data-ad-format="autorelaxed">
โรคมือเท้าปาก
เป็นโรคทมักพบการติดเชื้อในกลุ่มทารกและเด็กเล็ก แต่บางรายจะมีอาการรุนแรง ขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรค HFMD ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 1-7 ปี ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ coxsackievirusA16 และ EV71 ผู้ป่วยจะมีไข้ฉับพลันและมีแผลเปื่อยเล็กๆ ในลำคอบริเวณเพดาน ลิ้นไก่ ทอนซิล มีอาการเจ็บคอมากร่วมกับมีน้ำลายมาก ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต และอาจมีอาการกลืนลำบากปวดท้องและอาเจียน โรคจะเป็นอยู่ 3 - 6 วัน และมักจะหายเอง
โรคมือเท้าปาก จะเกิดเชื้อไวรัสกลุ่ม Enterovirus genusซึ่งเชื้อโรคในกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย polioviruses, coxsackieviruses, echoviruses, and enteroviruses.
สาเหตุของ โรคมือเท้าปาก
เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ที่พบเฉพาะในมนุษย์ ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคปากเท้าเปื่อยส่วนใหญ่เกิดจาการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจากEnterovirus 71 อาจเป็นแบบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ Aseptic meningitis ที่ไม่รุนแรง หรือมีอาการคล้ายโปลิโอ ส่วนที่รุนแรงมากจนอาจเสียชีวิตจะเป็นแบบสมองอักเสบ encephalitis ซึ่งมีอาการอักเสบส่วนก้านสมองทำให้หมดสติ หากเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะทำให้เกิดหัวใจวาย ความดันโลหิตจะต่ำ มีอาการหัวใจวาย และ/หรือมีภาวะน้ำท่วมปอด
อาการของ โรคมือเท้าปาก
ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการป่วย หรืออาจพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดเมื่อย เป็นต้น จะปรากฏอาการดังกล่าว 3-5 วัน แล้วหายได้เอง สำหรับผู้ที่มีอาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก1-2 วันจะเกิดผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน และก้นได้ เด็กที่เจ็บปากมากอาจจะขาดน้ำ
ไข้ มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน
เจ็บคอเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร
พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจมี 1 แผล หรือ 2-3 แผล ขนาด 4-8 มิลลิลิตร เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ ผื่นหรือแผลในปากจะเกิดหลังจากไข้ 1-2 วัน
ปวดศีรษะ
พบตุ่มพอง (vesicles) สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง ขนาด 3-7 มิลลิเมตร บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า บางครั้งพบที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า ส่วนมากมีจำนวน 5-6 ตุ่ม เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์
เบื่ออาหาร
เด็กจะหงุดหงิด
ในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดหลัง อาจมีอาเจียน เจ็บคอ น้ำลายไหล จากนั้นจะพบตุ่มพองใส ขนาด 1-2 มิลลิเมตร 2 ข้างของบริเวณเหนือต่อมทอนซิล (anteriar fauces) ซึ่งอาจแตกเป็นแผล หลังจากระยะ 2-3 วันแรก แผลจะใหญ่ขึ้นเป็น 3-4 มิลลิเมตร จะเห็นเป็นสีขาวเหลืองอยู่บนฐานสีแดงโดยรอบ ทำให้มีอาการเจ็บคอหรือกลืนลำบากเวลาดูดนมหรือกินอาหาร เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล ส่วนใหญ่จะหายได้เองภายใน 3-6 วัน ยังไม่เคยมีรายงานการเสียชีวิต
ระยะฝักตัวของ โรคมือเท้าปาก
หมายถึงระยะตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งเกิดอาการใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน
การติดต่อของ โรคมือเท้าปาก
โรคนี้มักจะติดต่อในสัปดาห์แรก เชื้อนี้ติดต่อจาก
จากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ (ซึ่งอาจจะยังไม่มีอาการ) หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย
และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ ( droplet spread)
ระยะที่แพร่เชื้อของ โรคมือเท้าปาก
ประมาณอาทิตย์แรกของการเจ็บป่วย เชื้อนั้นอาจจะอยู่ในร่างกายได้เป็นสัปดาห์หลังจากอาการดีขึ้้นแล้ว ซึ่งยังสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้แม้ว่าจะหายแล้ว การแพร่เชื้อมักเกิดได้ง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ซึ่งมีเชื้อออกมามาก เชื้อจะอยู่ในลำคอ ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ไวรัสเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของคอหอยและลำไส้ เพิ่มจำนวนที่ทอนซิลและเนื้อเยื่อของระบบน้ำเหลืองบริเวณลำไส้ และเชื้อจะออกมากับอุจจาระ ยังไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่า การแพร่กระจายของโรคเกิดจากแมลง น้ำ อาหาร หรือขยะ
แพทย์เตือน พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกหลานอยู่ในวัยสุ่มเสี่ยงติด โรคมือเท้าปาก ต้องระวังตัว แนะรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงชุมชน รู้จักกินอาหารต้านโรค ชูก๋วยเตี๋ยวเรือ พะโล้ที่มีโป๊ยกั๊กเป็นตัวชูรส ถือว่าสุดยอด เพราะสมุนไพรดังกล่าวต้านไวรัสได้ดี รวมถึงหวัด 2009 นอกจากนี้ก็มีกระเทียม ขมิ้นชัน เห็ดหลินจือ เห็ดหอม หัวหอม รำข้าวโอ๊ต องุ่น ส้มและเสาวรส
นายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคมือเท้าปาก ที่ทำให้เด็กไทยป่วยเป็นจำนวนมากอยู่ในขณะนี้ นอกจากจะต้องระมัดระวังในตัวเด็กแล้ว พ่อแม่ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอยู่ในวัยสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวยังอยู่ในภาวะน่าเป็นห่วงอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะยังไม่มียารักษาโดยตรง แต่ในเบื้องต้นก็สามารถหาทางป้องกันไว้เป็นดีที่สุด เพราะการแห่ไปโรงพยาบาลกันมากๆ อาจต้องเผชิญกับแหล่งรวมเชื้อ ดีไม่ดีอาจจะมีอาการหนักกว่าเดิม
สำหรับแนวทางป้องกันนั้น นพ.กฤษดากล่าวว่า ขอแนะนำให้เน้นความสะอาด เพราะโรคดังกล่าวติดจากการสัมผัสกันมากที่สุด โดยเฉพาะในกิจกรรมที่มักทำร่วมกันเป็นประจำ คือ การจับราวบันได ใช้ลิฟต์ร่วมกัน เล่นของชิ้นเดียวกัน ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้หากมีการแพร่กระจายของเชื้อเร็วขึ้น ก็เป็นที่น่ากังวลว่ามันอาจจะพัฒนาเชื้อจนแข็งแรงและระบาดลามถึงกลุ่มผู้ใหญ่ได้ ดังนั้นในการป้องกันการสัมผัสจึงเป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะหากป้องกันได้จะไม่ใช่ช่วยลดแค่โรคเดียว หากแต่ช่วยลดโรคที่มากับสัมผัสดังต่อไปนี้ได้ด้วย คือ ไข้หวัด 2009 อีสุกอีใส เริมและงูสวัด ไวรัสตับอักเสบเอและบี ท้องเสีย ติดเชื้อทางเดินอาหาร ตุ่มหนองผิวหนัง ตาแดง
นพ.กฤษดากล่าวว่า สิ่งที่ป้องกันได้อีกทางที่ดีคือ การสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนช่วย โดยขอแนะนำก๋วยเตี๋ยวเรือ หรือพะโล้ ที่มีโป๊ยกั๊กเป็นส่วนประกอบ เพราะโป๊ยกั๊กเป็นสมุนไพรไล่ไวรัสตัวฉกาจ มีงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยไฮเดลเบิร์กในเยอรมนี ระบุไว้ชัดเจนว่า ช่วยสกัดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสเริม นอกจากนั้นสารสำคัญอย่างกรด “ชิคิมิก (Shikimic acid)” ที่สกัดได้ยังนำมาใช่ตั้งต้นในการผลิตยาต้านไวรัสไข้หวัด 2009 ที่ชื่อ “โอลเซตามิเวียร์ (Oseltamivir)” ได้
"สำหรับท่านที่ปรารถนาอยากทานอย่างอื่นบ้างที่อร่อยด้วยและช่วยป้องกันได้ ก็ขออนุญาตนำเสนออีก 8 เมนูป้องกันไวรัสสไตล์อายุรวัฒน์ คือ ขมิ้นชัน มีสารสำคัญคือ “เคอคิวมินอยด์ (Curcuminoids)” ช่วยลดการอักเสบ ต้านการติดเชื้อ เป็นเสมือนยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติ อาจทานเป็นเม็ดอาหารเสริมหรือแบบสดก็ได้ มีทั้งในแกงเหลือง, ผัดผงกะหรี่, ขนมจีนน้ำยาหรือว่าคั่วกลิ้ง ก็แซบก็ร่อยกันได้ทุกภาค ช่วยให้ไกลจากไวรัสได้ดี เห็ดหลินจือ มีหลายสี แต่สีที่ถือกันว่ามีวิตามินเสริมภูมิดีคือ “สีแดง” คนญี่ปุ่นนิยมมาก มีฟาร์มเพาะเห็ดกันเป็นล่ำเป็นสัน โดยหั่นตอไม้เป็นแว่นใหญ่ให้เห็ดได้งอก โดยสารสกัดจาก “กาโนเดอมา (Ganoderma)” ถือเป็นตัวสำคัญ การรับประทานเห็ดหลินจือที่สะดวกคือในรูปอาหารเสริม"
นพ.กฤษดากล่าวว่า เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะ (Shitake) มีสารสำคัญคือ “เล็นติแนน (Lentinan)” ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวในเลือด เสริมภูมิคุ้มกันในการสู้โรคภัยไข้เจ็บ โดยมีการผลิตยาที่เป็นลูกผสมระหว่างเห็ดหลินจือและเห็ดหอม เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในผู้ป่วย รวมถึงรักษามะเร็งได้ เพราะมีสารออกฤทธิ์ต้านมะเร็ง (Anti-tumor agent) ปัจจุบันมีการสกัดออกมาแล้ว กระเทียม มีสารประกอบสำคัญเป็นกลุ่มกำมะถันที่มีชื่อว่า “ไดอัลลิล ซัลไฟด์ (Diallyl dsulfide)” ซึ่งเมื่อกระเทียมถูกบดจะได้เป็นเคมีที่ออกฤทธิ์ดีกว่าคือ “อัลลิซิน (Allicin)” เป็นตัวสำคัญที่ช่วยไล่เชื้อโรค ดังนั้นการกินที่ดีควรกินกระเทียมบดหรือเคี้ยวให้ละเอียด
หัวหอม จะหอมแดงหรือหอมใหญ่ได้ทั้งสิ้น การกินจะช่วยให้ร่างกายได้สารสำคัญ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันร่างกายได้จากสารแอนตี้ออกซิแดนต์กลุ่มซัลเฟอร์ และ “เคอซิทิน (Quercitin)” กินแล้วช่วยลดการอักเสบจากการติดเชื้อได้ รำข้าวโอ๊ต (Oat bran) เพราะมีสารช่วยเสริมภูมิ “เบต้า กลูแคน (Beta glucan)” สูง ส่วนอื่นของข้าวโอ๊ตก็มีสารนี้แต่น้อยกว่า ช่วยในการสร้างเซลล์ฆ่าเชื้อโดยธรรมชาติ (Natural killer cell) และเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ ให้มีมากขึ้น
ส้มและเสาวรส มีสารกลุ่ม “ไบโอฟลาโวนอยด์ (Bioflavonoids)” สูง การกินสดหรือดื่มน้ำคั้นจะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ จากการที่มีทั้งวิตามินซีและสาร “เฮสเปอริดิน” ในปริมาณที่เข้มข้น ยังช่วยป้องกันเส้นเลือดจากริดสีดวงและเส้นเลือดขอดด้วย องุ่น โดยเฉพาะองุ่นสีดำเข้ม มีการศึกษาว่าน้ำองุ่นสดสามารถไล่ไวรัสจำพวกเริมและงูสวัดได้ อีกทั้งสารสกัดจากเมล็ดองุ่นยังมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและติดเชื้อตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ช่วยให้ผิวพรรณสดใสขึ้นได้
นพ.กฤษดาย้ำว่า แม้จะมีอาหารต้านไวรัสตามที่แนะนำแล้ว แต่สุดท้ายก็ขอให้ทุกท่านอย่าลืมว่าการจะพาตัวหนีห่างจากไวรัสอันตรายที่ได้จากการสัมผัสนั้นก็คือหลัก “สะอาด” โดยเฉพาะการล้างมือให้ดี หนีจากที่ติดเชื้อ และไม่เบื่อออกกำลังกาย ส่วนใหญ่แล้วเชื้อพวกนี้ก็เหมือนคนที่ชอบสังคม คือชอบอยู่ในที่คนเยอะๆ มีคนพลุกพล่านเป็นชุมนุมชนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนอนุบาล, สถานเลี้ยงเด็ก, ตลาดสด, โรงหนัง, รถสาธารณะ หรือว่าจะตาม “บ้านบอล” เครื่องเล่นของเด็กๆ ก็ต้องเช็กให้ดี.
อ้างอิง
http://www.thaipost.net/x-cite/190712/59844
siamhealth.net