ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 33303 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew) - โรคข้าวโพด

โรคราน้ำค้างของข้าวโพด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าโรคใบลาย เป็นโรคที่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง

data-ad-format="autorelaxed">

โรคราน้ำค้าง ของข้าวโพด

หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าโรคใบลาย เป็นโรคที่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงให้แก่แหล่งที่ปลูกข้าวโพดในหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย การสำรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อำเภอพยุหะคีรีและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปี2511 ต่อมาพบระบาดอีกในหลายจังหวัด เช่น ลพบุรี ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา จนถึงปัจจุบันนอกจากจังหวัดที่ได้กล่าวถึงโรคนี้ระบาดไปทุกแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพด โดยเฉพาะกาญจนบุรีและอุทัยธานีที่มีการปลูกข้าวโพดติดต่อกันตลอดปี พบว่าไม่สามารถควบคุมโรคโดยใช้สารเมตาแลคซิลที่เคยใช้ได้ผลในอดีตที่ผ่านมา ความรุนแรงของโรคทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์ ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงและพันธุ์ข้าวโพดที่อ่อนแอจะทำความเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคมาก

โรคราน้ำค้าง ข้าวโพด

ลักษณะอาการของ โรคราน้ำค้าง มี 3 ลักษณะดังนี้

1. Infection site หรือบางครั้งเรียกว่า infection point อาการที่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร จุดมีลักษณะเป็นสีเขียวฉ่ำน้ำ เกิดจากการเข้าทำลายของ germ tube ที่งอกออกจากสปอร์ มักเกิดและเห็นได้ชัดกับข้าวโพดที่ระยะกล้าอายุประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์

2. Local symptom อาการเฉพาะแห่ง เป็นลักษณะอาการที่เกิดต่อมาจากอาการแบบที่1พบเป็นทางยาวสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ แผลจะขยายจากจุด infection site ลามลงมาทางโคนใบ ต่อมาเมื่อข้าวโพดอายุมากเข้ารอยสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายใบไหม้และแห้งตายในที่สุด

3. Systemic symptom อาการกระจายทั่วต้น ลักษณะอาการที่ต้นข้าวโพดมีใบสีเหลืองซีดโดยเฉพาะในบริเวณยอด ต้นแคระแกรน เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย บางครั้งใบยอดมีลักษณะอาการใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ หลังจากใบแรกที่แสดงอาการแบบนี้แล้ว ใบที่เจริญต่อมาจะแสดงอาการแบบ systemic หมด ถ้าความชื้นสูงเชื้อทำให้เกิดอาการยอดแตกฝอยเป็นพุ่ม เกสรตัวผู้กลายเป็นเกสรตัวเมียสร้างเมล็ดและต้นอ่อน

โรคใบลาย ข้าวโพด

สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการระบาดของ โรคราน้ำค้าง

1. ความชื้นของบรรยากาศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำค้าง อากาศเย็น และฝนตกชุกอย่างไรก็ตามแม้ว่าฝนจะตกชุกแต่ดินไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้ความชื้นที่สูงเกิดในระยะเวลาสั้นๆ โรคก็เกิดน้อย

2. อุณหภูมิของบรรยากาศ เชื้อโรคนี้จะเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็น คือประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส

 

เชื้อสาเหตุของ โรคราน้ำค้าง

เชื้อรา Peronosclerospora sorghi (Weston &Uppal) C.G. Shaw เชื้อราชนิดนี้มีก้านชูสปอร์ตรง แผ่ขยายออกที่ปลาย สีใส มีขนาด 180-300 ไมครอน มักจะแตกแขนงแบบสองแฉกเสมอ แทงทะลุออกมาจากปากใบข้าวโพดแบบเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม จากใต้ใบและด้านบนของใบ สปอร์ใสรูปไข่หรือรียาวมีขนาดอยู่ระหว่าง 14.4-27.3x15-28.9 ไมครอน ติดอยู่บนก้านชูเรียวแหลมยาวประมาณ 13 ไมครอน


การงอกของสปอร์โดยสร้างท่อเล็กยาว เมื่อมีหยดน้ำแล้วแทงทะลุผ่านปากใบเข้าทำลายพืช เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเชื้อราสร้างสปอร์ผนังหนา รูปร่างยาวรี ฝังตัวอยู่ในเนื้อใบบริเวณท่อน้ำท่ออาหาร มีขนาด 25-42.9 ไมครอน สีใส ผนังสีเหลือง เพื่อคงทนต่อสภาพแวดล้อมและติดไปกับเมล็ด ใบข้าวโพดที่แสดงอาการโรค เชื้อราจะสร้างสปอร์เมื่อมี  ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 17-29 oซ ช่วงที่เหมาะสมคือ 24-26 oซ การงอกของ สปอร์ต้องการความชื้นสัมพัทธ์สูง อุณหภูมิ 21-25 oซ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนแล้ว สปอร์มีอายุเพียง 3-4 ชั่วโมง และเมื่อถูกแสงแดดยามเช้าก็ตายไป การเข้าทำลายพืชทั้งต้นสามารถพบได้ที่ อุณหภูมิ 11-32 oซ ที่มีความชื้นอย่างน้อย 4 ชม.

 

การแพร่ระบาดของ โรคราน้ำค้าง

โรคจะเริ่มระบาดตอนต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมไปจนสิ้นฤดูฝนเมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิ 20-26 oซ และความชื้นสูงเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราชนิดนี้มาก โดยสามารถพบเชื้อโรคสร้างสปอร์ เป็นผงสีขาวๆบนผิวใบที่ลายของข้าวโพดในเวลาเช้ามืดของคืนที่มีฝนตกและอากาศค่อนข้างเย็น เมื่อสปอร์แก่จะแพร่ระบาดไปโดยลมเข้าทำลายต้นอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้เชื้อที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่แห้งดี เชื้อโรคที่ตกอยู่ในดิน หรือที่เกิดบนพืชอาศัยอื่น พอสรุปได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
1. ใบข้าวโพดที่เป็นโรค
2. ติดมากับเมล็ดข้าวโพดจากต้นที่เป็นโรค
3. พืชอาศัยบางชนิด เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพงหรือแขม หรืออ้อยเลา หรือหญ้าคาหลวง (Saccharum spontaneaum)
4. เชื้อราอาจจะตกค้างในดินในรูปของสปอร์ที่มีผนังหนา

 

การป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง

1. หลีกเลี่ยงการปลูกก่อนฝนตกชุกหรือปลูกก่อนฤดูฝน ซึ่งโดยปกติพบว่าโรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนกับข้าวโพดที่มีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคมาก แต่ถ้าต้นข้าวโพดมีอายุมากกว่า 1 เดือน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคน้อย

2. การกำจัดพืชอาศัย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อสาเหตุได้ พบว่า หญ้าเจ้าชู้ ข้าวฟ่าง หญ้าพง และอ้อย แสดงอาการโรคราน้ำค้าง สปอร์ที่สร้างบนพืชทั้งสี่สามารถทำให้เกิดโรคดังกล่าวแก่ข้าวโพดได้ หรือข้าวโพดที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือต้นอ่อนที่งอกใหม่จากเมล็ดที่ร่วงหล่นในแปลง เชื้อสาเหตุของโรคก็สามารถอยู่ข้ามฤดูได้เช่นกัน

3. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์

4. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท (ความชื้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์) มาทำพันธุ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่ติดมากับเมล็ด เมล็ดข้าวโพดที่ได้จากต้นที่เป็นโรคเมื่อยังมีความชื้นในเมล็ดสูง(15-20เปอร์เซ็นต์) จะสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคได้

5. ใช้พันธุ์ต้านทาน ปัจจุบันมีข้าวโพดทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้เป็น จำนวนมาก มีความต้านทานเชื้อสาเหตุโรคราน้ำค้างได้ดีและให้ผลผลิตสูง เช่น พันธุ์นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 สุวรรณ 3601

6. การใช้สารเคมีเมตาแลกซิล (Apron 35 SD) ในอัตรา 7 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด1 กิโลกรัม คลุกเมล็ดก่อนปลูก สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ แต่ในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี และอุทัยธานี ไม่สามารถใช้สารนี้ป้องกันกำจัดโรคได้

ข้อมูลจาก : http://www.arda.or.th.122.155.171.22.no-domain.name/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 33303 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5554
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 6633
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 7127
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 7397
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6832
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5666
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5946
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>