data-ad-format="autorelaxed">
โรคราแป้งกับยางพารา ที่เกิดจากเชื้อราออยเดียม
(Powdery mildew or Oidium leaf disease)
อาการที่เกิด
ใบอ่อนตรงปลายใบจะบิดงอ มีสีดำ ร่วงหล่นมาจากต้น จะสังเกตุเห็นเส้นใยสีขาวใต้แผ่นใบแก่ เมื่อเชื้อราเจริญเติบโตต่อไปการทำลายใบจะสังเกตุเห็นรอยแผลสีเหลืองซีด แล้วเปลี่ยนเป็นรอยไหม้สีน้ำตาล ขนาดไม่สม่ำเสมอและไม่แน่นอน และเชื้อราจะเข้าทำลายดอกยาง โดยมีเชื้อราสีขาวคลุมดอกยางจนมีสีดำแล้วร่วง หากพบการระบาดมาก จะเริ่มแห้งตายจากยอดและตายยืนทั้งต้นในที่สุด และลามไปสู่ต้นอื่นๆ เรื่อยๆ
ช่วงเวลาระบาด
มักระบาดในช่วงเดือน ก.พ.-เม.ย. เพราะอยู่ในช่วงต้นยางผลิใบใหม่ตามธรรมดา มักระบาดในช่วงที่มีกลางคืนอากาศเย็น กลางวันอากาศร้อน และมีหมอกลงในตอนเช้า พบระบาดมากในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางพื้นที่ของภาคใต้เช่น สงขลา,นราธิวาส ภาคอื่นๆเช่น ฉะเชิงเทรา โรคนี้แพร่กระจายได้ด้วยลม และไร เป็นแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน จากต้นหนึ่งไปแพร่อีกต้นหนึ่งได้
การป้องกัน
1.เร่งใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงๆ ในช่วงยางแตกยอดอ่อน เพื่อเร่งใบใหม่แก่เร็ว ให้พ้นระยะที่อ่อนแอต่อการทำลายของเชื้อ
2.หากมีประวัติพบการระบาดในปีที่ผ่านมา พอเข้าสู่ช่วงผลิยอดอ่อน ทุกๆ 5-7 วัน พ่นด้วยผงกำมะถันในอัตราไร่ละ 1.5-5 กก.
การป้องกันในระยะยาว
เนื่องโรคนี้แพร่ระบาดมากับลมการป้องกันในระยะยาวที่ได้ผลดีที่สุกคือการเพิ่มภูมิต้านทานโรคให้กับพืชทุกๆ ปีด้วย SUN สารเสริม แคลเซียม แมกนีเซียม และ ซิลิกอน คุณภาพสูง เพราะทุกๆ ปีเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี กับยางเป็นจำนวนมากทำให้ดินเกิดความแน่นทึบและไม่สมดุลย์ ทำให้พืชอ่อนแอต่อโรค การใช้ SUN ปรับสมดุลย์ของดินทุกๆ ปีสามารถใส่ได้ทุกระยะ ไม่ต้องอาศัยความชื้นในดิน เพราะสารเหล่านี้ไม่ละเหิดเมื่อโดนแสงแดด แต่ละกลายเป็นแร่ที่ดินเป็นส่วนหนึ่งกับเนื้อดิน ทำให้มั่นใจได้ว่า ใส่แล้วเกิดประโยชน์กับพืชได้สูงสุด