data-ad-format="autorelaxed">
ราคายางพาราในช่วงมีนาคม 58 นี้ อยู่ที่ตัวเลขราวๆ 50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งที่ผ่านมาในอดีต ยางพาราราเคยมีราคาแตะกิโลกรัมละ 120 บาทเลยทีเดียว ซึ่งนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ทำให้ทั้งเจ้าของสวนยาง ผู้รับจ้างกรีดยาง กิจการรับซื้อยาง ฯลฯ ต่างก็ทำกำไรจนเรียกได้ว่าร่ำรวย หรือมั่งมีกับการทำสวนยางพารา และเมื่อเทียบกับพืชเศษฐกิจอื่นๆแล้ว ยางพารานับได้ว่าเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้
ราคายางพารา จะกลับมาสูงถึง 120-140 บาทต่อกิโลกรัมได้หรือไม่?
มีโอกาสมากน้อยเพียงไร ที่ราคายางพาราจะกลับมาสูงขึ้น เป็นคำถามที่ทั้งชาวสวนยางจำนวนมากรอคอยคำตอบ และผู้คนอีกจำนวนไม่น้อย ที่อยากจะเป็นเจ้าของสวนยางพารา หรืออยากจะปลูกไว้ เพื่อรอเก็บเกี่ยวผลผลิตในอีก 7 ปีข้างหน้า คงเป็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้คำตอบ ว่าจากวันนี้ไป นับไปอีก 7 ปี ราคายางพาราจะขึ้นสูงกว่านี้หรือไม่, 7 ปี เปิดกรีดได้แล้ว กรีดได้ต่อไปอีกนับสิบสิบปี จะได้ราคาดีอย่างที่ตั้งใจไว้หรือไม่
ปัจจัยอะไรบ้าง กระทบต่อราคายางพารา?
ยางพาราทางภาคอิสานเริ่มเปิดกรีดได้แล้ว ส่งผลให้ราคาลดลง
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เคยได้รับการผลักดันจากภาครัฐ อาทิเช่นโครงการกล้ายางล้านต้น และโครงการอื่นๆในอดีต รวมถึงบรรดากลุ่มทุนต่างๆ และเกษตรกรก็ปลูกตามๆกัน ส่งผลให้ปัจจุบัน ทางภาคอิสานของประเทศไทย มียางพาราที่เริ่มเปิดกรีดได้แล้ว โรงงานก็เริ่มย้ายไปลงทุนทางภาคอิสานเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเมื่อเทียบกับทางภาคใต้แล้ว พื้นที่ปลูกยางพาราทางอิสานมีมากกว่าหลายเท่า ถึงแม้ปริมาณน้ำยางพาราที่กรีดได้ต่อต้น จะไม่มากเท่ากับทางภาคใต้ แต่ด้วยปริมาณพื้นที่ปลูกที่มาก จึงคาดการณ์ได้ว่า ปริมาณการซื้อขายยางพารา จะเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆในทางภาคอิสาน และด้วยการผลิตน้ำยางได้มากกว่าเดิมในประเทศนี้ ส่งผลให้ราคายางพาราลดต่ำลง
ราคายางพารามีแค่ทรงกับทรุด!
จะจริงหรือไม่ว่าราคายางพาราเป็นไปได้ยากที่จะปรับตัวสูงขึ้น นั้บจากปัจจุบันไปถึงอนาคต ยางที่ประเทศจีน และเวียดนามเริ่มเปิดกรีดแล้ว มีข่าวว่ากลุ่มทุนได้ลงทุนปลูกยางพาราทั้งในประเทศจีน และประเทศเวียดนาม แต่ละรายปลูกนับแสนไร่ เล็กลงมาหน่อยก็นับหมื่นไร่ เมื่อมีประเทศคู่แข่งในการผลิตและจำหน่ายยางพาราเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือจากคู่แข่งที่มีอยู่เดิม อีกทั้งคู่แข่งใหม่นี้ มีทุนสูงกว่า ทำงานได้มีประสิทธิผลกว่า ในต้นทุนการผลิตต่อไร่ที่ต่ำกว่า และลงทุนในรูปแบบบริษัท/องค์กร ในราคายางพาราที่เท่ากัน ทำให้คู่แข่งทำกำไรได้มากกว่า
ราคายางพารา ไม่ได้อิงกับราคาภายในประเทศเพียงอย่างเดียว จึงไม่ใช่สิ่งที่ภาครัฐจะเข้ามาช่วยได้โดยตรง อาจทำได้แค่เพียงเยียวยา หรือในลักษณะพยุงราคาได้ในระยะสั้น
ราคายางพาราล่วงหน้า AFET ลงอย่างต่อเนื่อง
ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า แสดงให้เห็นแล้วว่า ราคายางพารายังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ อนาคตไม่มีใครทราบ รอกันต่อไป แต่หากจีนเลิกนำเข้ายางพาราจากไทย ก็คงมองเห็นอนาคตได้ไม่ยาก
อนาคตระยะยาว ยางพาราไทยวิ่งเข้าสู่ทางตัน
เป็นปลูกยางพาราและทำเป็นเพียงวัตถุดิบเพื่อส่งขาย หรือส่งออกเท่านั้น ไม่ได้มีอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นสินค้าที่พร้อมใช้งาน และยังมีพื้นที่ปลูกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ได้สนใจว่าชาวโลกเขาไปถึงไหนกันแล้ว สำหรับท่านที่คิดจะซื้อที่ดินปลูกยางพารา คิดแล้วคิดอีก มองให้ดีๆก่อนตัดสินใจลงทุน
แล้วในทัศนคติของคุณล่ะ? ราคายางพาราไทยจะเป็นอย่างไร จะไปรอดหรือไม่ในอนาคต?
[ขอบคุณรูปจาก google]