|
|
|
กระแสน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพนั้นยังคงส่งข่าวคราวให้เราได้ติดตามกัน อย่างไม่ขาดสายและคงต้องยอมรับกันการดื่มน้ำข้าวกล้องงอกนั้นมีประโยชน์ อย่างมากมายนานับประการเนื่องจากข้าวกล้องหากสีด้วยวิธีคุณภาพจะมีจมูกข้าว ซึ่งมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ได้แก่ ใยอาหาร กรดไฟติก(Phytic acid) กรดเฟรูลิก(Ferulic acid) วิตามินบี และวิตามินอี และกรดแกมมาแอมิโนบิวทิริก(GABA) ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน และมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนัก อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง มีการใช้กรดในการรักษาโรคเกี่ยวกับประสาทหลายโรค เช่น โรควิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคลมชัก และยังมีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิตอีกด้วย |
แค่ดื่มแล้วช่วยแก้โรคมะเร็ง โรคนี้โรคเดียวก็คุ้มแล้ว .... แต่จะมีใครบ้าง? ที่จะนึกถึงว่าการผลิตน้ำข้าวกล้องงอกให้ทุกท่านได้บริโภคนั้นมันยากง่ายแค่ ไหน อย่างไร วันนี้ จึงขอเจาะลึกย้อนรอยมองกลับถึงแหล่งที่มา กว่าจะได้น้ำข้าวกล้องงอกให้ทุกท่านได้บริโภคของแท้นั้นมีที่มาอย่างไร ที่ผู้บริโภคจะได้คุณค่าทางสารอาหารกันจริง ๆ
|
|
คุณพัชรี อินปา หนึ่งในเกษตรกรบ้านดอนมูล ต.ศรีภูมิ อ.ท่าวังผา จ.น่าน เปิดเผยภายหลังจากการที่ได้มีโอกาสรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสเปิดโครงการโรงสีข้าวพระราชทานในสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2552 ว่า มีความรู้สึกปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงพระกรุณาพระราชทานโรงสีข้าว ชุมชนให้กับชาวบ้านเนื่องจากที่ผ่านมาได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ดังกล่าวทำให้ พื้นที่ทางการเกษตรได้รับความเสียหายเกษตรกรในพื้นที่มีความเดือดร้อนมาก โรงสีข้าวพระราชทานแห่งนี้ นับว่าเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ ให้กับชาวบ้าน ทำให้มีรายได้จากการขายข้าวทั้งข้าวขาว ข้าวกล้อง ปลาย รำ แกลบ มาใช้ประโยชน์ได้อย่างครบวงจร |
|
ทั้งนี้จากอดีตที่คุณพัชรียึดอาชีพเลี้ยงปลาเมื่อประสบอุทกภัยจึง ทำให้ได้รับความเสียหายไปกว่า 2 แสนบาทเรียกได้ว่าเป็นการสูญเสียครั้งสำคัญมากในการลงทุนครั้งนั้น จากนั้นคุณพัชรีจึงหันมาสนใจเรื่องการทำน้ำข้าวกล้องเพื่อสุขภาพซึ่งในฐานะ ผู้ยึดอาชีพผลิตน้ำข้าวกล้องจำหน่ายในชุมชนมานานระยะหนึ่งพบว่าการผลิตน้ำ ข้าวกล้องต้องอาศัยการงอกของข้าวกล้องและข้าวกล่ำในปริมาณสูงมากจึงจะคุ้ม ค่ากับการลงทุน ข้าวที่นำไปสีจะต้องเป็นข้าวเปลือกใหม่ที่ผ่านการสีไม่เกิน 2 อาทิตย์ และที่สำคัญข้าวที่สีต้องสีแล้วได้ข้าวที่มีชีวิต หมายถึงมีจมูกข้าวติดอยู่ที่ปลายเมล็ดข้าว จึงจะสามารถนำมาทำให้งอกได้ความงอกในเปอร์เซนต์ที่สูง ซึ่งจะทำให้ได้น้ำข้าวกล้องงอกที่มีคุณประโยชน์จริง ๆ ต่อผู้บริโภคจะต้องได้จากข้าวกล้องที่ผ่านกระบวนการสีที่ให้อัตราการงอกสูง เหมาะที่จะนำไปทำน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพจำหน่ายภายในชุมชน หรือจะนำมาบริโภคโดยตรงก็ได้คุณประโยชน์สูงเช่นกัน |
ข้าวกล่ำ
|
“ช่วงแรกตนได้ลองผิด ลองถูก นำข้าวกล้องที่ได้จากทั้งโรงสีเล็ก และโรงสีใหญ่ทั่วไปมาแช่เพื่อทำน้ำข้าวกล้องงอกปรากฏว่าไม่งอก หรืออย่างมากก็งอกเพียง 30 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นน้อยมากซึ่งไม่คุ้มค่าเพราะมีอัตราการสูญเสียความงอกถึง 70 เปอร์เซ็นต์ คิดว่าจมูกข้าวที่ได้คงหมดอายุแล้ว แต่หลังจากที่ได้นำข้าวกล้องจากโรงสีพระราชทานไปทดลองแช่ดูความงอก สิ่งที่เกิดขึ้นจนรู้สึกดีใจมากเลย การงอกของข้าวกล้องดีมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะความงอกที่มีมากทำให้ไม่เกิดการสูญเสีย ต้นทุนที่ผลิตได้จึงต่ำ ทำให้ธุรกิจการทำน้ำข้าวกล้องงอกเกิดขึ้นได้และคิดว่าอยู่รอดด้วย เมื่อก่อนการสีข้าวทั่วไปจะคำนึงถึงเพียงว่าให้ผู้คนได้กินกันเท่านั้น อาจไม่ได้คำนึงถึงชีวิตของเมล็ดข้าว แต่หาก ณ วันนี้เราคงต้องให้ความสำคัญและคำนึงถึงชีวิตของเมล็ดข้าวด้วย เพราะต้องนำข้าวที่มีชีวิตมาทำให้งอกเพื่อนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ น้ำข้าวกล้องงอกหรือที่เรียกว่า “น้ำการ์บา”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงสำหรับผู้บริโภค ดีใจมากที่พบโรงสีนี้เพราะโรงสีนี้ยังคงรักษาไว้ซึ่งชีวิตของเมล็ดข้าว จึงสามารถนำมาทำน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพคืนชีวิต ชีวา และสุขภาพดีให้กับผู้บริโภค” |
ข้าวกล้อง
|
ปัจจุบันคุณพัชรี ยึดอาชีพจำหน่ายน้ำข้าวกล้องงอกหน้าตลาดสดเทศบาลอำเภอท่าวังผา จ.น่าน ซึ่งแต่เดิมจะขายเฉพาะน้ำถั่วเหลืองเท่านั้น ปัจจุบันเพิ่มความหลากหลายในการจำหน่ายให้ผู้บริโภคได้เลือกสรรคือสูตร น้ำข้าวกล้องอย่างเดียว น้ำถั่วเหลือง +จมูกข้าว+งาขาว+ใบเตย และ น้ำถั่วเหลือง+จมูกข้าว+งาดำ เฉลี่ยวันละ 4 หม้อเบอร์ 40 โดยจำหน่ายถุงละ 5 บาท มีรายได้ ประมาณ 1,000 กว่าบาทต่อวัน ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ที่ดีมากแล้วยังช่วยให้ผู้บริโภคได้คุณค่า ทางอาหารอย่างแท้จริง |
|
ทางด้านนายสน คำอินทร์ ประธานกรรมการโครงการโรงสีข้าวพระราชทานฯ ได้เล่าให้ฟังว่าโรงสีข้าวพระราชทานนนี้ได้เริ่มจดทะเบียนเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2551 นับเป็นโรงสีข้าวพระราชทานแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสมาชิก 1,017 ราย ประกอบด้วย 12 กลุ่ม ในต.ศรีภูมิ บริหารจัดการให้บริการสีข้าวให้กับสมาชิกที่รวมตัวกันมีการบริหารจัดการ คล้ายรูปแบบสหกรณ์เปิดโอกาศให้ถือหุ้น ๆ ละ 10 บาท คนละไม่เกิน 10,000 หุ้น โดยโครงการฯแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีจำนวนสมาชิกบ้านดอนมูล หมู่ที่ 2 103 ราย มีพื้นทีเพาะปลูก 322.50 ไร่ ได้ผลผลิตพันธุ์ กข 6 133,630 กิโลกรัม ผลผลิต กข.10 145,957 กิโลกรัม ระยะที่ 2 ขยายผลสู่หมู่บ้านดอนตันหมู่ที่ 4, 10 และ 12 มีจำนวนสมาชิก 170 ราย ครอบคลุมพื้นที่เพราะปลูก จำนวน 573.5 ไร่ และในอนาคตให้จุดนี้เป็นโครงการนำร่อง ขยายต่อสู่ตำบลอื่น ๆ และอำเภออื่น ๆ ในจังหวัดน่านต่อไป |
นอกจากนี้ในฐานะประธานกรรมการโรงสีข้าว พระราชทานยังกล่าวถึงความพิเศษและศักยภาพโรงสีข้าวแห่งนี้ว่าจะสามารถช่วย สร้างความเป็นอยู่ดีขึ้นให้กับชุมชนอย่างแน่นอน นับจากโรงสีพระราชทานแห่งนี้เริ่มเปิดทำการในเดือนพฤศจิกายน 2551 จนถึงปัจจุบันเกษตรกรสามารถนำข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูกในโครงการกองทุนข้าว มาสี ซึ่งโรงสีนี้นับว่าเป็นโรงสีชุมชนที่สามารถสีแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็น ข้าวสารได้คุณภาพดี คือ มีข้าวเต็มเมล็ดสูง (เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง) ไม่แพ้โรงสีใหญ่ทั่วไป รวมทั้ง มีขนาดเล็ก กะทัดรัด ไม่เปลืองพื้นที่ มีความคล่องสูงต่อการใช้งาน ลงทุนต่ำ สะดวก รวดเร็วต่อการใช้งาน ที่สำคัญโรงสีชุมชนต้องสามารถสีข้าวตามความต้องการของตลาดได้อย่างหลาก หลาย เนื่องจากมีความสามารถในการสีข้าวด้วยแรงกระทำที่นุ่มนวลจึงทำให้ยังคงรักษา จมูกข้าวไว้ได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูง |
ทางด้านนายนเรศว์ร ชิ้นอินมนู ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการบริษัทเกรท อะโกร จำกัด กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยในฐานะที่เป็นผู้วิจัย ผลิต และติดตั้งโรงสีข้าวพระราชทาน CP-R1000 ว่าการวิจัยและพัฒนาโรงสีข้าวชุมชน CP-R1000 นี้ได้น้อมนำพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงให้ข้อคิด ไว้ว่า โรงสีชุมชนจำเป็นต่อคนในหมู่บ้าน กล่าวคือ แต่ก่อนเกษตรกรจะสีข้าวก็ต้องนำข้าวเปลือกเข้าเมืองซึ่งต้องเสียค่าน้ำมัน ที่ต้องนำเข้ามาาจากต่างประเทศ และนำเอาข้าวสารจากโรงสีในเมืองมาสู่หมู่บ้านก็ต้องเสียค่าน้ำมันอีก จึงทรงงรับสั่งให้วิจัยและพัฒนาโรงสีข้าวชุมชนขึ้นเพื่อช่วยชุมชน ทั้งนี้ผลงานการวิจัยและพัฒนาโรงสีชุมชน CP-R1000 นี้เป็นสิ่งประดิษฐ์คิดค้นโดยวิศวกรชาวไทยที่ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ดี เด่นยอดเยี่ยมประจำปี 2549 จากสภาวิจัยแห่งชาติ ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มีส่วนช่วยชาวนาและชุมชนในหมู่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวนาไทยซึ่งถือว่า เป็นกระดูกสันหลังและเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ |
โรงสีชุมชน CP-R1000
|
ศิริลักษณ์/ศิริพร
ฝ่ายข่าวและประชาสัมพันธ์
กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร เครือเจริญโภคภัณฑ์
02-6759378 และ 089-139-9801
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
นายสน คำอินทร์ ประธานโรงสีข้าวพระราชทาน 081-7832054
นางพัชรี เกษตรกรผู้ผลิตน้ำข้าวกล้องงอก 089-2642552
นายนเรศว์ร ชิ้นอินมนู ผู้วิจัยผลิตและติดตั้งโรงสีข้าวชุมชน CP-R1000 081-6428532
|