ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 19252 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรระวังติดเชื้อร้าย

สัตวแพทย์เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรระวังเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เนื่องจากสุกรทุกช่วงอายุจะพบเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส...

data-ad-format="autorelaxed">

หมู สุกร

เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรระวังติดเชื้อร้าย สัตวแพทย์เตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรระวังเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค เนื่องจากสุกรทุกช่วงอายุจะพบเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส ซูอิสที่ก่อโรคอาหารเป็นพิษในคนได้ และสามาระติดต่อจากสุกรถึงคนได้ในทางบาดแผลที่ผิวหนัง

รศ.น.สพ.ดร.ศุภชัย เนื้อนวลสุวรรณ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันนี้เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค คือ สเตรปโตคอคคัส ซูอิส (Streptococcus suis) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น โค กระบือ แพะแกะ ม้า นก เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในสุกรทุกช่วงอายุ โดยจะพบบ่อยมากขึ้นตามอายุของสุกรไล่ตั้งแต่ระยะหย่านมจนถึงระยะขุน แม้ว่าเชื้อนี้จะก่อโรคในสุกรในอัตราต่ำ (< 5%) แต่กลับพบได้ในสุกรที่สุขภาพแข็งแรงเกือบทุกตัว แม้ว่าเชื้อนี้มีมากกว่า 30 serotype แต่ที่พบก่อโรคอาหารเป็นพิษในคน คือ Serotype 2 ในบางสายพันธุ์เท่านั้น

น.สพ.ศุภชัย กล่าวต่อว่า เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถติดต่อสู่คนได้ โดยเชื้อเมื่อเข้าสู่ทางเดินอาหารของลูกสุกรช่วงระยะดูดนม มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ โดยกระแสเลือด เช่น สมอง ทางเดินหายใจ แขนขา ข้อต่อ เป็นต้น ดังนั้น กลุ่มอาชีพที่มีความเสี่ยงได้รับจุลินทรีย์ก่อโรค คือ ผู้เลี้ยงสุกร พนักงานในโรงฆ่าสัตว์ สัตวแพทย์ ที่ทำงานใกล้ชิดกับสุกรทั้งที่มีชีวิตตลอดจนถึงซากและเนื้อสุกร ดังนั้น การติดต่อจากสุกรถึงคน จึงเป็นไปได้ 2 ทางสำคัญ ดังนี้

1. บาดแผลที่ผิวหนัง เช่น การเลี้ยง การขนส่ง การชำแหละซากสุกร เป็นต้น

2. อาหารที่ไม่สุกทั่วถึงกัน เนื่องจาก เชื้อนี้มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ซากหรือเนื้อสุกรจะมีการปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก่อโรคจากอวัยวะภายในของสุกรในระหว่างการฆ่า การขนส่ง การชำแหละซากที่เขียงตามตลาดด้วย

น.สพ.ศุภชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับอาการก่อโรคในคน เมื่อจุลินทรีย์ก่อโรคผ่านเข้าสู่ร่างกายทั้งทางบาดแผลหรือทางเดินอาหาร ก็จะมีการเพิ่มจำนวนและกระจายไปตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายโดยการติดเชื้อทางกระแสโลหิต ทำให้เกิดการอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมอง อาการเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ หูหนวก ซึ่งพบมีการรายงานในประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตภาคเหนือ เพราะฉะน้นการควบคุมป้องกันเชื้อนี้เจ้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ดังนี้

1.เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย และการล้างทำความสะอาดส่วนต่างๆ ของร่างกาย ภายหลังการสัมผัสกับสุกร ซากหรือเนื้อสุกร เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อไปยังสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

2.การรับประทานอาหารที่สุกอย่างทั่วถึงกัน แม้ว่าจุลินทรีย์จะมีความทนทานในสิ่งแวดล้อม แต่ความร้อนในการปรุงอาหารสามารถทำลายแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19252 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7388
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7613
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 7136
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 8329
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6877
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5921
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 6320
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>