data-ad-format="autorelaxed">
มอดดิน มีสีสันกลมกลืนกับดิน
โดยทั่วไปชอบอาศัยอยู่ในดินและมีสีสันกลมกลืนกับสีดินจึงได้ชื่อว่า มอดดิน แต่มีรูปร่างลำตัวอ้วนป้อมสั้น และมีปากงุ้มลงคล้ายงวงช้าง เกษตรกรจึงนิยมเรียกว่า มอดช้าง พบระบาดครั้งแรกที่อำเภอลำนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ปี 2522 และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น โดยกัดกินใบและต้นอ่อน ตลอดจนเมล็ดที่เพิ่งงอกของข้าวโพด ทำให้ต้นกล้าเสียหายถึงตายได้ ต้นที่รอดจากการทำลายจะแตกแขนง ชะงักการเจริญเติบโตทำให้ข้าวโพดแก่ไม่พร้อมกัน ฝักลีบเล็กหรือไม่ติดเมล็ด เกษตรกรไม่สามารถแก้ไขเมื่อเกิดการระบาดของแมลงชนิดนี้ จำเป็นต้องไถทิ้งและปลูกใหม่ และอาจต้องทำเช่นนี้ 3-5 ครั้ง ต่อฤดูปลูกที่ 2 ในระหว่างปลายเดือนสิงหาคม และกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่พบการระบาดของแมลงรุนแรง และรวดเร็ว ประกอบกับในระยะดังกล่าวเป็นช่วงปลายฤดูฝน ซึ่งมักประสบปัญหาฝนแล้ง จึงเป็นการเพิ่มระดับความเสียหายจากแมลงชนิดนี้ให้รุนแรงยิ่งขึ้น แมลงชนิดนี้จะทำลายพืชในระยะตัวเต็มวัยเท่านั้น
ลักษณะของ มอดดิน
รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ มอดดินในระยะไข่มีลักษณะกลมรีสีขาว ผิวเรียบวางเป็นฟองเดี่ยว ๆ มีขนาดความกว้างเฉลี่ย 0.30 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 0.50 มิลลิเมตร ระยะไข่เฉลี่ย 6.8 วัน หนอนมีรูปร่างงอเป็นรูปตัว C ไม่มีขา หนอนทีฟักใหม่ ๆ มีสีขาวใสและมีขนเล็ก ๆ สีขาวใสทั้งตัว หัวกะโหลกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อหนอนอายุมากขึ้น หนอนที่โตเต็มที่มีความกว้างของหัวกะโหลกเฉลี่ย 0.75 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 6.5 มิลลิเมตร ระยะหนอนเฉลี่ย 45 วัน ดักแด้มีรูปร่างแบบ exaratepupa คือขาและปีกเคลื่อนไหวได้เป็นอิสระไม่ติดกับลำตัว มีสีขาวครีม ขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ย 2.00 มิลลิเมตร ความยาวเฉลี่ย 3.89 มิลลิเมตร ระยะดักแด้เฉลี่ย 5 วัน ตัวเต็มวัยเป็นตัวงวงขนาดเล็กลำตัวป้อมมีสีดำปนน้ำตาลและเทา มีขนาดความกว้างของลำตัวเฉลี่ย 2.22 มิลลิเมตร ความยาวลำตัวเฉลี่ย 3.5 มิลลิเมตร กลางวันพบเดินอยู่ทั่ว ๆ ไปในแปลงหรือหลบอยู่ใต้ดินบริเวณโคนต้นพืชหรือเศษซากพืช โดยเฉพาะตามกอต้นอ่อนของข้าวโพดที่งอกจากฝักที่หลงตกค้างอยู่ ตัวเต็มวัยเริ่มออกหากินในเวลาพลบค่ำ พร้อมกับจับคู่ผสมพันธุ์กันไปด้วยตัวเต็มวัยวางไข่ในเดิน และตัวหนอนจะอาศัยกินอินทรียวัตถุที่อยู่ในดิน จนกระทั่งเข้าดักแด้
แมลงหางหนีบ ป้องกันกำจัด มอดดิน ได้
การป้องกันกำจัด แมลงศัตรูธรรมชาติที่สำคัญ คือ แมลงหางหนีบ Prereus simulans Stallen เป็นตัวห้ำกัดกินไข่และหนอนของมอดดิน เนื่องจากมอดดินทำลายข้าวโพดตั้งแต่เมล็ดเริ่มงอก ดังนั้นการป้องกันกำจัดที่ดีที่สุด คือ การป้องกันมิใช่กำจัด หากรอใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นเมื่อพบมีรอยทำลายแล้วอาจป้องกันไว้ไม่ได้เพราะลักษณะการทำลายรุนแรงมาก ถ้าเกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นถ้าจำเป็นที่ต้องปลูกข้าวโพดในแหล่งที่เคยมีการระบาดหรือมีการระบาดทุกปี ควรใช้สารฆ่าแมลงประเภทคลุกเมล็ดก่อนปลูก เพราะให้ผลในการคุ้มกันได้ดี อีกทั้งประหยัด สะดวกและปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งสารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ผลดี คือ imidacloprid (Guacho 70% WS) อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ carbosulfan (Posse 25 ST) อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม สำหรับในกรณีที่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลงชนิดผสมน้ำฉีดพ่น หรือหากยังพบปริมาณแมลงสูงอยู่โดยสังเกตจากรอยทำลาย ถ้าพบต้นที่ใบถูกทำลายเสียหาย 50 เปอร์เซ็นต์ ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทั้งหมดให้พ่นสารฆ่าแมลงชนิดผสมน้ำอีกครั้งให้ทั่วต้นอ่อนและรอบ ๆ บริเวณโคนต้น สารฆ่าแมลงที่ใช้ได้ดี คือ carbosulfan (Posse 20% EC) อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ carbousulfan (Posses 25% ST) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก โดยใช้อัตรา 20 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม หรือ imidacloprid (Gaucho 70% WS) คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก โดยใช้อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม เนื่องจากการทำลายของแมลงชนิดนี้จะรุนแรงขึ้นเมื่อแล้งจัด ดังนั้นควรจัดระยะเวลาปลูกเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ต้นอ่อนกระทบแล้ง เพราะหลัง
ข้อมูลจาก arda.or.th/kasetinfo/north/plant/corn_insect.html