ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: พุทธศึกษา | อ่านแล้ว 8759 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

นิกายเซ็น (Zen)

นิกายเซ็น คือนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา อยู่ในฝ่ายมหายาน แต่มีความคล้ายคลึงกับเถรวาทในสายพระป่า ไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์..

data-ad-format="autorelaxed">

พุทธศาสนา นิกายเซ็น ZEN

 

นิกายเซ็น(Zen)

คือนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา อยู่ในฝ่ายมหายาน แต่มีความคล้ายคลึงกับเถรวาทในสายพระป่า เซ็นไม่นิยมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ เซ็นจะเน้นการฝึกปฏิบัติ ฝึกการใช้ปัญญา และสมาธิ เพื่อให้ เกิดพุทธิปัญญาจนเข้าใจหลักธรรมด้วยตนเอง จุดมุ่งหมายของเซ็น คือการตระหนักรู้ในพุทธภาวะ การบรรลุธรรมในแบบเซ็นจะเรียกว่า "ซาโตริ" หรือภาวะรู้แจ้ง ซึ่งเป็นภาวะที่ อวิชชา ตัณหา อุปทาน มลายหายไปสิ้น เมื่อบรรลุแล้วก็จะเข้าสู่ความหลุดพ้น ทุกสิ่งกลายเป็นสุญญตา หรือ "ความว่าง" ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น แม้แต่พระนิพพาน จุดเด่นอีกประการหนึ่งของเซ็นคือการไม่ยึดติดในรูปแบบพิธีกรรม หรือแม้แต่พระไตรปิฎก เซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ได้อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ด้วนปริยัติ เพราะตัวอักษรหรือภาษามีข้อจำกัด ไม่สามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งหมดได้ และการหลุดพ้นในแบบเซ็น ก็ไม่ต้องมีขั้นตอน ไม่จำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาตามลำดับมาเลย ใครก็ตามที่ตระหนักรู้แก่นแท้ข้องจิตใจตน ก็บรรลุเป็นอรหันต์ได้เลย


stevejobs and zen

ด้วยความที่ เซ็น เป็นนิกายที่ส่งผ่านปรัชญาการดำเนินชีวิตที่นำไปใช้ได้จริงสู่ผู้ปฏิบัติอย่างถึงแก่นและเป็นธรรมชาติ ไม่ได้อิงกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือคัมภีร์ แต่เน้นให้ใช้ปัญญา เพื่อให้เห็นสัจจธรรมด้วยตนเอง เซ็นจึงเป็น ธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆตัวเรา ผู้ศึกษาเซนจึงไม่จำกัดว่าจะเป็นคนศาสนาไหน ทำให้มีการศึกษาเซ็นอย่างกว้างขวาง ทั้งในหมู่ชาวพุทธ คริสต์ และ อิสลาม ปัจจุบันเซ็นได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งในจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป อเมริกา สำหรับในประเทศไทยของเรา ก็มีพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงให้ความสนใจเซ็น เช่น ท่าน พุทธทาสภิกขุ ท่าน ว. วชิระเมธี เป็นต้น


พุทธทาส

การปฏิบัติเซ็น

วิธีการปฏิบัติเซ็น แบ่งได้เป็น 3 ประการคือ

ซาเซ็น (Zazen) หมายถึงการนั่งสมาธิอย่างสงบและเพ่งสมาธิ

ซันเซ็น (Sanzen) หรือ วิธีการแห่งโกอัน โกอัน หมายถึง เอกสารข้อมูลที่รับรู้กันโดยทั่วไป (public document) มักจะเป็นเรื่องราวของอาจารย์เซ็นในอดีต หรือบทสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ มักเป็นปริศนาธรรม ใช้เป็นเครื่องมือทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อที่จะช่วยนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความเป็นจริงแห่งเซ็น


ม็อนโด (Mondo) คือการถามและการตอบอย่างอย่างทันทีทันใด โดยไม่ใช้ระบบความคิดหรือเหตุผลไตร่ตรองว่าเป็นคำตอบที่ดีหรือไม่ อาจารย์จะเป็นผู้ตั้งคำถามและพิจารณาคำตอบที่ลูกศิษย์ตอบในขณะนั้น


ประวัติของนิกายเซน

พระมหากัสสป

ความเป็นมาของนิกายได้ท้าวความไปถึงครั้งพุทธกาล คือ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางธรรมสภา โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่พระมหากัสสปนั่งยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า กัสสป ตถาคตมีธรรมจักษุได้ และนิพพานจิต ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้ และได้มอบบาตรและจีวรให้พระมหากัสสป เซ็นจึงเคารพพระกัสสปว่า ผู้ให้กำเนิดนิกาย


พระอานนท์

เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 2 ของนิกายเซน สำหรับพระอานนท์นี้ มีตำนานเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระอานนท์ผู้มีความจำเป็นเลิศ และเป็นผู้ได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามากกว่าผู้ใด ยังเป็นพระโสดาบัน ไม่ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่มีภาระกิจจะต้องเข้าร่วมสังคายนาพระไตรปิฏก จึงได้เร่งบำเบ็ญเพียรปฏิบัติธรรมอย่างหนักเพื่อให้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งอ่อนล้า และล้มตัวลงนอน จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนนั้นเอง หลังจากที่ การสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลงแล้ว พระมหากัสสปจึงได้มอบบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าให้แก่พระอานนท์


พระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ)

ต่อมาเซ็นได้มีการสืบต่อไปอีก 28 องค์ โดยแต่ละช่วงที่รับสืบทอด ก็จะได้รับบาตรและจีวรของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์ของสังฆปรินายก สืบต่อกันมาจนถึงพระโพธิธรรม (ตั๊กม้อ) "พระโพธิธรรม" เดิมเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพระเจ้าแผ่นดิน แคว้นคันธารราช ประเทศอินเดีย หลังจากที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ก็เดินทางจากอินเดียเข้าสู่ประเทศจีน และได้สถาปนาเซ็นขึ้น ในประเทศจีน ช่วงเวลานั้น แม้ในประเทศจีนจะมีพระพุทธศาสนาสถาปนาขึ้นแล้ว แต่พุทธบริษัททั้งหลายปฏิบัติธรรมกันแต่เพียงผิวเผิน การสวดมนต์ภาวนา ศึกษาธรรม ก็มิได้ทำอย่างจริงจังกระทั่งเล่าเรียนพระไตรปิฎก ก็หวังเพียงประดับความรู้ หรือไม่ก็ใช้เป็นข้อถกเถียงเพื่ออวดภูมิปัญญา


ครั้งหนึ่ง พระเจ้าเหลียงบู้ตี๊ พระองค์ทรงเลื่อมใสศรัทธาพุทธศาสนามาก ทรงถือศีลกินเจอยู่เป็นประจำ เมื่อข่าวการมาถึงของพระอาจารย์ตั๊กม๊อถูกรายงานไปยังราชสำนัก พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงปิติยินดี ยิ่งจึงได้มีพระกระแสรับสั่งให้อาราธนาเข้าเฝ้าทันที ในปีนั้นเองพระอาจารย์ตั๊กม๊อได้รับนิมนต์จากพระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ไปยังนานกิงนครหลวงเพื่อถกปัญหาธรรม


พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ได้ตรัสถามพระอาจารย์ตั๊กม๊อว่า
"ตั้งแต่ข้าพเจ้าครองราชย์มา ได้สร้างวัดวาอาราม โบสถ์วิหาร และพระคัมภีร์มากมาย อีกทั้งอนุญาตให้ผู้คนได้บวช โปรยทาน ถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ตลอดจนทะนุบำรุงพระศาสนามากมาย ไม่ทราบว่าจะได้รับบุญมากน้อยเพียงใด? "


พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า
"ไม่ได้เลย"


พระเจ้าเหลี่ยงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
"อริยสัจ คืออะไร? "


พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่มี"


พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงตรัสถามอีกว่า
"เบื้องหน้าข้าพเจ้านี้ คือใคร?"


พระอาจารย์ตั๊กม๊อ ตอบว่า "ไม่รู้จัก"


พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ทรงได้ยินคำตอบเช่นนั้น ไม่ค่อยพอพระทัย


พระอาจารย์ตั๊กม๊อ เห็นว่า พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ทรงสั่งสมภูมิปัญญายังไม่แก่กล้าพอที่จะบรรลุได้ จึงทูลลาจากไป

 


เว่ยหลาง

ท่านเว่ยหลาง หรือในภาษีจีนกลาง "ฮุ่ยหนิง" เป็นสังฆปรินายกองค์ที่ 6 พื้นเพเป็นชาวมณฑลกว่างตง
บิดาเป็นชาวเมือง ฟั่นหยาง ถูกถอดออกจากราชการและได้รับโทษเนรเทศไปอยู่เมืองซินโจวและถึงแก่กรรมขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงยังเล็กๆอยู่ สองแม่ลูกพากันโยกย้ายไปอยู่กว่างโจว


ท่านฮุ่ยเหนิงประกอบอาชีพตัดฟืนไปขายเพื่อเลี้ยงดูมารดา


เว่ยหลาง
วันหนึ่งขณะที่นำฟืนไปส่งให้แก่เจ้าจำนำรายหนึ่งในตลาดพลันก็ได้ยินเสียงสวดมนต์ของชายคนหนึ่งอยู่ที่หน้าร้าน ซึ่งท่านฮุ่ยเหนิงเอาฟืนไปส่งนั่นเอง


ชายคนนั้นสาธยายมนต์มาถึงถ้อยคำที่ว่า
"พึงทำจิตมิให้มีความยึดถือผูกพันในทุกสภาวะ"


เมื่อได้ยินถ้อยคำเช่นนี้จิตใจของท่านฮุ่ยเหนิงก็สว่างโพลงในพุทธธรรม จึงถามชายคนนั้นว่า
"ท่านกำลังสวดอะไร"
"เรากำลังสวดวัชรสูตร"
"ท่านไปเรียนมาจากที่ไหน"
"เราเรียนมาจากท่านอาาจารย์หงเหย่น แห่งวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมย เมืองฉีโจว ท่านมีศิษย์อยู่เป็นพันๆ คน โดยสั่งสอนให้ศิษย์ทั้งหลายบริกรรมพระสูตรนี้ เพื่อจักได้ค้นพบธรรมญาณแห่งตนและเข้าถึงความป็นพุทธะ"


ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงกำลังซักไซร้ เรื่องราวด้วยความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเดินทางไปเฝ้าพระอาจารย์หงเหย่น เพื่อเรียนพรระสูตรนี้ท่านมีความตั้งใจแน่วแน่มากจนชายใจบุญผู้อารีอยากสนับสนุนจึงให้เงินท่านฮุ่ยเหนิง 10 ตำลึงเพื่อนำไปให้มารดาไว้ใช้สอย ขณะที่ท่านฮุ่ยเหนิงไม่อยู่ และหลังจากที่ได้จัดแจงให้มีผู้ดูแลมารดาแล้วท่านก็มุ่งหน้าเดินทางไปยังวัดตงฉัน ตำบลหวงเหมยทันที ใช้เวลาเกือบสามสิบวันจึงถึงจุดหมาย
เมื่อเข้าไปนมัสการพระอาจารย์หงเหยิ่น ท่านก็ถามว่า
"เจ้ามาจากไหนหรือ และต้องการอะไร"
"กระผมเป็นคนเมืองซินโจว มณฑลกว่างตง กระผมต้องการมากราบท่านอาจารย์และต้องการหาหนทางความเป็นธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะเท่านั้น นอกจากนี้แล้วกระผมไม่ต้องการอะไรเลย"
"เธอเป็นชาวกว่างตงหรือ เป็นคนป่าคนดงยังจะหวังเป็นพุทธะได้ยังไงกัน"
"ทิศเหนือทิศใต้เป็นเพียงแบ่งทิศทาง แต่หาได้แบ่งแยกความเป็นพุทธะไม่กระผมแตกต่างไปจากท่านอาจารย์ก็ตรงที่ร่างกายเท่านั้นแต่ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะไม่แตกต่างกันเลย"


ท่านสังฆปริณายกรู้ทันทีว่าเด็กหนุ่มบ้านอกคนนี้ ได้รู้สัจธรรมระดับหนึ่งแล้วแต่เพื่อมิให้เป็นภัยแก่เขา จึงแสร้งดุให้เขาเงียบเสียง แล้วให้ไปช่วยทำงานในครัว


วันหนึ่งท่านอาจารย์เรียกประชุมศิษย์ทั้งหมด ให้แต่ละคนเขียน "โศลก" บรรยายธรรมคนละบทเพื่อทดสอบภูมิธรรม "ชินเชา (ชินชิ่ว)" หัวหน้าศิษย์ เป็นผู้ที่ใคร ๆ ยกย่องว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมะอย่างลึกซึ้งกว่าคนอื่น และมีหวังจะได้รับมอบบาตรและจีวรจากท่านอาจารย์แน่ ๆ ได้แต่งโศลกบทหนึ่ง เขียนไว้ที่ผนังว่า


"กาย คือต้นโพธิ์
ใจ คือกระจกเงาใส
จงหมั่นเช็ดถูเป็นนิตย์
อย่าปล่อยให้ฝุ่นละอองจับ"


ท่านอาจารย์อ่านโศลกของชินเชาแล้ว ชมเชยต่อหน้าศิษย์ทั้งหลายว่าเป็นผู้เข้าใจธรรมอย่างลึกซึ่ง (แต่ตอนกลางคืนเรียกเธอเข้าไปพบตามลำพังบอกว่าชินเชา "ยังไม่ถึง" ให้พยายามต่อไป) เว่ยหล่างได้ฟังโศลกของหัวหน้าศิษย์แล้ว มีความรู้สึกเป็นส่วนตัวว่า ผู้แต่โศลกยังเข้าใจไม่ลึกซึ้ง จึงแต่โศลกแก้ เสร็จแล้ววานให้เพื่อนช่วยเขียนให้ เพราะเว่ยหล่างอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ โศลกบทนั้นมีความว่า


"เดิมที ไม่มีต้นโพธิ์
ไม่มีกระจกเงาใส
เมื่อทุกอย่างว่างเปล่าตั้งแต่ต้น
ฝุ่นละอองจะลงจับอะไร"


ท่านอาจารย์รู้ทันทีว่า ผู้เขียนโศลกเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมสูงสุดแล้ว จึงถามใครเป็นคนแต่ง พอทราบว่าเว่ยหล่างเด็กบ้านนอกแต่ง จึงสั่งให้ลบทิ้ง พร้อมดุด่าต่อหน้าศิษย์อื่นๆ ว่า หนังสือยังอ่านไม่ออกสะเออะจะมาเขียนโศลก แต่พอคล้อยหลังศิษย์อื่น ท่านอาจารย์เรียกเว่ยหล่างเข้าพบมอบบาตรและจีวรให้ (มอบตำแหน่ง) แล้วสั่งให้รีบหนีไปกลางดึก

 


รินไซเซน

รินไซเซนเป็นเซนหนึ่งในห้าสายหลักของเซนสายใต้ ปรมาจารย์ของเซนสายนี้คือท่าน หลินจิ อี้เสวียน ท่านเป็นศิษย์ของปรมาจารย์ ฮวงโป ซนสายนี้รุ่งเรืองทั้งในและนอกประเทศจีน ในญี่ปุ่น ท่านเมียวอัน เออิไซ เป็นผู้นำเข้าไปเผยแผ่ ในญี่ปุ่น ในราวปีค.ศ. 1191 ท่านติช นัท ฮันห์ ปรมาจารย์เซนยุคปัจจุบัน ชาวเวียดนาม ก็เป็นหนึ่งในผู้สืบทอดเซนสายนี้ เซนสายนี้มีลักษณะเด่นคือ มีการใช้การตวาด การฟาดตี หรือคำพูดที่รุนแรง ในการกระตุ้นให้ผู้ศึกษาบรรลุธรรมอย่างฉับพลัน จนมีคำกล่าวในญี่ปุ่นว่า เซนสายรินไซ เป็นเซนสำหรับ โชกุน ส่วนเซนสายโซโต ซึ่งนุ่มนวลกว่า เป็นเซนสำหรับชาวบ้าน


การบรรลุธรรมของท่านรินไซ

ท่านรินไซได้ไปเป็นศิษย์ของท่านฮวงโปอยู่ 3 ปี ได้ศึกษาพระธรรมวินัยและข้อปฏิบัติอย่างเคร่งครัด วันหนึ่งเพื่อนของท่านให้ไปถามท่านอาจารย์ฮวงโปว่า


"แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออะไร ?"


คำตอบที่ท่านได้รับก็คือ ถูกท่านฮวงโปตีด้วยไม้เท้า 3 ทีโดยไม่อธิบายอะไรเลย ท่านรินไซน้อยใจจึงคิดจะลาไปยังสำนักอื่น ท่านฮวงโปจึงแนะนำให้ไปหาพระอาจารย์ต้ายู้ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำเคาอัน ท่านต้ายู้พอทราบเรื่องราวทั้งหมด จึงบอกกับท่านรินไซว่า


"ที่ท่านฮวงโปตีเจ้านั้น ก็เพื่อปลดเปลื้องเจ้าให้ออกจากความทุกข์ต่างหากเล่า"


ท่านรินไซพิจารณาแล้วก็รู้แจ้งว่า


"พุทธธรรมนั้น น้อยนิดยิ่งนัก ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำใจไม่ให้เป็นทุกข์เท่านั้น"


ไม่มีความทุกข์เหลืออยู่อีกเลยเพราะหยุดคิดปรุงแต่งด้วยกิเลสเสียแล้ว ท่านได้กลับไปหาท่านฮวงโปอีกครั้ง และเล่าให้ฟังถึงการสนทนาธรรมและสิ่งที่ท่านได้รับจากท่านต้ายู้ ท่านอาจารย์ฮวงโป จึงคิดจะทดลองดูว่า ศิษย์รู้แจ้งในธรรมจริงแท้แค่ไหน จึงกล่าวว่า


"เจ้าต้ายู้นี่มันเพ้อเจ้อเหลือเกิน มาคราวหน้าถ้าพบกันอีกต้องตีเสียให้เข็ด"


"จะรอถึงคราวหน้าทำไม ทำไมไม่ตีเสียเลยคราวนี้"


ท่านรินไซกล่าวตอบ ว่าแล้วท่านก็ตบหน้าท่านฮวงโปฉาดใหญ่ ความปล่อยวางเกิดขึ้นในขณะเดียวกันทั้งศิษย์และอาจารย์ ท่านฮวงโปเพียงแต่พูดว่า


"เจ้าบ้าคนนี้ มันกำลังลูบหนวดเสือ"

 

บทสรุป

จะเห็นได้ว่านิกายเซ็นเป็นนิกายที่เร็วและแรง เน้นการบรรลุธรรมแบบฉับพลัน มีโกอานท้าทายดึงดูดผู้มีปัญญา มาไขปริศนาธรรม เพื่อฝึกฝนวิธีคิดแบบอริยะ ทำลายความคิดทางตรรกะ เพื่อให้เห็นสัจธรรม เซ็นจึงพุ่งตรงไปที่แก่นของพุทธศาสนา เป็นนิกายที่เน้นให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึงประสบการณ์ของสภาวะธรรม และ สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นธรรมชาติ ที่สุด มิใช่แต่เพียงท่องจำ แล้วนำไปใช้แบบฝืนธรรมชาติ การศึกษาเซ็น จำเป็นต้องละทิ้งความยึดมั่นถือมั่นไปเสียก่อน แม้แต่การยึดมั่นถือมั่นใน พระไตรปิฎก หรือ แม้แต่พระพุทธเจ้า ดังภาพวาดอันโด่งดังของท่านเว่ยหลาง ที่กำลังฉีกคัมภีร์ อยู่ ส่วนคำสอนของลูกศิษย์ของท่าน ไปไกลยิ่งกว่านั้นเสียอีก ท่านว่าไงน่ะหรือ "พบพระพุทธเจ้าบนนถนน ... จงฆ่าเสีย" มีใครไขปริศนาธรรมข้อนี้ได้ไหมครับ ?


ด้วยความศรัทธาในวิถีแห่งเซ็น เว็บไซต์แห่งนี้จึงได้รวบรวมโกอัน หรือ นิทานเซน เข้าไว้ด้วยกัน บางเรื่อก็แปลมาจากเว็บภาษาอังกฤษ บางเรื่องก็ยกที่เขาแปลไว้แล้วมานำเสนอ พร้อมกับคลิปประกอบที่เกี่ยวข้องให้เพื่อนๆดูกันเพลินๆ ให้เกิดปัญญา สวัสดีครับ

 


อ้างอิง : sudoku.in.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 8759 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [พุทธศึกษา]:
หมาตัวหนึ่ง คันไปทั้งตัว ไปนอนที่ไหนก็คัน มันด่าสถานที่ว่าไม่ดี มันไม่รู้ว่ามันเป็นขี้เรื้อน
หมาตัวนี้ คอยแต่ตำหนิสถานที่ว่าไม่ดี ไม่ได้ดั่งใจตัวเองสักอย่าง นอนที่ไหนก็ไม่หายคัน สถานที่เหล่านั้นช่างสกปรกสิ้นดี..
อ่านแล้ว: 7190
การไม่แย่งแข่งขัน : วิถีแห่งเซน
การไม่แย่งแข่งขัน - ยอมงอจึงกลับตรงได้ ยอมว่างเปล่าจึงเต็มได้ ผู้มีน้อยก็จะได้รับ ผู้มีมากจะถูกลดทอน ยอมเก่าจึงกลับใหม่
อ่านแล้ว: 7879
พระกับขอทาน : นิทานเซน
พระกับขอทาน - ขอทานคนหนึ่งมีแขนข้างเดียว และอีกคนหนึ่งมีอวัยวะครบสมบูรณ์ มาขอทาน พระท่านจะปฏิบัติต่อแต่ละคนเหมือนกันไหม?
อ่านแล้ว: 7138
แก้ปมเลือดไหลเป็นพระธาตุ
แก้ปมเลือดไหลเป็นพระธาตุ - อาจารย์มก. โชว์ผล Lab ยืนยันเป็น Polymer ส่วนภิกษุอวดอ้างแสดงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นอาบัติ
อ่านแล้ว: 7798
ตั๊กม้อ หรือ พระโพธิธรรม หรือ ตะโม ภิกขุ กันแน่?
ตั๊กม้อ - เจ้าอาวาสคนแรกของ วัดเส้าหลิน และเป็นผู้ให้กำเนิด กังฟูเส้าหลิน ผู้นำพุทธศาสนานิกาย เซน มาปฏิสนธิในแผ่นดินจีน
อ่านแล้ว: 9262
ปาฏิหาริย์ของท่านอิ๊กคิว
วันหนึ่งท่านอิ๊กคิวกำลังโดยสารเรือข้ามฝาก โยโดโนะ คาวาเสะ เพื่อจะไปยังเมืองซะไก ในเรือก็มีพระนักบวชวัดป่านิกายหนึ่ง..
อ่านแล้ว: 8318
เมื่อหาพระบรมธาตุไม่ได้ เผาพระพุทธรูปสักอีก ๒ - ๓ องค์
ที่เผาพระพุทธรูปก็เพราะต้องการหาพระบรมธาตุ - พระพุทธรูปไม้จะเอาพระบรมธาตุมาแต่ไหน? เมื่อหาพระบรมธาตุไม่ได้ ก็ให้เผาพระ..
อ่านแล้ว: 8641
หมวด พุทธศึกษา ทั้งหมด >>