data-ad-format="autorelaxed">
หญ้างวงช้าง สรรพคุณทางยามากมาย
หญ้างวงช้าง ทั้งต้น รสขมสุขุม ใช้เป็นยาเย็น แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้ตาฟาง
ข้อมูลนี้ คัดลอกมาจากการพูดคุยกันใน เฟสบุ๊คกรุ๊ฟ กลุ่มฟาร์มเกษตร ที่
https://www.facebook.com/groups/FarmKaset.ORG/
สามารถกด ขอเข้าร่วมกลุ่มได้ครับ
โพสโดย Prim Piyamas
เมื่อวานไปนามา เห็นต้อนหญ้ามีดอกสวยๆ ขึ้นเต็มท้องนาสารพัดดอกเลย แต่หนึ่งในนั้นก็คือเจ้าต้นนี้ เก็บรูปมาค้นข้อมูล ปรากฎว่าเจ้าต้นนี้มีชื่อว่า หญ้างวงช้าง (คงจะเป็นเพราะมีดอกเหมือนงวงช้างเลยค่ะ) มีสรรพคุณทางยาสุดยอดเลยนะคะ
สรพคุณทางยา ของ หญ้างวงช้าง
ทั้งต้น รสขมสุขุม ใช้เป็นยาเย็น
แก้กระหายน้ำ ดับร้อนใน ขับปัสสาวะ แก้บวม
แก้พิษปอดอักเสบ มีหนองในช่องหุ้มปอด เจ็บคอ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และแก้ตาฟาง
ตำรับยา หญ้างวงช้าง
1. แก้ปวดท้อง ใช้ต้นนี้สดหนัก 30-60 กรัมต้มน้ำกิน
2. แก้ปอดอักเสบปอด มีฝีเป็นหนองมีหนอง ในช่องหุ้มปอด ใช้ทั้งต้นสด 60 กรัม ต้มผสมน้ำผึ้งกิน หรือใช้ทั้งต้นสด 60-120 กรัม ตำคั้น เอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
3. แก้ปากเปื่อยเน่า ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำอมบ้วนปากวันละ 4-6 ครั้ง
4. แก้แผลฝีเม็ดเล็กๆ มีหนอง ใช้รากสด 60 กรัม ผสมเกลือเล็กน้อย ต้มน้ำกิน แล้วใช้ใบสดตำกับข้าวเย็นพอแผลอีกด้วย
รายงานผล หญ้างวงช้าง ทางคลินิกของจีน
ใช้แก้แผลมีหนอง ฝีเม็ดเล็กๆ ใช้ทั้งต้นแห้งหนัก 50 กรัม หั่นเป็นฝอยผสมน้ำ 1,000 กรัม ใช้ไฟอ่อนต้มจนเหลือ 500 มิลลิกรัม แบ่งกินครั้งละ 20 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เด็กก็ลดปริมาณลงตามส่วน จากคนไข้ 213 ราย, กินยา 1-3 วัน หาย 73 ราย, กินยา 4-5 วัน หาย 96 ราย, กินยา 6-10 วัน หาย 52 ราย,กินยา 10 วันขึ้นไป หาย 28 ราย จากการทดสอบเบื้องต้น พบว่ายานี้มีผลต่อฝีเล็กๆ ที่เริ่มเป็นหนอง และระยะเริ่มเป็นหนองแล้ว (มีเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว) แต่ในระยะเริ่มเป็นจะใช้ได้ผลดีกว่า
ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ หมอชาวบ้าน นะคะ
โพสโดย Mpwnt C Ppy
หญ้างวงช้าง
ชื่ออื่น หวายงวงช้าง (ศรีราชา), หญ้างวงช้างน้อย (เหนือ) ผักแพวขาว (กาญจนบุรี), กุนอกาโม (มลายู)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Heliotropium indicum Linn.
ชื่อวงศ์ BORAGINACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ หญ้างวงช้าง
เป็นพืชล้มลุกเกิดตอนฤดูฝน ถึงหน้าแล้งตาย สูง 15-50 เซนติเมตร มีขนหยาบๆ ปกคลุมทั้งต้น
ใบ ออกสลับกัน ลักษณะทรงกลมรีหรือป้อมๆ ปลายใบแหลมสั้น กลางใบกว้างออก ฐานใบเรียวต่อลงมาถึงก้านใบ ตัวใบยาว 3-8 เซนติเมตร มีขน ผิวใบมีรอยย่นขรุขระ ขอบใบมีรอยหยักเป็นคลื่น ช่อดอกเกิดที่ยอดหรือซอกใบ ยาว 3-10 เซนติเมตร
ดอก เกิดอยู่ทางด้านบนด้านเดียว บานจากโคนไปปลายช่อดอก ปลายช่อโค้งงอคล้ายงวงช้างชูขึ้น กลีบเลี้ยงสีเขียว มี 5 กลีบ กลีบดอกสีฟ้าใกล้ขาวติดกันเป็นหลอด ที่ขอบมีรอยแยกตื้นๆ แบ่งเป็น 5 กลีบบานออกกลีบดอก ประมาณ 5 มิลลิเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 3-3.5 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้ 5 อันติดอยู่ ด้านในมีก้านเกสรตัวเมีย 1 อัน รังไข่เป็นรูปจานแบนๆ ผลยาว 4-5 มิลลิเมตร เกิดจากการที่รังไข่ 2 อันรวมตัวติดกัน
มักพบตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามริมแม่น้ำ ลำคลอง หรือทางน้ำ แหล่งน้ำต่างๆ ท้องนาหรือตามที่รกร้างต่างๆ ตามวัดวาอารามทั่วๆ ไป และมีปลูกเก็บมาขายเป็นยาสดตามสวนยาจีนต่างๆ
สรรพคุณทางสมุนไพร ของ หญ้างวงช้าง
ใบ รสเย็นเฝื่อน ตำคั้นเอาน้ำหยอดหู แก้ฝีในหู ปวดหู หยอดตาแก้ตาฟาง อมกลั้วคอ แก้เจ็บคอ แก้กระหายน้ำ ดื่มลดน้ำตาลในเลือด ทาแก้สิว
ดอก,ราก รสเย็นเฝื่อน ต้มดื่มพอเหมาะ ขับระดู ใช้มากอาจทำให้แท้งได้
ราก รสเย็นเฝื่อน คั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตาเจ็บ ตามัว
ทั้งต้น รสเย็นเฝื่อน ต้มดื่ม ดับพิษร้อน แก้ปวดอักเสบ แก้เจ็บคอ ขับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ปากเปื่อย แผลบวม มีหนอง แก้ตาฟาง แก้พิษตานซาง
วิธีและปริมาณที่ใช้ หญ้างวงช้าง
กิน ใช้ยาสดหนัก 30-60 กรัมต้มกิน หรือคั้นเอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
ใช้ภายนอก ต้มเอาน้ำชะล้าง หรือคั้นเอาน้ำมาอมบ้วนปาก
ตำรับยา หญ้างวงช้าง
1. แก้ปวดท้อง ใช้ต้นนี้สดหนัก 30-60 กรัมต้มน้ำกิน
2. แก้ปอดอักเสบปอด มีฝีเป็นหนองมีหนอง ในช่องหุ้มปอด ใช้ทั้งต้นสด 60 กรัม ต้มผสมน้ำผึ้งกิน หรือใช้ทั้งต้นสด 60-120 กรัม ตำคั้น เอาน้ำมาผสมน้ำผึ้งกิน
3. แก้ปากเปื่อยเน่า ใช้ใบสดตำคั้นเอาน้ำอมบ้วนปากวันละ 4-6 ครั้ง
4. แก้แผลฝีเม็ดเล็กๆ มีหนอง ใช้รากสด 60 กรัม ผสมเกลือเล็กน้อย ต้มน้ำกิน แล้วใช้ใบสดตำกับข้าวเย็นพอแผลอีกด้วย
ข้อห้าม หญิงมีท้องห้ามกิน อาจแท้งได้
thaiherb-tip108.blogspot.com
โพสโดย Mpwnt C Ppy
หญ้างวงช้าง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หญ้างวงช้าง
สถานะการอนุรักษ์
ความเสี่ยงต่ำ (IUCN 3.1)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
(unranked): Angiosperms
(unranked): Eudicots
(unranked): Asterids
อันดับ: (unplaced)
วงศ์: Boraginaceae
สกุล: Heliotropium
ชนิด: H. indicum
ชื่อทวินาม
Heliotropium indicum
L.
ชื่อพ้อง
Heliophytum indicum
Heliotropium parviflorum
Tiaridium indicum
หญ้างวงช้าง ในประเทศอินเดีย
หญ้างวงช้าง ชื่อวิทยาศาสตร์: Heliotropium indicum เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ Boraginaceae ลำต้นไม่มีเนื้อไม้ มีขนสั้นๆ จับแล้วเหนียวมือ มีกลิ่นเฉพาะตัว ใบเดี่ยว มีขนสั้นๆกระจายทั่วผิวใบ จับแล้วรู้สึกเหนียวมือ ดอกช่อ ปลายช่อม้วน มีดอกย่อยอยู่ที่ช่อดอกเพียงด้านเดียว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเดี่ยวกลม ปลายผลเป็นร่อง มีกลีบเลี้ยงหุ้มเป็นรูปสามเหลี่ยม อ่อนเป็นสีเขียว แก่เป็นสีน้ำตาล ผลแห้งแตก เมล็ดสีเทาดำ ในฟิลิปปินส์ใช้เป็นยาแก้บวม
อ้างอิง
Jump up ↑ Onaylos, Irma Noel. Plants That You Know But Really Don't: Home Remedies from 110 Philippine Medicinal Plants. Cebu City: Our Press, Inc. p. 40.
มัณฑนา นวลเจริญ. พรรณไม้ป่าชายหาด. ปทุมธานี. สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2552 หน้า 162