แอพพลิเคชั่น เพื่อเกษตรกร
กับ 2 แอพพลิเคชั่นเพื่อเกษตรกร ใบข้าวและคลอรีน ผลงานของทีมวิจัยจากเนคเทคหรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์.
data-ad-format="autorelaxed">
“ใบข้าว-คลอรีน” 2 แอพเพื่อเกษตรกร จากอุปกรณ์ตรวจวัดสีสารละลาย ที่ใช้องค์ความรู้ด้านแสง พัฒนาตอบโจทย์เกษตรกรไทย จนกลายมาเป็น เครื่องมือยุคใหม่อย่างแอพพลิเคชั่นบนมือถือ
กับ 2 แอพพลิเคชั่นเพื่อเกษตรกร “ใบข้าวและคลอรีน” ผลงานของทีมวิจัยจากเนคเทคหรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
“ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร” ผู้อำนวยการฝ่าย หน่วยปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค บอกถึงแอพพลิเคชั่นแรกที่เรียกว่า ใบข้าว(BaiKhaoNK ) หรือ เครื่องประมาณความต้องการธาตุไนโตรเจน-โพแทสเซียมของต้นข้าวในนาโดยใช้โทรศัพท์มือถือ ว่า เป็นการพัฒนามาจากเครื่องตรวจวัดสีสารละลาย
ต่อมาได้รับโจทย์เกี่ยวกับการดูสีของใบข้าว ที่เดิมนักวิชาการเกษตรหรือเกษตรกรจะใช้การเทียบสีด้วยสายตา ซึ่งผิดพลาดได้ง่าย จึงพัฒนามาเป็นเครื่องตรวจวัดสีของใบข้าว ที่สามารถประเมินการขาดธาตุไนโตรเจนของต้นข้าวในนาได้ว่าขาดมากน้อยแค่ไหน
และด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีบนมือถือ ทำให้ทีมวิจัยพัฒนาต่อยอดมาเป็นแอพพิเคชั่นบนมือถือสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
สามารถใช้อ่านสีของใบข้าวเพื่อการประเมินความต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนของต้นข้าวในนา โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และ ไม่ต้องทำลายใบข้าว ช่วยให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการเพาะปลูก
สำหรับปริมาณธาตุอาหารไนโตรเจน ได้มีการสอบเทียบและอ้างอิงปริมาณการใส่ปุ๋ยยูเรียด้วยวิธีการวัดแบบกำหนดเวลาจากแถบวัดสีใบข้าว มาตรฐาน ของกรมการข้าว
ผ่านการทดสอบภาคสนามที่สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ที่ฟิลิปปินส์ พบว่าสามารถตรวจวัดสีของใบข้าวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับการประเมินการขาดธาตุอาหารโปแตสเซียมของใบข้าว ซึ่งอยู่ระหว่างทำการทดสอบ
ส่วนแอพพิเคชั่น คลอรีน (CL) ดร.ศรัณย์ บอกว่า เป็นระบบตรวจวัดปริมาณคลอรีนในบ่อกุ้งด้วยอุปกรณ์พกพาฉลาด ใช้หลักการของการตรวจวัดค่าสี ผสมผสานกับการทำปฏิกิริยาของคลอรีนในน้ำกับสารเคมีที่ทำให้เกิดสีขึ้น
ใช้โทรศัพท์มือถือระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ สามารถวิเคราะห์หาค่าสีที่เกิดขึ้นในระดับสีต่างๆ เทียบกับสีของวัตถุอ้างอิง ซึ่งช่วยให้สามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับสีและปริมาณความเข้มข้นของคลอรีนได้ในช่วง 0-2 ส่วนในล้านส่วน (ppm) เมื่อใช้ร่วมกับน้ำยาโอโทลิดีน ที่ทำหน้าที่เป็นอินดิเคเตอร์
โดยผลที่ได้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปใช้ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะการตรวจสอบน้ำก่อนที่จะเอาลูกกุ้งลงซึ่งถ้ามีคลอรีนน้อยกว่า 0.05 ppm จะแสดงผลตัวเลขเป็น 0 ppm พร้อมแสดงแถบสีเขียว แต่ถ้ามีคลอรีนมากกว่า 0.3 ppm จะแสดงผลตัวเลข > 0.3 ppm พร้อมแสดงแถบสีแดงทดสอบการใช้งานแล้วที่ฟาร์มกุ้งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ผลเป็นที่พอใจทั้งสองแอพทำงานบนโทรศัพท์มือถือ ที่มีกล้องด้านหลังและใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2.2 ขึ้นไป จากการที่พัฒนาจนใช้งานได้ง่าย สะดวก โหลดใช้ได้ฟรีต่อไป ผู้วิจัยมีแผนผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในระดับชุมชน .
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 17746 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,