data-ad-format="autorelaxed">
การปลูกยางพารา การให้ปุ๋ยยางพารา
การปลูกยางพารา และการให้ปุ๋ยยางพารา จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพื้นที่ การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา ทำได้หลายวิธี เช่น ในกรณีที่เป็นสวนยางพาราเก่า พี้นที่มีลักษณะเป็นป่า หรือมีไม้อื่นปลูกรวมอยู่ด้วย การเตรียมพี้นที่นั้นจะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน ซึ่งการโค่นล้มไม้อาจทำโดยใช้แรงงานคน หรือแรงงานเครื่องจักรกล เช่น ใช้เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดไม้ให้เหลือเฉพาะตอไม้ ให้ความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 ถึง 60 เซนติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอไม้โดยใช้ยาฆ่าตอไม้ ชนิด 2,4,5-T ในอัตราส่วนสารเคมี 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน และใช้ทาตอไม้ในขณะที่ยังมีความสดอยู่ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้ตอไม้ตายและผุสลายเร็วขึ้น หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนของไม้ออกได้หมด แต่มีข้อเสียบางประการคือเกิดการสูญเสียหน้าดินมากหลังจากโค่นต้นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว และจะต้องเก็บไม้ใหญ่ออกจากพื้นที่ จากนั้นเก็บเศษไม้ต่างๆ มารวมกันไว้เป็นกอง จัดเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ และตากให้แห้งเพื่อทำแนวกันไฟ จากนั้นก็ทำการเผาเศษไม้เหล่านั้น หลังจากเผาเสร็จแล้ว ก็ควรจะรวบรวมปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดมารวมกันเพื่อเผาใหม่อีกครั้ง และทำการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก โดยการใช้วิธีการไถ จำนวน 2 ครั้ง พรวนดินอีก 1 ครั้ง ส่วนพื้นที่ที่ยังมีตอไม้ยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่หลงเหลืออยู่ อาจจะทำให้การเตรียมดินสำหรับการปลูกไม่สะดวกมากนัก แต่หากเป็นกรณีที่เป็นพื้นที่ที่จะปลูกมีความลาดเทมาก เช่น พื้นที่บริเวณควนหรือเนิน จะต้องมีการจัดทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดหรือทำการต้านดิน เพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างดินเหล่านั้นให้ไหลตามน้ำ การทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดอาจทำเฉพาะในลักษณะของต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน หรืออาจจะจะทำพี้นที่ในลักษณะเป็นวงรอบไปตามลักษณะของควนหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน และความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยกว้าง 1.5 เมตร และแต่ละขั้นบันไดก็ใช้วิธีการตัดดินให้มีความลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน โดยให้บริเวณขอบด้านนอกของขั้นบันไดเป็นลักษณะคันดิน มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ความกว้าง 60 ถึง 70 เซนติเมตร และระยะห่างระหว่างขั้นบันไดมีความกว้างระหว่าง 8 ถึง 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควนหรือเนิน หากมีความชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออกไปด้วย
ระยะปลูกและการวางแนวปลูก
การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น พันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่ เป็นต้น สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนยางพาราในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางพาราดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่
การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ซึ่งทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้
ระยะปลูกยางพารา 3x7 เมตร จำนวน 76 ต้นต่อไร่
ระยะปลูกยางพารา 2.5x8 เมตร จำนวน 76 ต้นต่อไร่
ระยะปลูกยางพารา 3x8 เมตร จำนวน 67 ต้นต่อไร่
ระยะปลูกยางพารา 3.5x7 เมตร จำนวน 67 ต้นต่อไร่
ระยะปลูกยางพารา 4.6 เมตร จำนวน 67 ต้นต่อไร่
ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางพาราที่มีลักษณะสวยงามเป็นระเบียบ มีขั้นตอนในการจัดวางแนวดังต่อไปนี้
- กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะปลูกขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางพาราเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางพาราเก่าเนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ
- จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก เมื่อกำหนดแถวหลักว่าจะใช้ในแถวใดแล้ว ก็ทำการวัดระยะจากเขตสวนยางพาราในด้านที่จะเริ่มทำแถวแรกในการปลูกเข้าไปเป็นแนวตั้งฉากเป็นระยะห่างในการปลูก
การใส่ปุ๋ยให้กับยางพารา
สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน
และอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง
ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง
หมายเหตุ
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
- ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
- ดินทราย คือ ดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย มีโปแตสเซียมต่ำ
- ดินร่วน คือ ดินที่มีเนื้อดินะเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
- ปุ๋ยเม็ด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
- ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วนที่
แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางถัดไป
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม
หมายเหตุ
ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว
วิธีการใส่ปุ๋ยยางพารา
วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้
ใส่รองพื้น - นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง
ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย
ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถวต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย
ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดิน
มีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
อ้างอิง naist.cpe.ku.ac.th, reothai.co.th
ผสมปุ๋ยใช้ด้วยตัวเอง
กรณีของยางพารา เราสามารถเลือกใช้ 21-0-0 แทน 46-0-0 ได้ ตัวโปรแกรมก็รองรับการคำนวณ ในกรณีเลือกใช้ 21-0-0 เช่นกัน
มีปุ๋ย 46-0-0 และ 18-46-0 และ 0-0-60 เพียง 3 ชนิด ไว้ที่ฟาร์มก็เพียงพอ จาก ผสมเองก็เป็นปุ๋ยได้ทุกสูตรตามต้องการ
มีเพียงปุ๋ยทั้งสามสูตรนี้ + app "ผสมปุ๋ย" บนมือถือของท่าน ก็เพียงพอสำหรับการปลูกพืชทุกชนิด ที่ท่านทำอยู่
แม่ปุ๋ยเพียง 3 สูตร สามารถผสมปุ๋ย ออกมาเป็นปุ๋ยทุกๆสูตรได้ตามต้องการ ไม่ต้องลำบากกับการหาซื้อปุ๋ยในสูตรที่หาซื้อยากอีกต่อไป ใช้แม่ปุ๋ยถูกกว่า ไม่มีค่าการตลาด สามารถใส่ได้ทุกสูตร ตามหลักวิชาการ ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ หรือผสมเพื่อทดลองหาปุ๋ยที่ดีที่สุด สำหรับพืชที่คุณปลูกด้วยตัวเองก็สะดวกสบาย
ติดตั้ง app จากฟาร์มเกษตร ลดต้นทุนได้แน่นอน ด้วยองค์ความรู้ในแบบโรงงานผู้ผลิต สู่มือถือของคุณ ที่ใช้งานง่าย ใช้งานได้ทุกคน
การผสมปุ๋ยใช้ด้วยตัวเอง ทำให้เกษตรกร และนักลงทุนด้านการเกษร รวมถึงผู้ดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกพืช สามารถลดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อปี ที่เกี่ยวข้องกับปุ๋ย ได้มากประมาณ 30-50% โปรแกรม "ผสมปุ๋ย" จากฟาร์มเกษตร อำนวยความสะดวก ในการคำนวณสัดส่วนของแม่ปุ๋ย ยูเรีย(46-0-0) แดป(18-46-0) และม็อป(0-0-60) เพื่อให้คุณได้สัดส่วนการผสมปุ๋ยที่ถูกต้องอย่างง่ายดาย
เข้าใจง่าย ใช้งานก็ง่าย แค่เพียงป้อนสูตรปุ๋ยที่คุณต้องการ เช่น 16-8-8 ก็เพียงป้อน ลงไปที่ช่อง N-P-K ตามลำดับ ช่อง N ใส่เลข 16 ช่อง P ใส่เลข 8 ช่อง K ใส่เลข 8 เรียงลำดับตามสูตรที่ต้องการ และกดปุ่ม "คำนวณ" ตัวโปรแกรมจะคำนวณ และแสดงผลให้ท่านเห็นว่า ต้องใช้ แม่ปุ๋ยทั้งสามตัว ในสัดส่วนกี่กิโลกรัม เพื่อผสมกันออกมาเป็น ปุ๋ยในสูตรที่ท่านป้อนค่าเอาไว้
ตรวจธาตุอาหารจากแม่ปุ๋ย เป็นอีกความสามารถหนึ่งของแอพพริเคชั่นตัวนี้ ในกรณีที่คุณต้องการจะทราบว่า หากคุณเอา ยูเรีย เท่านี้กิโลกรัม รวมกับ DAP เท่านั้นกิโลกรัม และรวมกับ MOP เท่านั้นกิโลกรัม ถ้านำมาผสมกันแล้ว คุณจะได้ปุ๋ยเป็นสูตรอะไร ช่วยให้คุณสามารถทดลองกดคำนวณเองได้ อย่างสนุกสนาน โดยไม่ต้องถามใครๆ
ราคาของแอพพริเคชัน "ผสมปุ๋ยใช้ด้วยตัวเอง" นี้ ใกล้เคียงกับ ทานไก่ทอด เค.เอฟ.ซี หนึ่งชุด และยังถูกว่า ครึ่งหนึ่งของราคาปุ๋ยเพียง 1 กระสอบ แต่กลับสามารถลดต้นทุนค่าปุ๋ย ต่อรอบการปลูกของท่านได้อย่างมากมายเหลือคณานับ โปรดอย่าลังเลที่จะซื้อ โปรแกรมจากเรา ฟาร์มเกษตร ผ่าน Google Play Store แห่งนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม
แม่ปุ๋ยยูเรีย = Urea = 46-0-0
มีไนโตรเจน 46%
แม่ปุ๋ยม็อป = MOP = Muriate of potash = 0-0-60
มีโปแตสเซียม 60%
แม่ปุ๋ยแดป = DAP = Diammonium phosphate = 18-46-0
มีไนโตรเจน 18%
และมีฟอสฟอรัส 46%