สัมภาษณ์คุณสุนทร ว่องกุศลกิจ
ประธานกรรมการ บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด
ประวัติความเป็นมา
ประมาณ ปี พ.ศ. 2482 เป็นจุดเริ่มต้นของ มิตรผล โดยมีการปลูกอ้อยราว 10 ไร่ ที่ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ซึ่งถือเป็นกิจการในครอบครัว หลังจากนั้น 2 ปี ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เนื่องจากบิดาเป็นคนต่างด้าว ทำให้ครอบครัว ต้องอพยพตามนโยบายของจอมพล ป. พิบูลสงครามไปอยู่ที่ตำบลทุ่งน้อย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เมื่อสงครามยุติลง ก็ได้ย้ายกลับมาทำไร่อ้อยอีกครั้งหนึ่ง โดยที่ยังไม่ได้ใช้ชื่อ มิตรผล จุดมุ่งหมายของการตั้งโรงงานในเวลานั้นคือ ผลิตน้ำตาลทราย ซึ่งรวมทั้งน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายแดง ในระยะแรกนี้ยังคงใช้แรงงานโคและกระบือในการหมุนลูกหีบอ้อยแบบไม้ ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็งรูปทรงกระบอก 2 ลูก สูงประมาณ 3 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ฟุตครึ่ง มีเฟืองด้านบนและคานยาว สำหรับโคกระบือเทียมเพื่อหมุนลูกหีบตามแบบที่ใช้กันในประเทศจีน ซึ่งบิดาของคุณสุนทรได้เคยทำมาก่อน วิธีการผลิตคือ นำน้ำอ้อยมาเคี่ยวเป็นน้ำเชื่อมจนเข้มข้นเมื่อเสร็จแล้วบางช่วงจะนำไปใส่ กระบะไม้ เมื่อน้ำตาลจับตัวเป็นก้อนแล้วใช้ไม้ม ีลักษณะคล้ายสากตะลุมพุกด้ามยาวบด โดยใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบที่ตัวสาก มือจับที่ด้ามสากขยับไปมาบนก้อนน้ำตาล ซึ่งจะทำให้ก้อนน้ำตาลแตกละเอียด เรียกว่าการเหยียบน้ำตาล จะได้น้ำตาลทรายแดงประมาณวันละ 10-12 หาบ (1 หาบ = 60 กิโลกรัม) บางครั้งนำไปบรรจุลงในภาชนะดินเผาเรียกว่า “หวด” สูงประมาณ 20-24 นิ้ว มีปากกว้างและก้นแหลมที่ก้นหวดมีรู โดยจะนำฟางมาอุดรูไว้ ข้างล่างหวดจะมีภาชนะคล้ายๆ หม้อดินใบเล็ก สูงประมาณ 1 ฟุตซ้อนรองอยู่เพื่อรองรับกากน้ำตาล เมื่อน้ำเชื่อมที่เคี่ยวได้ที่แล้ว ใส่ในหวดประมาณ 80% ของภาชนะ แล้วรอให้น้ำเชื่อมเย็นตัวลง น้ำตาลจะจับตัวกันเป็นก้อน ด้านบนจะนำเอาดินท้องนาซึ่งเป็นโคลนบริสุทธิ์มาโปะไว้ให้หนาประมาณ 4 นิ้ว หลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ ก็เปิดจุกฟางออก เพื่อให้น้ำเชื่อมไหลลงสู่ภาชนะที่รองรับ หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือน นำดินที่โปะไว้ชั้นบนรวมทั้งน้ำตาลชั้นบนที่เปื้อนดินออก จะได้น้ำตาลที่มีสีออกขาวมีความหนาประมาณ 15-20 เซนติเมตร ในชั้นถัดไปจะมีสีรำซึ่งคล้ายกับน้ำตาลทรายดิบ ยิ่งลึกลงไป ก็จะมีน้ำเชื่อมปนอยู่มากขึ้น นำไปขายส่งตามร้านค้าทั่วไปที่อำเภอบ้านโป่ง ส่วนกากน้ำตาลหรือโมลาส ก็ขายให้ชาวบ้านไปต้มเหล้า 35 ดีกรี และบางส่วนก็นำไปผสมซีอิ๊ว
หลังสงครามโลก เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ ดังนั้น เมื่อทำการผลิตได้ประมาณ 2 ปี ก็ต้องหยุดกิจการลง แล้วเปลี่ยนไปทำโรงงาน แป้งมันสำปะหลังและสาคู โดยร่วมหุ้นกับญาติผู้ใหญ่ที่เป็นแพทย์ และหาผู้เชี่ยวชาญจากอำเภอท่าเรือมาช่วย ในการผลิตนั้นใช้ เครื่องจักรดีเซลขนาดเล็กหมุนเป็นต้นกำลังเพื่อบดหัวมัน แต่กิจการนี้มีคู่แข่งมากทำให้ดำเนินงานไปไม่ดีนัก จึงมีความคิด ที่จะหันกลับไปทำกิจการอ้อยและน้ำตาลแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง
ประมาณ ปี พ.ศ. 2490 ได้เริ่มกลับมาปลูกอ้อยประมาณ 20 ไร่ เพื่อผลิตเป็นน้ำเชื่อมแล้วส่งไปขายให้ร้าน “กว้างซุ่นหลี” (อยู่ที่บางแคในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นแหล่งรับซื้อน้ำเชื่อมเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำตาลทรายแดง ในการผลิตได้พัฒนาการให้ทันสมัยโดยใช้เครื่องจักรดีเซลเพื่อหมุนลูกหีบแบบ เหล็กหล่อ 3 ลูกวางในแนวนอน ใช้ชื่อการค้าว่า “ซุนเฮง”
กำเนิดมิตรผล
ในปี พ.ศ. 2499 ได้ จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานน้ำตาลมิตรผลขึ้นโดย คุณกุศล ว่องกุศลกิจ ได้ร่วมหุ้นกับ คุณฮัก ผานิตพิเชษฐ์วงศ์ และคุณวิเทศ ว่องวัฒนสิน ด้วยทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท (คุณสุนทรได้เข้ามารับช่วงกิจการต่อหลังจากก่อตั้งได้ประมาณ 3 ปี เนื่องจากคุณกุศลมีสุขภาพไม่ดี) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 16 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผลิตน้ำตาลทรายแดงและน้ำตาลทรายขาว โดยซื้อหม้อเคี่ยวมือสองมาจากจังหวัดชลบุรี มีพนักงาน 60-70 คน โดยหีบอ้อยที่โรงหีบเล็ก แล้วส่งน้ำเชื่อมไปเคี่ยวเป็นน้ำตาลในโรงงาน อ้อยส่วนใหญ่จะปลูกเองและรับซื้อจากชาวบ้านเป็นบางส่วน และเนื่องจากใช้รถแทรกเตอร์มาช่วยงาน ทำให้สามารถปลูกอ้อยได้มากขึ้นถึง 400 ไร่ สำหรับสาเหตุที่ใช้ชื่อว่า มิตรผล นั้น เนื่องจากได้ขอร้องกำนันคนหนึ่งช่วยตั้งชื่อให้ เมื่อได้รับชื่อมาใช้กิจการก็เจริญรุ่งเรืองดี ต่อมาเมื่อมีการขยายกิจการไปจังหวัดใดก็ตาม จึงใช้คำนำหน้าว่า “มิตร” และใช้ชื่อจังหวัดนั้นต่อท้าย
ใส่ปุ๋ยให้กับอ้อยตามช่วงอายุ เร่งการเจริญเติบโต เร่งการย่างปล้อง เร่งการยืดปล้อง เร่ง CCS
ปุ๋ยเม็ดวันเดอร์สูตรเขียว ใช้รองพื้น ให้ธาตุอาหารครบถ้วนปรับปรุงโครงสร้างดิน มีกรดอะมิโนและจุลินทรีย์ปรับปรุงดิน
ปุ๋ยเม็ดเพอร์เฟค-ซีกระสอบแดง ใช้ใส่ในช่วงย่างปล้องเดือนที่สอง ทำให้อ้อยเขียว และยืดปล้องได้สูงลำต้นแข็งแรง ให้ไนโตรเจนสูงในขณะที่ยังรักษาสภาพดินไม่ให้เกิดดินเปรี้ยว มีธาตุอาหารปลดปล่อยเร็ว และปลดปล่อยช้า
ปุ๋ยเม็ดวันเดอร์สูตรส้ม ใช้เร่ง CCS เพิ่มค่าความหวานให้กับอ้อย ให้ธาตุอาหารโปแตสเซียม เร่งขบวนการเคลื่อนย้ายเร่งการสะสมแป้งและน้ำตาล ให้อ้อยมีความหวาน
แปลงสาธิต เราได้ทำแปลงสาธิตอ้อยที่ได้ผลผลิตเฉลี่ยที่ 25 ตันต่อไร่ และไร่ที่ได้ผลผลิตสูงบางไร่ที่ 31 ตันต่อไร่ ที่บริษัทน้ำตาลมิตรผล อ.ด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และมีการเปิดให้ดูงานทุกปีในช่วงเดือนตุลาคม นอกจากนั้นยังมีแปลงสาธิตที่ได้ทำไว้กับ บริษัทน้ำตาลมิตรผลภูเวียง และมิตรผลภูเขียว สนใจแปลงดูแปลงสาธิตติดต่อได้ที่ 089-4599003 คุณปิยะมาศ
สนใจสินค้าของเรา คลิกที่นี่
ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่
จากฟาร์มเกษตร ผลิตภัณฑ์ออแกนิกส์ ปลอดสารพิษ ส่งออกไปยังประเทศจีน ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ กาน่า ด้วยเทคโนโลยีการผลิต และความร่วมมือจากนักลงทุนประเทศ ออสเตเลีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และยังมี สสว. องค์กรของภาครัฐร่วมลงทุนอยู่ด้วยประมาณ 15% จึงมันใจได้ว่า ปุ๋ยตรานกอินทรีคู่ มีคุณภาพสูง และเป็นที่ยอมรับในองค์กรชั้นนำ
สนใจติดต่อ คุณปิยะมาศ 089-4599003
หรือ ดูรายการสินค้าและราคาคลิกที่นี่ |
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2506 ได้ขยายกำลังผลิต เนื่องมาจากมีอ้อยมากขึ้นรวมทั้งได้รับซื้อน้ำเชื่อมมากขึ้นด้วย จึงได้จัดซื้อลูกหีบใหญ่ 4 ชุด จากจังหวัดชลบุรี ในราคา 3 ล้านบาท ทำให้สามารถหีบอ้อยได้ 700 ตันต่อวัน และผลิตน้ำตาลได้ 50-60 ตันต่อวัน กิจการได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2510 จึงได้ขยายกำลังการผลิตอีกครั้ง โดยซื้อเครื่องจักรจากไต้หวัน ทำให้สามารถหีบอ้อยได้ 1,500 ตันต่อวัน และผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 120 ตันต่อวัน แต่ยังเป็นการผลิตเพื่อขายในประเทศ สำหรับลูกหีบเก่าขนาด 700 ตันต่อวัน ได้ขายให้แก่บริษัท น้ำตาลมิตรเกษตร จำกัด ที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เป็นโรงงานขนาดเล็กกว่าที่มิตรผลได้ร่วมถือหุ้นบางส่วนร่วมกับชาวไร่อ้อย จึงได้ใช้ชื่อว่า “มิตรเกษตร” และเนื่องจากกิจการได้ขยายขึ้นเป็นลำดับ ในปี พ.ศ. 2515 คุณวิเทศ ว่องวัฒนสิน จึงได้ขอแยกตัวออกไปดูแลกิจการนี้
พ.ศ. 2512 ขยายกำลังการผลิตอีกครั้งโดยการเพิ่มรางหีบอีก 1 ราง ทำให้หีบอ้อยเพิ่มได้ 4,000 ตันต่อวัน และได้ปรับปรุงเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้หีบอ้อยได้รวม 6,000 ตันต่อวัน และผลิตน้ำตาลได้ประมาณ 500 ตันต่อวัน
พ.ศ. 2516 ได้ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรสยาม ที่อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ในช่วงแรกโรงงานน้ำตาลมิตรสยามมีกำลังการการผลิตหีบอ้อยได้ 6,000 ตันต่อวัน โดยได้ดำเนินกิจการต่อเนื่องมาจนถึงปีฤดูการผลิต 2540/41 จึงได้ย้ายโรงงานมาตั้งใหม่ที่ ต.สมสะอาด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานน้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ มีกำลังการผลิตประมาณ 18,000 ตันอ้อยต่อวัน
พ.ศ. 2518 กรรม การบริษัทฯ เห็นว่าการผลิตน้ำตาลเริ่มมีปริมาณมากขึ้น จึงได้ไปซื้อที่ดินที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสร้างท่าเทียบเรือรองรับการส่งออก
พ.ศ. 2522 ก่อตั้งบริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีกำลังผลิตหีบอ้อยได้ 10,000 ตันต่อวัน ต่อมาปี พ.ศ. 2524 เนื่องจากกิจการขยายตัวยิ่งขึ้นไปอีก และมีบุตรหลานเข้ามาช่วยกิจการมากขึ้น คุณพีร์ และคุณฮัก ผานิตพิเชษฐ์วงศ์ จึงได้ขอแยกโรงงานน้ำตาลบ้านโป่งออกไปบริหารเอง ครอบครัวว่องกุศลกิจจึงเหลือโรงงานน้ำตาลเพียง 2 แห่ง คือ โรงงานน้ำตาลมิตรผล และโรงงานน้ำตาลมิตรสยาม ในระยะนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริษัทฯ โดยคุณสุนทร ว่องกุศลกิจ เป็นประธานกรรมการ คุณกมล ว่องกุศลกิจ เป็นรองประธานกรรมการ คุณวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ และคุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ เป็นกรรมการ ในปี พ.ศ. 2531 คุณอิสระ ว่องกุศลกิจ ขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2526 ก่อตั้งโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว หรือโรงงานน้ำตาลรวมเกษตรกร อุตสาหกรรม ที่อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ออกแบบกระบวนการผลิตจาก Tate & Lyle Industries ประเทศอังกฤษ และได้รับความไว้วางใจจากบริษัทนี้ ร่วมกับบริษัทน้ำตาลตะวันออก จำกัด และบริษัทน้ำตาลหนองใหญ่ จำกัด ร่วมลงทุนในโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวด้วย โรงงานนี้มีกำลังผลิตในขั้นแรก 12,000 ตันอ้อยต่อวัน และเพิ่มเป็น 22,000 ตันอ้อยต่อวัน ในปัจจุบันมีชาวไร่อ้อยคู่สัญญามากกว่า 5,000 ราย
พ.ศ. 2533 การที่มีโรงงานน้ำตาลเกิดขึ้นมากในบริเวณอำเภอบ้านโป่งและใกล้เคียงอีกทั้ง ยังมีการขยายกำลังการผลิตมากเกินไป ทำให้อ้อยไม่เพียงพอป้อนโรงงานและรองรับความเจริญเติบโต คณะกรรมการบริษัทฯ จึงได้ตัดสินใจย้ายโรงงานน้ำตาลมิตรผล จากอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ไปตั้งอยู่ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันโรงงานนี้มีกำลังการผลิตหีบอ้อยได้ 25,000 ตันต่อวัน มีชาวไร่อ้อยคู่สัญญา 1,200 ราย ในเวลาไล่เลี่ยกันนั้น เนื่องจากมีชานอ้อยเหลือจากการผลิตของโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวและเป็นภาระใน การขนไปทิ้ง จึงได้ก่อตั้งบริษัท เอ็มพี ปาร์ติเกิล บอร์ด จำกัด เพื่อนำเอาชานอ้อยมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแผ่นไม้อัดจากชานอ้อยและส่งขาย เป็นวัตถุดิบในการทำเฟอร์นิเจอร์ มีกำลังการผลิตวันละ 200 ลูกบาศก์เมตร โรงงานนี้ตั้งอยู่ติดกับโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
พ.ศ. 2536 ได้เริ่มขยายกิจการสู่ต่างประเทศ โดยเล็งเห็นว่าประเทศจีน มีการบริโภคน้ำตาลมากถึงปีละกว่า 8 ล้านตัน ในขณะที่มีกำลังการผลิตเพียงปีละประมาณ 6.5 ล้านตัน จึงได้เข้าไปร่วมลงทุนกับโรงงานน้ำตาลจำนวน 4 แห่งในมณฑลกวางสี ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศจีนเท่านั้น ปัจจุบันมีกำลังการผลิตประมาณ 24,500 ตันต่อวัน
พ.ศ. 2538 มิตรผลซื้อกิจการโรงงานน้ำตาลหนองเรือ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โรงงานนี้เดิมชื่อ โรงงานน้ำตาลประจวบอุตสาหกรรม เป็นเงินลงทุนกว่า 1 พันล้านบาท โดยได้ปรับปรุงเครื่องจักรให้ทันสมัย พัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง นับเป็นโรงงานน้ำตาลแห่งที่ 4 ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 20,000 ตันต่อวัน
|