ผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน - ที่จังหวัดกระบี่
โครงการศิลปาชีพทุ่งทะเล ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งทางโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราช.
data-ad-format="autorelaxed">
ผลิตภัณฑ์เตยปาหนัน - ที่จังหวัดกระบี่ โครงการศิลปาชีพทุ่งทะเล ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ซึ่งทางโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.กระบี่ ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรมีอาชีพด้วยการจัดทำกิจกรรมมากมายหลายรายการด้วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือ การจัดทำผลิตภัณฑ์จากเตยปาหนัน เตยปาหนันหรือเตยทะเล เป็นพืชบริเวณป่าชายเลนทั่วไปในจังหวัดตรัง โดยเฉพาะในอำเภอสิเกา มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติจำนวนมาก การนำเตยปาหนันมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์นั้นจะใช้ใบเตยที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป โดยนำใบที่เรียกกันว่าเมสลาด คือใบที่อยู่ในสภาพกลางอ่อนกลางแก่ มาถากหนามออกให้หมดทั้งหนามข้างในและหลังใบ นำไปตากแดดให้แห้งหรือนำไปลนไฟ แล้วจึงนำไปผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “ยะหาด” เพื่อทำให้เตยเป็นเส้นที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน เรียกว่า “ซี่เตย” จากนั้นนำซี่เตยไปต้มและแช่น้ำ 1 วัน หรือ 2 คืน เพื่อป้องกันการขึ้นรา จากนั้นก็ขูดซี่เตยจนนิ่ม นำไปตากน้ำค้างให้เตยมีความเหนียวไม่เปราะง่ายเวลาสาน แล้วนำไปขูดจนขาวจึงย้อมสี สีที่นิยมได้แก่ สีบานเย็น และสีม่วง แล้วนำไปสานตามลายที่ต้องการ
การตัดใบเตยจะใช้มีดพร้าที่มีความคม ฟันวัชพืชรก ๆ รอบ ๆ ต้นเตยออกเสียบ้าง เพื่อความสะดวกในการเข้าไปตัด ซึ่งการที่ได้ใบเตยที่พอเหมาะนั้นผู้ตัดจะเลือกใบเตยที่ตั้งแต่ประมาณชั้นใบที่ 4 นับจากโคนต้นขึ้นไปและไม่เอาใบยอดที่ยังอ่อน ๆ 2-3 ชั้นใบนับจากข้างบน จากนั้นจึงฟันมีดพร้าลงไปเฉียง ๆ ให้ติดหัวอ่อน การไม่ตัดที่โคนต้นนั้น ไม่เพียงให้ได้ใบที่เหมาะเท่านั้น แต่ยังเพื่อให้หัวอ่อนแตกหน่อภายหลังเพื่อให้มีใบเตยเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
เตยปาหนัน มีลักษณะคล้ายเตยหอมแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบหนากว่าและมีหนามที่ใบ ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเข้าไปตัดในป่าที่ลึกเข้าไป จะไม่เอาต้นเตยที่อยู่ด้าน นอก ๆ เพราะต้นเตยในป่าลึกจะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า จากนั้นก็คัดเลือกเอาต้นเตยที่มีใบบาง ๆ ยาว ๆ เพื่อเอามาทำเป็นตอกเตยและสมบูรณ์มากกว่า จะไม่เอาใบที่ผอม ๆเพราะเมื่อกรีดแล้วจะได้ตอกจำนวนน้อยเส้น
จากนั้นจึงเอามามัดรวมกันประมาณ 10-15 ใบ สำหรับไฟที่เหมาะสมในการย่างใบเตยนั้น จะต้องเป็นไฟถ่านและไม่มีควัน เพราะไฟที่ลุกและมีควันจะทำให้ใบเตยไม่เป็นสีขาวตามต้องการ การย่างใบเตยจะย่างสุก สังเกตได้โดย เมื่อใบเตยมีสีเขียวเข้มขึ้นเป็นเงาก็เป็นอันว่าใช้ได้
นำใบเตยที่ย่างไฟแล้วมากรีดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่าเล็บแมวโดยเว้นระยะจากโคนใบไว้ก็เพื่อสะดวกในการหยิบและการขูดด้วยไม้ไผ่ หลังจากการริดแล้วก็ฉีกเอาเส้นที่เป็นหนามทั้ง 2 ข้างของใบออก และเส้นตรงกลางที่เป็นรอยกรีดเอาหนามออกทิ้งไป ใบเตยหนึ่งใบกรีดแล้วได้เส้นตอกประมาณ 3-6 เส้น
จากนั้นนำไปแช่น้ำเพื่อให้ตอกเตยเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว ถ้าต้องการให้ขาวมากยิ่งขึ้นก็ให้เติมน้ำส้มสายชูลงไปประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ แช่ 2 วัน 2 คืน หลังผ่านคืนที่ 1 ไปเปลี่ยนน้ำ 1 ครั้ง ในการแช่ต้องเอาของหนัก เช่น ก้อนหินใส่ถุงพลาสติกทับตอกเอาไว้เพื่อให้ตอกจมน้ำหมดทุกเส้น
จากนั้นแยกตอกเตยส่วนหนึ่งจากตอกเตยที่ตากแห้งและขูดด้วยไม้ไผ่แล้วมาย้อมสี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลวดลายที่สวยงาม สีที่ใช้ย้อมส่วนใหญ่จะใช้สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีส้ม การย้อมเริ่มต้นโดยต้มน้ำประมาณครึ่งกะละมังให้เดือดแล้วใส่เกลือแกงลงไปประมาณ 1 กำมือ เพื่อจะช่วยป้องกันตอกเตยสีตก และใส่หัวน้ำส้มประมาณ 3 หยด ช่วยให้ตอกเตยลื่นยิ่งขึ้น จากนั้นเอาสีที่ต้องการย้อมประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ใส่ลงไปใช้ไม้พายคนให้เข้ากัน รอให้น้ำเดือดจึงเอาตอกเตยที่ชุบน้ำเปียกซุ่มแล้วใส่ลงไป
ในการสานลายราษฎรในโครงการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.กระบี่ จะขึ้นรูปผลิตภัณฑ์เป็นเบ้าในการสาน เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ได้รูปแบบและประเภทต่าง ๆ และลายที่นิยมสานได้แก่ ลายขัด ลายสอง ลายสาม ลายดอกพิกุล ลายงูเหลือม ลายอกปู ผลิตภัณฑ์ที่สานจะเป็น เสื่อ กระเป๋า ภาชนะใส่ของใช้ประจำครัวเรือน และอุปกรณ์ประดับบ้านเพื่อความสวยงาม เป็นต้น.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18832 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,