data-ad-format="autorelaxed">
ใครๆ ก็พูดกันว่าล็อบสเตอร์น้ำจืดหรือ "กุ้งก้ามแดง" เนื้ออร่อยที่สุดและขายได้ราคาดีมาก จาก จ.สระแก้วของไทยสู่นครเวียงจันทน์ ที่นั่นออกรณรงค์ส่งเสริมให้ชาวนาเพาะเลี้ยงในนาข้าว เลี้ยงง่ายและขายได้ราคาดีใช้เวลา 4 เดือนเท่านั้นก็เห็นเงินกองอยู่ต่อหน้า โครงการชลประทานแห่งหนึ่งทดลองเลี้ยงในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาจนกระทั่งสามารถผลิตออกเป็นสินค้าสู่ตลาดได้ ถึงคราวเกษตรกรลาวจะรวยบ้าง. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่.
ทางการลาวออกรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรเพาะเลี้ยง "ล็อบเสตอร์น้ำจิด" หรือกุ้งก้ามแดงในนาข้าวหลังจากโครงการชลประทานแห่งหนึ่งในนครเวียงจันทน์ทดลองเลี้ยงในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาและได้ผลอย่างดี โดยนำพันธุ์กุ้งไปจาก จ.สระแก้วของไทย
ตามรายงานของสำนักข่าวทางการ โครงการชลประทานดังกล่าวได้จัดแสดงผลงานในสัปดาห์ก่อนสิ้นปี 2556 ระบุว่าการทดลองเลี้ยงในนาข้าวจนมีความชำนาญ เข้าใจในกระบวนการเติบโตของกุ้งน้ำจิดชนิดนี้จนสามารถผลิตออกสู่ตลาดเป็นสิ้นค้าได้ รัฐบาจึงประกาศส่งเสริมให้เกษตรกรเริ่มเพาะเลี้ยงโดยจะจัดพันธุ์กุ้งและฝึกอบรมเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงให้ตลอดจนมีนักวิชาการติดตามให้คำปรึกษา
ปัจจุบันโครงการสามารถผลิตลูกกุ้งก้ามแดงได้ราว 2 ตันต่อปี จำหน่ายให้เกษตรกรราคา 1,500 กีบต่อตัว ค่าอาหาร กก.ละ 10,000 กีบ แต่กุ้งโตขายได้ราคา 100,000 กีบต่อ กก. (อัตราแลกเปลี่ยน 245.53 กีบ/บาท) ใช้เวลาเพาะเลี้ยงประมาณ 4 เดือน กุ้งน้ำหนัก 1 กิโลกรัมจะใช้อาหารสำเร็จรูปราว 1 กิโลกรัมครึ่งเท่านั้นซึ่งนับเป็นต้นทุนที่ต่ำ และได้กำไรงาม สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน
ตามข้อมูลจาก จ.สระแก้วที่มีการเผยแพร่ก่อนหน้านี้ กุ้งล็อบสเตอร์ก้ามแดงเลี้ยงง่ายอาศัยอยู่ในธรรมขาติปรกติไม่จำเป็นต้องจัดทำระบบเติมออกซิเจนลงในน้ำเหมือนกับการเลี้ยงกุ้งชนิดอื่น และจะหากินเองตามธรรมชาติเมื่อเลี้ยงในนาข้าว ใช้เวลาเลี้ยงราว 40 วัน และให้อากรสำเร็จรูปเสริมเป็นบางครั้งเป็นคราวทำให้ลดต้นทุนได้มาก เป็นกุ้งเนื้ออร่อยได้กุ้งราว 20 ตัวได้น้ำหนัก 1 กก จำหน่ายได้ราคา กก.ละ 300 บาทขึ้นไป
หากขยายเวลาเลี้ยงเป็น 12 เดือนจะมีน้ำหนักราว 10 ตัวต่อกก. และจำหน่ายได้ในราคาสูงขึ้นเป็นประมาณ 500 บาทต่อ กก.
ลาวส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงกุ้งล็อบเตอร์น้ำจืดในนาข้าวทำรายได้งาม
จะรวยกันอีกแล้ว .. ทางการลาวเริ่มรณรงค์ส่งเสริมเกษตรกรชาวนาในนครเวียงจันทน์เลี้ยงกุ้งล็อบสเตอร์น้ำจืดในนาข้าวโดยศึกษาประสบการณ์ของเกษตรกรใน จ.สระแก้วของไทย เป็นกุ้งที่หากินได้เองตามธรรมชาติในท้องนาและให้อาหารเสริมบ้างเท่านั้น ไม่ต้องมีระบบเติมออกซิเจนในน้ำเหมือนเลี้ยงกุ้งกุลาดำหรือกุ้งชนิดอื่นช่วยลดต้นทุนได้มหาศาล ในประเทศไทยขายกันกิโลกรัมละ 300-500 บาท. -- ภาพ: หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่.
อ้างอิง : manager.co.th