data-ad-format="autorelaxed">
ไบโอพลาสติก
มองมุมใหม่ : รศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค กรุงเทพธุรกิจ
Bioplastic : นับถึงวันนี้ ทุกท่านคงได้รับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานครั้งล่าสุดกันไปพอท้วม ๆ นะครับ ซึ่งครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งร้ายแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศ าสตร์เศรษฐกิจ เนื่องจากมีผลติดพันต่อเนื่องกันยาวนาน และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงเมื่อไรครับ และยังส่งผลกระทบถึงทุกภาคส่วนของสังคมในวงกว้างอีกด้วย เรียกว่าเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้าทีเดียว
ล่าสุดมีหลายธุรกิจออกมาให้ความเห็นแล้ว ว่า หากราคาน้ำมันพุ่งขึ้นไปถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อไร ก็คงมีอีกหลายกิจการที่รับไม่ไหว ต้องปิดตัวไปอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้วิกฤติครั้งนี้ลุกลามไปถึงด้านของสังคมที่เกี่ยวข้อ งในทุกๆ ด้าน และค่าครองชีพของประชาชนก็จะดีดตัวขึ้นสูงกว่านี้ โดยอัตราเงินเฟ้อสองหลักคงจะไม่ไกลเกินจริง
โดยเฉพาะสินค้าที่มีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันทั้งหลาย ก็จะมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น จึงเริ่มมีการพัฒนาสินค้าขึ้นมาทดแทนกันขนานใหญ่ ไม่แพ้พลังงานทดแทนในสารพัดรูปแบบกันเลยทีเดียว สิ่งหนึ่งที่กำลังอยู่ในความสนใจอย่างมาก และสอดคล้องกับกระแสสังคม ในเรื่องรักโลกและสิ่งแวดล้อม นั่นคือ การลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียม แต่ไปเน้นการผลิตพลาสติกจากพืชแทน ในชื่อของ "ไบโอพลาสติก" ครับ
ไบโอพลาสติกนี้ แท้จริงแล้ว มีผู้คิดค้นและพัฒนามาหลายปีแล้วครับ เพียงแต่ในช่วงก่อนๆ ที่กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่ างๆ ยังไม่รุนแรงเท่านี้ ประชาชนจึงยังไม่ให้ความสนใจมากนัก กอปรกับต้นทุนที่ผลิตได้ในขณะนี้ ยังมีราคาแพงอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียม จึงทำให้ขาดการพัฒนาขนานใหญ่ขึ้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์
แต่ในปัจจุบัน จากการที่สถานการณ์ทุกด้านเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไป ไบโอพลาสติกจึงถูกปัดฝุ่น กลับเข้ามาอยู่ในความสนใจจริงจังขึ้น ถึงขนาดมองว่าจะเป็นสินค้าทดแทนพลาสติกทั่วโลกอย่างจริงจังกันเ ลย ซึ่ง ไบโอพลาสติกนี้ จะผลิตมาจากการปรับเปลี่ยนพัฒนาทางพันธุกรรมของพืช ในลักษณะของการตกแต่งยีนนั่นเอง เพื่อทำให้เซลล์ของพืชนั้นๆ มีสารที่จะนำไปสร้างเป็นไบโอพลาสติกขึ้นมาได้ภายหลัง โดยได้มีหลายกิจการผ่านการวิจัย และพัฒนาในด้านนี้มาค่อนข้างมาก จนมีการจดสิทธิบัตรแล้ว อาทิเช่น บริษัท Metabolix ในอเมริกา ก็นับว่าเป็นหนึ่งในผู้นำของธุรกิจไบโอพลาสติกนี้
ธุรกิจนี้ต้องนับว่ากำลังเปล่งประกายจรัสแสงทีเดียว ไม่เพียงเพราะวิกฤติน้ำมัน แต่ยังได้รับอานิสงส์ จากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ ซึ่งพยายามลดการบริโภคพลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียมนี้ลง เพราะเนื่องจากจะมีสารเคมีเป็นพิษตกค้างมากมายแล้ว การนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) ก็ยังไม่สมบูรณ์แบบนัก กล่าวคือ ยังต้องเสียพลังงานความร้อนสูงในการรีไซเคิลพลาสติกเหล่านี้ อีกทั้งภายในกระบวนการก็ยังมีการปลดปล่อยสารพิษออกมาด้วยเช่นกัน
ธุรกิจการผลิตไบโอพลาสติกนี้ ไม่อยู่ในวงจำกัดเหมือนเมื่อก่อนอีกแล้วครับ เพราะดีมานด์เริ่มพุ่งสูงขึ้น ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก จึงต้องลงมาร่วมวงไพบูลย์นี้ด้วย อาทิเช่น ดูปองท์ ที่ได้สร้างโรงงานผลิตไบโอพลาสติกขึ้นมาเมื่อสองปีที่ผ่านมา และสามารถสร้างยอดขายพลาสติกจากพืชนี้ได้ถึงกว่าสามพันล้านบาททีเดียว
บริษัท คาร์กิล เนเจอร์เวอร์ค ก็ไม่แพ้กันครับ เพราะขายไบโอพลาสติกให้กับตลาดโลก เพื่อการนำไปผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารต่างๆ ในปีที่ผ่านมาขายไปถึง 140,000 เมตริกตัน และในบราซิลที่เป็นหนึ่งในผู้นำการผลิตพลังงานทดแทนจากอ้อยอยู่ แล้ว ก็ยังนำเอาผลผลิตอ้อยของตน มาทำเป็นไบโอพลาสติกด้วยครับ ซึ่งก็กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก
ในแถบบ้านเราก็เริ่มมีกิจการที่จับโอกาสทางธุรกิจนี้แล้ว โดยบริษัทโตเร แห่งแดนอาทิตย์อุทัย ได้ผลิตพลาสติกจากการหมักแป้ง และน้ำตาล ซึ่งคล้ายคลึงกับกิจการหลายแห่งในอเมริกาที่ผลิตไบโอพลาสติกจาก ข้าวสาลี มันสำปะหลัง มันฝรั่ง และถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่าพืชหลากหลายชนิดสามารถนำมาทดแทนพลาสติกที่เราใช้ๆ กันอยู่ได้อย่างดี และไม่ส่งผลร้ายต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย
ข้อดีของไบโอพลาสติกนี้ นอกจากจะย่อยสลายง่าย ไม่ทิ้งสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เหมือนกับพลาสติกจากปิโตรเลียมแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสุขภาพของผู้บริโภคด้วย กล่าวคือ จะไม่ปลดปล่อยสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกาย ซึ่งมักก่อให้เกิดมะเร็งในระยะยาว จึงเป็นที่นิยมมากในการทำบรรจุภัณฑ์ของอาหาร เครื่องดื่ม และของรับประทานเล่นต่างๆ โดยน่าจะเป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างรายได้แก่ธุรกิจไบโอพลาสติกน ี้ในระยะยาว
อย่างไรก็ตาม ไบโอพลาสติกยังเป็นเพียงแค่การเริ่มต้นเท่านั้นครับ ทั้งในด้านของเทคโนโลยีที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก จนกระทั่งได้ผลผลิตที่สูงขึ้น คุณภาพดีขึ้น มีความคงทนถาวรเพียงพอ และที่สำคัญคือต้นทุนต้องไม่สูงเกินไป จนกระทั่งไม่สามารถทดแทนพลาสติกที่ใช้ในปัจจุบันอยู่ได้ ซึ่งหลายกิจการตอนนี้ก็กำลังแข่งขันกันอย่างมาก ในการทำวิจัยและพัฒนา เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาให้ได้ ซึ่งบ่อยครั้งจะมีการจับมือร่วมกัน กับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัยต่างๆ ด้วย
อีกทั้งขณะนี้ ปริมาณการผลิตไบโอพลาสติกยังน้อยมาก เมื่อเทียบกับพลาสติกแบบปกติ โดยยังมีไม่ถึง 1 ล้านตันเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้พลาสติกปัจจุบันที่มีถึง 500 ล้านตัน จึงยังนับว่ามีโอกาสอีกมากทีเดียว สำหรับธุรกิจไบโอพลาสติกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการคาดกันว่า ต้นทุนของการผลิตพลาสติกโดยเฉลี่ยจะสูงขึ้นถึงประมาณ 20% ในปีนี้
ถึงแม้ว่าจะยังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนอย่างมากในธุรกิจนี้ แต่ก็มีข้อควรระวังครับ เพราะการนำพืช หรือทรัพยากรทางการเกษตร มาใช้ในการผลิตไบโอพลาสติก อาจจะยิ่งทำให้ภาวะการขาดแคลนอาหารมากขึ้น และราคาของอาหารหรือผลิตผลทางการเกษตรก็จะยิ่งสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการซ้ำเติมสถานการณ์ทางเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก เพราะปัจจุบันก็มีดีมานด์เพิ่มขึ้นมาก สำหรับการนำเอาผลิตผลทางการเกษตรไปเป็นแหล่งพลังงานอยู่แล้ว จึงต้องมีการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เกิดความสมดุลสำหรับของผลิตผลดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ข่าว Bioplastic จาก สนช.
สนช.ดันใช้ทำพลาสติกแทนปิโตรเคมี ชาวไร่มันสำปะหลังเตรียมเฮรับงานใหญ่
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สนช. ถือเป็นองค์กรที่ต้องค้นคว้านวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาตอบสนองความต้อง การของผู้บริโภคยุคใหม่เสมอ และนวัตกรรมล่าสุดก็เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจเป็น อย่างยิ่งคือ ผลิตพลาสติกจากมันสำปะหลังแทนปิโตรเคมี
โดยชูจุดแข็งไทยเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลัง ถึงขนาดจะทำให้เป็น “ฮับ” ของ อุตสาหกรรมนี้ได้ภายใน 5 ปีและนี่อาจถือเป็น “โชคครั้งใหญ่” ของชาวไร่มันอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ได้รับอานิสงส์จากการเป็นพืชที่ใช้ในการผลิต เอธานอล แต่การนำไปผลิตเอธานอล ก็ยังนับเป็นส่วนน้อยเมื่อเทียบกับอ้อยหรือ กากน้ำตาล
“ที่ผ่านมาราคามันสำปะหลังไม่ดี กิโลกรัมละ .90-1.50 บาท ชาวไร่ก็ไม่อยากปลูก เอาหัวโยนลงดินแล้วปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมขาติ ขนาดทำอย่าง นั้นยังได้ 3.8 ตันต่อไร่” ดร.ปิยะ จงวัฒนา กรรมการผู้จัดการ บมจ.พัฒน์กล กล่าวกับ “สยามธุรกิจ” ถึงปัญหาของมันสำปะหลังในอดีต “แต่วันนี้มันสำปะหลัง กำลังจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจเต็ม รูปแบบ เพราะนอกจากจะนำไปทำพลาสติกแล้วยังเป็นพืชสำคัญที่นำไปผลิตเอธา นอล ซึ่งล่าสุดพัฒน์กลก็ได้เข้าไปรับเหมาก่อสร้างโรงงานเอธานอล ให้กับกลุ่มทุนใหญ่ 2 กลุ่ม ซึ่งใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตล้วนๆ ผม เชื่อว่าในอนาคตเราอาจพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตมากถ ึง 20 ตันต่อไร่ก็ได้ และราคาจะดีกว่าในปัจจุบันอีกมาก”
ด้าน ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในฐานะต้นคิดนำมันสำปะหลังไปทำพลาสติก กล่าวว่า ทุกวันนี้หลายหน่วยงานได้ค้นคว้านวัตกรรมทำพลาสติกจากพืชแทน ปิโตรเคมี เช่น บริษัทผลิตรถยนต์มาสด้าได้ผลิตรถยนต์ที่อุปกรณ์ภายในรถทั้งหมด ผลิตจากข้าวโพด ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพ โดยจะนำออกสู่ตลาดในญี่ปุ่นต้นปี 2552 และรัฐบาลของประเทศนอร์เวย์ได้สั่งซื้อไปแล้ว 30 คัน
หรือบริษัท CSM จากเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้เข้ามาลงทุนตั้งโรงงานที่ระยอง เมื่อปี 2551 ก็ผลิตกรดแลคติกจากข้าวโพดเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา มีกำลังการผลิตประมาณแสนตันต่อปี ส่งออกร้อยละ 90 ใช้ในประเทศร้อยละ 10 นั้น และกำลังจะเข้ามาขยายการลงทุนด้าน PLA (Poly Lactic Acid) ในไทยซึ่งอยู่ระหว่างการหาพาร์ตเนอร์ โดย PLA เป็น เทคโนโลยีที่พัฒนาต่อมาจาก Lactic Acid ซึ่งมีคุณสมบัติที่สูงขึ้นทั้งการทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า ถึง 200 องศา ทำให้ ตลาดการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์กว้างมากขึ้น กว่า Lactic Acid
นอกจากนี้ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำพลาสติกชีวภา พมาผลิตเป็นอุปกรณ์ที่ให้บริการบนเครื่องบิน ซึ่งแม้ว่าจะทำให้ต้นทุนสูงแต่เมื่อคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลดป ัญหาสิ่งแวดล้อม
“เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้จัดงานประชุมนานาชาติ ว่าด้วยเรื่อง เชื้อเพลิงชีวภาพและพลาสติก ชีวภาพเป็นครั้งแรกของประเทศไทย โดยมีเป้าหมาย 4 ประการคือ 1.เพื่อติด ตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีของเชื้อเพลิง ชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศสู่ประเทศไทย 2.ประกาศศักยภาพของประเทศไทยในด้านความพร้อมตั้งแต่อุตสาหกรรมต ้นน้ำถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ 3.หาโอกาสในการเจรจาร่วมลงทุนทางธุรกิจกับนักลงทุนต่างชาติ และ 4.สร้างความเข้าใจและตื่นตัวให้กับคนไทยว่าเทคโนโลยีชีวภาพที่เ ป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง”
ดร.ศุภชัย กล่าวอีกว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการจัดงานครั้งนี้ค ือ การถ่ายทอดทางเทคโนโลยีซึ่งจะทำให้เกิดความก้าวหน้าและการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และมีโอกาสในการร่วมลงทุน ซึ่งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งเป้าใน 3-5 ปี จะมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพเกิดขึ้นในประเทศไทย และสามารถนำมาพัฒนาเป็นพลังงานเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานใ ห้ประเทศได้ในอนาคต และจะเป็นช่องทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรที่จะเ ป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพแ ละเชื้อเพลิงชีวภาพด้วย
ดร.ศุภชัยกล่าวว่า นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญของประเทศไทยที่เป็นผู้นำด้านเชื้อเพลิง ชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพ ในภูมิภาคนี้ เนื่องจากไทยมีความอุดมสมบูรณ์และแข็งแกร่งด้านวัตถุดิบชีวมวล (biomass) และเทคโนโลยีชีวภาพ โดยไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกมันสำปะหลังเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบ ด้านการเกษตรที่สำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ?
นอกจากนี้ไทยยังมีอุตสาหกรรมปลายน้ำที่แข็งแกร่ง โดยมีโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกกว่า 4,000 แห่ง ที่พร้อมจะเปลี่ยนมาเป็นโรงงานพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่กำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกขณะนี้มีเพียง 700,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 1 ของความต้อง การปริมาณพลาสติกทั่วโลกที่มีสูงถึง 200 ล้านตันจึงยังมีโอกาสที่ไทยจะสามารถเป็นฮับของอุตสาหกรรมพลาสติ ชีวภาพได้ ภายใน 5 ปี โดยขณะนี้รัฐบาลได้อนุมัติ งบประมาณ 1,800 ล้านบาท ในการ ผลักดันให้ไทยมีโรงงานต้นน้ำในการผลิตวัตถุดิบ คือ โพลีแลคติคเอซิด ในการผลิต สินค้าพลาสติกชีวภาพให้ได้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 3 โรงงาน ภายใน 5 ปีนี้
“การส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยเกิดการตื่นตัวในการใช้ผลิตภัณฑ ์พลาสติกชีวภาพนั้น ประเด็นสำคัญนั้นรัฐบาลต้องมีนโยบายและการสนับสนุนที่จริงจังแล ะชัดเจนเพื่อผลักดัน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบและการผลิตของเชื้อเพลิงชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพยังอยู่ในอัตราที่สูงกว่าพลาสติกที่ผลิตจากวัต ถุดิบจากปิโตรเคมีร้อยละ 30-100”
อ้างอิง : http://www.tiche.org