data-ad-format="autorelaxed">
บุญฟั้งไฟ เป็นประเพณีของเรา ชาวไทยอีสาน รวมไปถึงประเทศลาว ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านที่น่ารักและสนิทสนมกับไทยเรามาช้านาน เรียกได้ว่า เป็นบ้านพี่เมืองน้อง
งานประเพณีบุญบั้งไฟนั้น มีตำนานมาจากนิทานพื้นบ้านของภาคอีสานเรื่องพระยาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นเพื่อเป็นการบูชา พระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่ง ชาวบ้านมีความเชื่อว่า พระยาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้ ช่วงเวลาของประเพณีบุญบั้งไฟคือเดือนหกหรือพฤษภาคมของทุกปี : ข้อมูลวรรคนี้ อ้างอิง wikipedia.
งานบุญบั้งไฟนั้น เป็นขนบธรรมเนียม ประเพณีที่ดี ของชาวอิสาน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงมิถุนายนของทุกๆปี หากเราขับรถผ่านตามจังหวัดต่างๆในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย เราจะได้เห็นภาพรถยนต์ รถมอเตอร์ไซต์ จอดกันมันจำนวนมากๆ บริเวณสองข้างถนน หากเรามองหาดีๆ บริเวณใกล้เคียงที่มีรถจอดนั้น จะต้องมีลานกว้าง และมีผู้คนจำนวนมาก และจะเห็นโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายฐานยิงจรวด ใช้เพื่อเป็นฐานสำหรับปล่อยบั้งไฟ ทั้งใหญ่เล็ก ให้ทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า
งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีที่ดีงาม ที่ทำสืบต่อกันมาหลายชั่วคน สร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน เป็นกิจกรรมที่ทำให้คนทั้งในหมู่บ้าน และคนที่ที่ไกลๆได้พบปะ รู้จัก และสนิทสนมกัน เนื่องจากมีความท้าทาย และสนุกสนาน และหลายๆคนที่ชอบงานบุญบั้งไฟนี้ จะเดินทาง ไปยังสถานที่ต่างๆ ที่มีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ แม้ว่าจะอยู่ไกลสักเพียงใด เป็นเหตุให้ได้รู้จักเป็นเพื่อนฝูงกัน นี่เป็นกุศโลบายที่ดีงาม ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
แต่ดั้งเดิม บั้งไฟ ไม่ได้ทำกันให้มีขนาดใหญ่ และยิงขึ้นสูงเหมือนเท่าทุกวันนี้ จึงไม่ค่อยมีอันตราย หรืออุบัติเหตุที่สร้างความเศร้าใจ แก่ผู้เคราะห์ร้ายเกิดขึ้น แต่เนื่องด้วยความนิยม และการแข่งขัน และการพนันขันต่อ จึงได้มีการสร้างและพัฒนาบั้งไฟ ให้มีขนาดใหญ่ และมีกำลังส่งแรง มีความสามารถที่จะทยานขึ้นสู่ท้องฟ้า และใครก็ตาม ที่สามารถส่งบั้งไฟ ขึ้นไปได้สูงสุด จะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน
บั้งไฟ ในปัจจุบัน จึงมีลักษณะ และความสามารถในการทำลายเข้าใกล้ขีปนาวุธไปทุกที ทำให้เราได้เห็นข่าวบั้งไฟตกใส่บ้านพักอาศัยจนเกิดความเสียหาย ตกใส่รถยนต์จนพังยับเยิน หรือตกใส่ผู้คน เป็นเหตุให้บาดเจ็บล้มตาย ปัจจุบัน ก็เป็นคดีการกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
สาเหตุนี้เนื่องมาจาก หลากหลายคนที่ทำบั้งไฟ มีทั้งผู้ที่มีความรู้ และเชี่ยวชาญ อาจจะถึงขั้นบังคับจุดที่บั้งไฟจะตกได้ หรือบางครั้ง เมื่อตอนตกลงมา ก็มีร่มกลาง ให้หล่นลงมาช้าๆ หากผู้ผลิต หรือผู้ทำบั้งไฟ มีความเชี่ยวชาญ และมีความรับผิดชอบเช่นนี้ ก็จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม และประเพณีที่ดีงามสืบไป
แต่สำหรับผู้ทำบั้งไฟหลายๆคน ที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ไม่เห็นความสำคัญต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่น ทำบั้งไฟขนาดใหญ่ ที่มีขีดความสามารถในการทำลาย หรือก่อความเสียหายได้สูง แต่มีความสามารถเฉพาะที่จะส่งขึ้นไป แต่ไม่รับผิดชอบถึงการควบคุมเวลาตกลงมา อันนี้ ก็จะเป็นการทำลายงานบุญประเพณีที่ดีงาม ที่คนดีๆ เฝ้าพยายามสืบทอดกันมา จนถึงวันนี้ ให้กลายเป็นงานบาป ด้วยความไม่รู้ หรือโดยขาดความรับผิดชอบต่อสังคมก็แล้วแต่ อันนี้เป็นสิ่งที่ไม่ดี
เคยได้ข่าวว่า หลายๆครั้ง นักบินต้องหักหลบบั้งไฟอย่างกระทันหัน หากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับสายการบิน จะยิ่งทวีความสูญเสียอันใหญ่หลวงได้
จึงฝากวอนไปยังผู้ที่มีความเกี่ยวข้อง ให้ศึกษาการที่อนุรักษ์งานบุญประเพณีดีๆเช่นนี้ ให้คงอยู่กับเมืองไทยเราตลอดไป และหาวิธีควบคุม หรือรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน ยกตัวอย่างเช่น อาจจะต้องมีการออกใบอนุญาติผลิตบั้งไฟ ให้ผู้ผลิตต้องมาสอบ เพื่อขอใบอนุญาติ และกำหนดมาตรฐานส่วนประกอบบั้งไฟ ว่าต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ต้องมีการกางร่มลงหรือไม่ ซึ่งฟังดูเหมือนเรื่องตลก แต่ช่วยชีวิตคนได้จริง เราต้องให้ความสำคัญต่อชีวิตของคนทุกคน เพราะคนคือสมบัติของชาติ การรักษาชีวิตคน คือบุญอันใหญ่หลวง