data-ad-format="autorelaxed">
สะเดา มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นที่ต่างกันในบ้างท้องที่ เช่นทางภาเหนือเรียกว่า สะเลียม และทางภาคใต้บางท้องที่เรียกว่า กะเดา
ลักษณะของ สะเดา เป็นไม้ต้น สูงประมาณ 5-10 เมตร เปลือกของต้น สะเดา จะมีลักษณะแตกเป็นร่องลึกตามยาว หรือในแนวตั้ง ซึ้งเป็นลักษณะปกติของ สะเดา ส่วนของยอดอ่อนนั้นมีสีน้ำตาลแดง ในส่วนใบสะเดา เป็นใบประกอบที่มีลักษณะคล้ายขนนก กว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีความยาวในช่วง 4-8 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบคล้ายฟันเลื่อย ส่วนของกลีบเลี้ยงมี 5 แฉก
ผลของ สะเดา เป็นผลรูปทรงรี ขนาดเล็ก 0.8-1.0 เซนติเมตร มีผิวเรียบ ผลสีเขียวในขณะที่เป็นผลอ่อน ส่วนผลสุกจะเป็นสีออกไปทางเหลืองส้ม
ส่วนที่ใช้ได้ของ สะเดา
ดอกช่อดอก ยอด ก้านใบ เปลือก ขนอ่อน ยาง แก่น กระพี้ ก้านใบ ผล ต้น เปลือกราก ใบ ราก น้ำมันจากเมล็ด
สรรคุณของ สะเดา
ดอก ยอดอ่อน - สามารถแก้ กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอ บำรุงธาตุ ขับลม ใช้เป็นอาหารผักแกล้มได้อร่อย
ขนอ่อน - ใช้ถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ
น้ำมันจากเมล็ด - ใช้รักษาโรคผิวหนัง และเป็นยาฆ่าแมลงได้
เปลือกราก - เป็นยาฝาดสมาน แก้ไข้ ทำให้อาเจียน แก้โรคผิวหนังได้
ผล มีสารรสขม - เป็นยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้โรคหัวใจเต้นผิดปกติได้
ใบ และ ผล - เป็นยาฆ่าแมลง บำรุงธาตุ
ราก - สามารถใช้แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะซึ่งเกาะแน่นอยู่ในทรวงอก
แก่น - แก้อาเจียน ขับเสมหะ
ยาง - ใช้ดับพิษร้อน
กระพี้ - แก้ถุงน้ำดีอักเสบ
ก้านใบ - แก้ไข้ ทำยารักษาไข้มาลาเรีย
เปลือกต้น - แก้ไข้ เจริญอาหาร แก้ท้องเดิน บิดมูกเลือด
วีธีใช้ สะเดา
ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
ช่อดอก ลวกน้ำร้อน จิ้มน้ำปลาหวาน หรือน้ำพริก หรือ สามารถใช้เปลือกสดประมาณ หนึ่งฝ่ามือ ต้นน้ำประมาณสองถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว
ใช้เป็นยาฆ่าแมลง
สะเดาให้สารสกัดชื่อ Azadirachin ใช้ฆ่าแมลงโดยสูตร สะเดาสด 4 กิโลกรัม ข่าแก่ 4 กิโลกรัม ตะไคร้หอม 4 กิโลกรัม นำแต่ละอย่างมาบดหรือตำให้ละเอียด หมักกับน้ำ 20 ลิตร 1 คืน น้ำน้ำยาที่กรองได้มา 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใช้ฉีดฆ่าแมลงในสวนผลไม้ และสวนผักได้ดี โดยไม่มีพิษและอันตราย
สารเคมี :
ผล มีสารขมชื่อ bakayanin
ช่อดอก มีสารพวกไกลโคไซด์ ชื่อ nimbasterin 0.005% และน้ำมันหอมระเหยที่มีรสเผ็ดจัดอยู่ 0.5% นอกนั้นพบ nimbecetin, nimbesterol, กรดไขมัน และสารที่มีรสขม
เมล็ด มีน้ำมันขมชื่อ margosic acid 45% หรือบางที่เรียก Nim Oil และสารขมชื่อ nimbin, nimbidin
Nim Oil มี nimbidin เป็นส่วนมากและเป็นตัวออกฤทธิ์มีกำมะถันอยู่ด้วย
อ้างอิง : rspg.or.th