แก่นฝาง
น้อยคนนักที่รู้จักต้นไม้ชนิดนี้ แต่ฝาง จัดเป็นต้นไม้มากคุณค่า ฝางเป็นยาเย็น ทำน้ำฝางดื่มในหน้าร้อน ดีกว่าดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำชาเขียว น้ำฝางทำไม่ยาก แค่นำเอาเนื้อไม้ฝางที่ตากจนแห้งแล้วมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลนิดหน่อย ใส่ใบเตยเล็กน้อย แค่นี้ก็จะได้น้ำฝางสีแดงสวยงามมากด้วยคุณค่า
ประโยชน์โดยทั่วไปของฝาง
ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แก้ร้อนใน ช่วยลดความร้อนในร่างกาย กระหายน้ำ แก้ธาตุพิการ แก้กำเดา มีรสฝาด จึงใช้แก้โรคทางสมานได้ เช่น แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ฆ่าเชื้อโรคบางชนิดได้
แก้โลหิตออกทางทวารหนัก และแก้อาการเลือดออกภายในอวัยวะต่างๆ เช่น เลือดออกในกระเพาะอาหารหรือในลำไส้หรือคนที่ขาดวิตามินเค มักเลือดไหลหยุดช้า คนที่เส้นเลือดฝอยเปราะแตกง่าย และคนที่มีเลือดกำเดาออกบ่อย ดื่มน้ำฝางจะค่อยๆ ช่วยให้เลือดหยุดไหลได้
ฝาง นิยมเข้าตัวยากลุ่มบำรุงเลือด ฟอกเลือด หรือในกลุ่มยาสตรี เพราะมีสรรพคุณช่วยให้เลือดดี เช่น ขับโลหิตระดู ใช้ฝางเสนหนัก 4 บาท แก่นขี้เหล็กหนัก 2 บาท ต้มกินก่อนประจำเดือนมา ช่วยให้ระดูไม่เน่าเสียและมาสม่ำเสมอ แก้พิษโลหิตร้าย เป็นยาขับระดูและบำรุงโลหิต
วิธิทำ ต้มน้ำกับใบเตยให้เดือน นำแก่นฝาง ประมาณ 5-6 ชิ้น ลงไปแช่นาน 5 นาที แล้วเอาออก วางให้แห้ง นำมาใช้อีกได้ 3 ครั้ง แล้วทิ้ง
จริงๆ ประโยชน์ในด้านสมุนไพรของฝาง มีเยอะมากจนบรรยายแทบไม่หมด แต่ยังมีอีกประโยชน์ที่สามารถนำเองคุณสมบัติของ แก่นฝาง หรือฝาง นี้ ไปใช้กับการปลูกพืชได้ โดยเฉพาะ
ไม้ฝางกับต้นขนุน
คุณลุงไสว ศรียา ปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรที่อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก สามารถบังคับให้ต้นขนุนติดลูก ตรงตำแหน่งที่ต้องการได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ และได้ผลดี เมื่อพูดถึงการ บังคับขนุนให้ออกลูก ในบริเวณที่จุดที่ต้องการนั้น หลายท่านคงจะนึกแปลกในใจว่าขนุนสามารถกำหนดหรือบังคับจุดที่จะให้ออกลูกได้ด้วยหรือ ได้ครับ ด้วยสรรพคุณของ ฝางที่ว่านี้เอง
ฝาง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Caesalpinia sappan L. ชื่อสามัญ คือ Sappan Tree อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ชื่ออื่นที่เรียกกัน ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ฝาง ฝางส้ม (กาญจนบุรี) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ แก่นฝาง เป็นแก่นของไม้มีสีแดง มีสารที่เป็นวัตถุไม่มีสี ชื่อ Haematoxylin อยู่ประมาณ 10% วัตถุนี้เมื่อถูกอากาศ อาจจะกลายเป็นสีแดง และมีแทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยนิดหน่อย
ฝางมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย และแก่นฝางเร่งผลขนุน หรือจะใช้ การกระตุ้นขนุนให้ลูกดก ก็ใช้ได้ทั้งสองชนิด
แก่นฝางเร่งผลขนุน
อุปกรณ์ที่ใช้ก็มีเพียง ฆ้อน มีด และส่วนของแก่นไม้ฝาง ซึ่งมีสรรพคุณทางยาอยู่แล้ว คือมีสารอยู่ชนิดหนึ่งที่ช่วยแก้ไข้ และบรรเทาอาการเจ็บปวดหรือจะนำมาต้มน้ำ ผลิตเป็นน้ำยาอุทัยทิพย์ ส่วนเทคนิคสำคัญที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นต้นขนุนให้สามารถติดลูกได้ มีวิธีการโดยนำแก่นฝาง มาเหลาให้มีขนาดเท่าไม้จิ้มฟัน เหลาปลายให้แหลม แล้วเลือกพื้นที่ที่ต้องการให้ต้นขนุนติดลูก การกระตุ้นขนุนให้ลูกดก และตอกแก่นฝางลงไปในต้นขนุนให้ลึกจนกระทั่งตอกแก่นฝางลงไปไม่ได้ หากมีแก่นฝางเหลือคาอยู่ที่ต้น ให้หักออก เพียงเท่านี้ต้นขนุนจะติดลูกตรงตำแหน่งที่ตอกแก่นฝางเอาไว้
คุณลุงเชื่อว่าในไม้ฝางมีสารอยู่ชนิดหนึ่ง ที่ช่วยต้นขนุนติดดอกออกผลได้ และเคยทดลองนำไม้เสียบลูกชิ้น และไม้ชนิดอื่น ๆ มาตอกในต้นขนุน แต่ก็ไม่ได้ผล ส่วนทางวิชาการ ยังไม่มีการศึกษาถึงเรื่องนี้ แต่สันนิษฐานว่าวิธีการนี้ เป็นการกระตุ้นให้ต้นขนุน ติดดอกออกผล โดยตัดท่อน้ำ-ท่ออาหารที่ไปเลี้ยงลำต้น ส่วนที่อยู่เหนือรอยแผลขึ้นไปทำให้ตาขนุนแตก ฉะนั้นจึงสามารถบังคับให้ต้นขนุนออกดอกได้ตามต้องการ
อ้างอิง kasetorganic.com