirota M, et al. (September 2008). “Nerve growth factor-inducing activity of Hericium erinaceus in 1321N1 human astrocytoma cells”. Biol. Pharm. Bull. 31 (9): 1727–32.
4. Kolotushkina EV, Moldavan MG, Voronin KY, Skibo GG (2003). “The influence of Hericium erinaceus extract on myelination process in vitro“. Fiziol Zh 49 (1): 38–45.
5. Halpern G.M., “Healing Mushrooms”, 2007, Square One Publishers, NY , USA,
ข้อมูลจาก bio.msu.ac.th