data-ad-format="autorelaxed">
ลักษณะโดยทั่วไปของมันสำปะหลัง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Manihot esculenta (L.) Crantz
วงค์: Euphorbiaceae ชื่อสามัญ: Cassava Root, Tapioca ชื่ออื่นๆ ภาคเหนือ: ต้าวน้อย, ต้าวบาน ภาคกลาง: มันสำโรง, มันสำปะหลัง ภาคใต้: มันต้น, มันไม้ พังงา: มันหิ่ว | | |
ชนิดของมันสำปะหลัง
ชนิดหวาน
เป็นมันที่ใช้สำหรับบริโภค มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมและสามารถใช้ทำอาหารได้โดยตรง ได้แก่
- พันธุ์ห้านาที
- พันธุ์ระยอง 2
ชนิดขม
มีรสขม มีปริมาณกรดโอโดรไซยานิคสูง ต้องนำไปแปรรูปก่อนที่จะนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่
- พันธุ์ระยอง 1, 3, 5, 60 และ 90
- พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
- พันธุ์ห้วยบง 60
การสังเกตุพันธุ์มันสำปะหลังในเบื้องต้น
ให้สังเกตุในส่วนของก้านใบ พันธุ์ระยองนั้นก้านใบจะมีสีแดง ในส่วนของเกษตรศาสตร์จะมีก้านใบสีเขียวอ่อนหรือสีขาว และห้วยบงจะมีก้านสองสี เนื่องจากห้วยบงเป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์ระยอง กับพันธุ์เกษตรศาสตร์
การเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง
แบ่งเป็น 5 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1. ระยะท่อนพันธุ์งอกและตั้งตัว อยู่ในช่วงระยะเวลา 2-3 สัปดาห์หลังปลูกระยะที่ 2. ระยะพัฒนาทรงพุ่ม เป็นระยะที่เริ่มแตกกิ่งก้านและสร้างใบ เริ่มต้นตั้งแต่เดือนที่ 2
ระยะที่ 3. ระยะพัฒนารากและสะสมอาหาร ระยะนี้มันสำปะหลังจะลำเลียงแป้งไปสะสมไว้ที่หัว ตั้งแต่เดือนที่ 3 เป็นต้นไป
ระยะที่ 4. ระยะพักตัว เป็นช่วงที่มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติมโต และมีการทิ้งใบ หลังจากเดือนที่ 14ระยะที่ 5. ระยะฟื้นตัว มันสำปะหลังจะนำเอาอาหารจากหัวขึ้นมาสร้างใบใหม่การปลูกมันสำปะหลังเราจะไม่ปล่อยให้เลยไปจนถึงระยะที่ 4 ควรขุดขึ้นมาในช่วงอายุ 10 - 14 เดือน
วิธีการปลูกมันสำปะหลัง และเพิ่มผลผลิตต่อไร่สูงสุด
1. การเตรียมดิน
ต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุดเนื่องจากมันสะปะหลังเป็นพืชที่ปลูกเพื่อเอาหัวที่อยู่ใต้ดิน หากดินแน่นมันสำปะหลังจะเติบโตได้ไม่ดี
ฟาร์มเกษตรแนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ตรานกอินทรีคู่ วันเดอร์สูตรสีดำ เพื่อการรองพื้นในขั้นตอนการไถยกร่อง เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์เม็ดสกัดตรานกอินทรีคู่ อุดมไปด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วน ประกอบด้วยเม็ดปุ๋ยสามชั้น ประกอบด้วยจุลินทรีย์ประสิทธิภาพสูงที่ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินไม่แน่น ประกอบด้วยกรดอะมิโนซึ่งเป็นอาหารที่ให้พืชนำไปใช้ได้ทันที และประกอบด้วยธาตุอาหารปลดปล่อยช้า เพื่อค่อยๆปลดปล่อยธาตุอาหารหล่อเลื้ยงให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีธาตุอาหารรองอีกมากมายที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดและราคา
2. ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง
ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่มีอายุ 8-12 เดือน ขนาดความยาวประมาณ 30-45 เซนติเมตร การตัดท่อนพันธุ์ยาวและปักลงดินครึ่งต่อครึ่ง จะช่วยให้มันสำปะหลังเกิดหัวมากขึ้น และมีการเจริญเติบโตพัฒนาทรงพุ่มได้ดีขึ้น และสามารถเกิดใบคลุมหญ้าได้เร็ว ขจัดปัญหาเรื่องหญ้าโดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้า เนื่องจากยาฆ่าหญ้าจะทำให้มันสำปะหลังชะงักการเติบโตเป็นเวลานาน เมื่อถึงเวลาจะได้มันสำปะหลังหัวไม่โต
กู๊ดโซค ตรานกอินทรีคู่ เป็นน้ำยาจุ่มท่อนพันธุ์มันสำปะหลังประสิทธิภาพสูง ช่วยเร่งรากเพิ่มอาหารในท่อนพันธุ์ ช่วยในการเจริญเติบโตได้เร็วยิ่งขึ้น
3. การปลูก
ให้ปลูกแบบยกร่องระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร ห่างระหว่างร่อง 1 เมตร หากในขั้นตอนการทำรุ่นหญ้าใช้รถไถเล็กเข้าไประหว่างร่อง ให้ขยับความห่างระหว่างร่องเพิ่มขึ้นเป็น 1.20 เมตร การปักท่อนพันธุ์ควรปักลึกลงไปประมาณ 15-20 เซนติเมตร การปลูกมันสำปะหลังนั้น หากเราเว้นระยะระหว่างต้นถี่เกินไป จะส่งผลให้มันสำปะหลังหัวไม่โต เนื่องจากหัวของมันสำปะหลังจะชนกันและหยุดการเจริญเติบโต
4. เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ให้ไถทำรุ่นหญ้าพร้อมกับใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
ใช้ใช้รถไถเล็กเข้าไประหว่างร่องเพื่อจัดการกับหญ้า เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน รวมถึงประยัดต้นทุนการผลิต
ช่วงเดือนที่ 1 ของมันสำปะหลังเป็นระยะพัฒนาทรงพุ่ม แตกกิ่งก้าน ช่วงนี้มันสำปะหลัังต้องการธาตุอาหารที่เป็นไนโตรเจนสูง ในขณะเดียวกันธาตุอาหารรองต่างๆก็ขาดไม่ได้เช่นกัน ฟาร์มเกษตรแนะนำให้ใช้ปุ๋ยเม็ดสกัด เพอร์เฟค-เอส 16-3-3 ตรานกอินทรีคู่กระสอบสีน้ำตาล ที่มีไนโตรเจนสูง นอกจากนั้นยังมีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ดินดีขึ้นในระยะยาว และยังบวกด้วยธาตุอาหารปลดปล่อยช้า ปุ๋ยเม็ดเพอร์เฟค-เอส จึงเป็นปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตเจนสูง และยังช่วยปรับปรุงดิน ไม่ทำให้เกิดปัญหาดินเป็นกรด ซึ่งปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจนสูงทั่วไปตามท้องตลาดมักจะก่อให้เกิดปัญหาดินเป็นกรดในระยะยาว
ปุ๋ย เพอร์เฟค เอส (Perfect S) สูตร 16-3-3 นอกจากมีอาหารหลัก N P K ซึ่งก็คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมแล้ว ก็ประกอบไปด้วย OM หรือ Organic Matter หรือปริมาณอินทรียวัตถุ อีก 10% และประกอบด้วย Si ซิลิกา ที่ช่วยสร้างความแข็งแรงให้ผนังเซลของพืช
คลิกรูปเพื่อดูรายละเอียดและราคา
การฉีดพ่นทางใบช่วงระหว่างเดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 2
การฉีดพ่นทางใบหรือการใช้น้ำทางใบ จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการส่งเสริมให้ต้นมันสำปะหลังแข็งแรง ปลอดโรคและแมลง และยังส่งเสริมใช้มันสำปะปลังมีใบคลุมหญ้าได้เร็วโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้า บูสเตอร์สูตรสีเงิน เป็นสารอินทรีย์บำรุงต้นที่มี Fe และ Zn สูง ทำให้ใบเขียวช่วยให้สังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น ทำให้ลำต้นแข็งแรงยากต่อการเข้าทำลายกัดเจาะของแมลง และเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับมันสำปะหลัง ผสมกับปุ๋ยน้ำ นาโนอะมิโน ซึ่งมีคุณสมบัติเร่งการแตกยอด และเพิ่มความกว้างของใบ
คลิกรูปเพื่อดูรายละเอียดและราคา
5. ช่วง 3-6 เดือนระยะสะสมแป้งของมันสำปะหลัง
ระยะนี้มันสำปะหลังจะเริ่มดึงธาตุอาหารจากใบ ลำเลียงผ่านทางลำต้นเพื่อนำไปสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง เราควรให้ธาตุอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง เนื่องจากโปแตสเซียมมีส่วนช่วยในการขยายท่อลำเลียงอาหาร และทำให้ขบวนการลำเลียงอาหารมาสะสมที่หัวมันสำปะหลังเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ ฟาร์มเกษตแนะนำปุ๋ยเม็ดสกัด เพอร์เฟค-พี 5-3-14 ตรานกอินทรีคู่กระสอบสีม่วง ที่มีโปรแตสเซียม ส่งผลให้มันสำปะหลังมีขนาดหัวใหญ่ขึ้น และยังช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้นสำหรับการปลูกในฤดูการถัดไป นอกจากนั้นแล้วยังประกอบไปด้วยปริมาณอินทรียวัตถุที่เป็นธาตุอาหารปลดปล่อยช้า และซิลิกอน
คลิกรูปเพื่อดูรายละเอียดและราคา
การฉีดพ่นทางใบในช่วงนี้ ทางเราแนะนำ บูสเตอร์สูตรสีส้ม ซึ่งมีธาตุอาหาร K, Ca และ B สูง ช่วยส่งเสริมให้มันสำปะหลังมีหัวขนาดที่โตขึ้นกว่าเดิมและมีเปอร์เซนต์แป้งสูงขึ้น ผสมกับปุ๋ยน้ำนาโนอะมิโน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้ต่อเนื่อง
คลิกรูปเพื่อดูรายละเอียดและราคา
6. ช่วงเดือนที่ 10-12 ให้ทำการเก็บเกี่ยว
เพอร์เฟคเอส เพอร์เฟคพี และวันเดอร์ดำ ตอบโจทย์เรื่อง Law of the Minimum
นัก วิทยาศาสตร์ที่สามารถลบล้างทฤษฎีฮิวมัสได้สำเร็จคือ จุสตุส ฟอน ลีบิก (Justus von Liebig, ค.ศ. 1803-1873) ชาวเยอรมัน ลีบิกมีความคิดว่า ปัจจัยที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืชคืออาหารแร่ธาตุต่าง ๆ จึงได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาใหม่แทนทฤษฎีฮิวมัส คือ “ Law of the minimum” ซึ่งมีใจความว่า เมื่อพืชได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นเพียงพอแล้วทุกธาตุยกเว้นธาตุหนึ่งซึ่งยัง ขาดอยู่หรือยังมีไม่เพียงพอ ธาตุนั้นจะเป็นตัวจำกัดการเจริญเติบโตของพืช ทฤษฎีของลีบิกนี้ยังได้รับความเชื่อถือมาตราบจนทุกวันนี้และเป็นที่ยอมรับ กันทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพียงเล็กน้อยเท่านั้นลีบิก มีแนวคิดว่า การแนะนำการใส่ปุ๋ยให้กับพืช (Fertilizer recommendation) สามารถทำได้โดยการวิเคราะห์หาธาตุที่เป็นส่วนประกอบของพืช แล้วใส่ธาตุเหล่านั้นลงไปในดิน เขาเป็นบุคคลแรกที่คิดทำปุ๋ยเคมีขึ้น แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากปุ๋ยที่เขาผสมขึ้นในครั้งนั้นเป็นสารประกอบ ที่ไม่ละลายน้ำ ผลการทดลองที่สำคัญของ ลีบิกสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) ยืนยันว่าคาร์บอนในพืชมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ 2) ไฮโดรเจนและออกซิเจนในพืชมาจากน้ำ 3) พืชต้องการโลหะที่เป็นด่าง (alkaline metals) เพื่อสะเทิน (nutralize) กรดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมตาโบลิซึมในพืช (metabolic activities) 4) ฟอสเฟตจำเป็นสำหรับการสร้างเมล็ดของพืช 5) พืชดูดแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินโดยไม่เลือกชนิด แล้วเลือกใช้เฉพาะธาตุที่จำเป็นเท่านั้นส่วนที่ไม่จำเป็นจะถูกขับ (excretes) ออกมาทางราก 6) พืชได้รับไนโตรเจนในรูปของแอมโมเนียมไอออน (NH4+) ทั้งจากดิน ปุ๋ยอินทรีย์ และอากาศ 7) พืชจะปลดปล่อยกรดแอซีติก (acetic acid) ออกมาทางราก จะเห็นได้ว่าข้อสรุปของลีบิกนั้นไม่ถูกต้องไปเสียทั้งหมด เช่น ข้อสรุปที่ว่ารากพืชจะปลดปล่อยกรดแอซีติกออกมาและพืชได้รับไนโตรเจนในรูปของ แอมโมเนียมไอออนทั้งจากดิน ปุ๋ยอินทรีย์และอากาศ เป็นต้น
อ้างอิง : http://courseware.rmutl.ac.th/courses/53/unit103.htm
มัน สำปะหลังช่วงพัฒนาทรงพุ่มนี้ ต้องการไนโตรเจนเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต ในส่วนของโปแตสเซียม หรือธาตุอาหารตัว K ซึ่งเป็นตัวหลัง ยังต้องการไม่มากในช่วงนี้ หากเอาปุ๋ยตัวหลังสูง หรือปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลังมาใส่ในช่วงนี้ ผิดช่วงนะครับ อาจจะทำให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เพราะแท้ที่จริงแล้ว ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลังนั้น ทำหน้าที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล จากใบ สู่ลำต้น สู่ราก และสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง จะให้ถูกต้องสำหรับมันสำปะหลังแล้ว ต้องใส่ช่วงเดือนที่ 3-6 เพราะตอนนั้น มันสำปะหลังเจริญเติบโตพร้อมที่จะลงหัวแล้ว
สำหรับท่านที่สนใจผลิตภัณฑ์สำหรับมันสำปะหลัง ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาแช่ท่อนพันธุ์ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด สำหรับมันสำปะหลัง อย่าลืมนึกถึงฟาร์มเกษตร หรือเว็บไซต์ FarmKaset.ORG นะครับ โทร 089-4599003 เป็นเบอร์โทรศัพท์ของคุณปิยะมาศ หรือคุณปริมครับ และตอนนี้ ยังมี http://iBlog.FarmKaset.NET ที่รองรับการเข้าชมด้วย iPad ลองใช้งานดูนะครับ