data-ad-format="autorelaxed">
โรคลำต้นยางชำถุงเน่า (Twig rot of polybagrubber)
พบระบาดในแปลงเพาะชำยางชำถุง โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกชุก ทำให้ต้นยางชำถุงตายอย่างรวดเร็ว
สาเหตุของโรคลำต้นยางพาราชำถุงเน่า
เกิดจากเชื้อรา Phytophthora nicotianoe Van Breda de Haan var. parasitica (Dastur) Waterhouse. P. palmivora (Butl.) Butl.
ลักษณะอาการของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า
เชื้อราทำลายกิ่งแขนงที่แตกออกจากตาของยางพันธุ์ดี เกิดรอยแผลสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำช้ำเป็นรูปยาวรีไปตามความยาวของลำต้น และขยายลุกลามไปรอบต้น ทำให้กิ่งแขนงเหี่ยวแห้งตาย
การแพร่ระบาดของโรคลำต้นยางชำถุงเน่า
ระบาดรุนแรงในช่วงที่มีฝนตกชุก และมีความชื้นในอากาศสูง แปลงเพาะชำ ยางชำถุงที่มีการจัดวางถุงซ้อนกันหลายแถว หรือแปลงที่มีการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ จะเกิดการะบาดของโรคได้ง่าย
การป้องกันกำจัดโรคลำต้นยางชำถุงเน่า
1 ไม่ควรนำดินชำถุงหรือดินบริเวณที่เคยมีการระบาดของโรคมาใช้ซ้ำ
2 ปรับสภาพเรือนเพาะชำยางชำถุงไม่ให้แน่นทึบเกินไป อากาศถ่ายเทสะดวก
3 ถ้าพบต้นยางเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกหรือแยกออกจากแปลงและทำลาย
4 กรณีพบโรคระบาดใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อควบคุมโรค
- ไดเมโธมอร์ฟ(dimethomorph) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น ฟอรัม 50% WP โดยใช้ในอัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นบนต้นยางชำถุง ทุก 5-7 วัน
- ไซมอกซานิล+แมนโคเชบ(cymoxanil+mancozeb) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เคอร์เซท เอ็ม 72% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- เมทาแลกซิล(metalaxyl) ที่พบและมีจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น เมทาแลกซิล 25% WP โดยใช้ในอัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
อ้างอิงข้อมูลจาก โรคและศัตรูยางพาราที่สำคัญในประเทศไทย, สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2549 และเว็บไซต์ live-rubber.com