ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่ข้าวโพด | อ่านแล้ว 29093 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ทางเลือกลดต้นทุนเกษตรกร

สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน จึงได้จัดทำ โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย เพื่อช่วยเสริมศักยภาพเกษตร.

data-ad-format="autorelaxed">

เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด

''หมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด''ทางเลือกลดต้นทุนเกษตรกร “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ไทยมีศักยภาพการผลิตสูง แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จำเป็นต้องพึ่งพาการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีราคาถูกกว่า โดยปี 2555 มีปริมาณการนำเข้าแล้วกว่า 159,446.30 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 563.96 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันผู้ผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของไทยประสบปัญหาราคาปัจจัยการผลิตสูง เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน จึงได้จัดทำ ’โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดในประเทศไทย” (Maize Seed Village in Thailand) เพื่อช่วยเสริมศักยภาพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งสามารถใช้เป็นต้นแบบในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีคุณภาพใช้เองและเพื่อการค้าได้

นายไพโรจน์ สุวรรณจินดา รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า โครงการหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดฯ เป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร และสถาบันพัฒนาชนบท สาธารณรัฐเกาหลี (Rural Development Administration, RDA) ภายใต้โครงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านอาหารและเกษตรแห่งอาเซียน (AFACI) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและเกิดความมั่นคงทางอาหาร โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก RDA มีระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2553-2556

เบื้องต้นกรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน เป็นผู้ประสานงานหลักและขับเคลื่อนโครงการฯ โดยร่วมกับ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และสุโขทัย จัดประชุมชี้แจงและทำความเข้าใจให้กับเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งยังได้จัดทำแปลงสาธิตพันธุ์และการผลิตเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดลูกผสมนครสวรรค์ 3 ซึ่งเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร มีความทนแล้งในช่วง ออกดอก ให้ผลผลิตสูง และต้านทานโรคราน้ำค้าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกร โดยมีศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์เป็นหน่วยงานเตรียมเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์แท้ พันธุ์แม่ (ตากฟ้า 1) และพันธุ์พ่อ (ตากฟ้า 3) เพื่อให้เกษตรกรนำไปผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสม นครสวรรค์ 3

นอกจากนั้น ยังได้จัดทำเอกสารคู่มือการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสม และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปสู่เกษตรกร พร้อมสนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ ตาก เชียงใหม่ สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมใช้เองในชุมชน เน้นพันธุ์นครสวรรค์ 3 ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ ทั้งสิ้น 175 คน ใน 52 หมู่บ้าน 34 ตำบล 22 อำเภอ พื้นที่การผลิตรวม 594 ไร่ มีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไปแล้ว 3 รอบการผลิต ได้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์รวม 80 ตัน กระจายสู่พื้นที่เพาะปลูกได้กว่า 40,000 ไร่

นางสาวชุติมา คชวัฒน์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า หัวใจสำคัญของการทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์คุณภาพดี เกษตรกรต้องคำนึงถึงความพร้อมหลายด้านไม่ว่าจะเป็นสภาพภูมิอากาศ การเลือกพื้นที่ปลูก การปลูกและดูแลรักษา การตรวจแปลงและการคัดพันธุ์ปน การกำจัดช่อดอกตัวผู้ในแถวสายพันธุ์แท้พันธุ์แม่ การผสมเกสร การตัดต้นสายพันธุ์แท้พันธุ์พ่อทิ้ง การเก็บเกี่ยว การปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ และคุณภาพเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น

จากการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจกับเทคนิคการผลิต ยอมรับและปรับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตนเอง เมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรผลิตได้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ประมาณ 96-98 % สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อเมล็ดพันธุ์ได้ 40% โดยเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ได้มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ประมาณ 20% ที่เหลือแบ่งปันพี่น้องและจำหน่ายให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนกลุ่มเกษตรกรที่รับเมล็ดพันธุ์ไปปลูกก็มีความพึงพอใจเช่นเดียวกัน เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มีคุณภาพดี โดยเฉพาะมีเปอร์เซ็นต์งอกและเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง

“หากเกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไว้ใช้เอง จะสามารถช่วยลดต้นทุนค่าเมล็ดพันธุ์ได้ค่อนข้างมาก ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาและลดความเสี่ยงการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคาดว่า โครงการฯ นี้จะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรตระหนักถึงความสำคัญของหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ และเป็นแรงบันดาลใจให้ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และสามารถพัฒนาเป็นกลุ่มผลิตเพื่อเสริมสร้างรายได้ต่อไป อนาคตหากได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมจากกรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชไร่ฯ มีแผนเร่งขยายผลการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมเพิ่มมากขึ้น เพื่อขยายฐานการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมที่มีคุณภาพ ราคาไม่แพงป้อนสู่แหล่งผลิต” นาวสาวชุติมากล่าวอย่างไรก็ตาม หากสนใจข้อมูลเกี่ยวกับ “หมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร โทร. 0-2940-6841, 0-2940-5492 หรือ 0-2579-3930-1.

อ้างอิง:www.dailynews.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 29093 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่ข้าวโพด]:
หนอนเจาะฝักข้าวโพด ข้าวโพดใบไหม้ ข้าวโพดฝักหวี ราสนิมข้าวโพด รู้โรคแก้ได้ แก้แล้วผลผลิตเพิ่ม
ข้าวโพดอ่อนแอต่อโรค เป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้ หนอน แมลงศัตรูพืช และโรคพืชต่างๆ เข้าทำลายข้าวโพดของเราได้ง่าย
อ่านแล้ว: 5554
โรคราสนิม ในข้าวโพด สร้างความเสียหาย ทำให้ผลผลิตลดลง ควรป้องกัด และรักษา
โรคราสนิม ที่เกิดกับข้าวโพด ใบข้าวโพดจะซีด เหลือง และแห้ง ซึ่งส่งให้ให้ ผลผลิตข้าวโพดลดลงเป็นอย่างมาก
อ่านแล้ว: 6634
ข้าวโพดใบไหม้ โรคใบไหม้แผลใหญ่ ทำข้าวโพดแห้งตายได้ ป้องกันได้ดังนี้
เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของโรคนี้ แผลหลายๆแผลจะขยายรวมกันมาก จนทำให้ข้าวโพด ใบแห้ง และตายลงไปในที่สุด
อ่านแล้ว: 7127
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ทำให้ข้าวโพดติดเมล็ดน้อย ไม่เต็มฟัก และยังดึงดูดศัตรู้พืชอื่นๆ - ปราบได้
เพลี้ยอ่อนข้าวโพด เข้าทำลายต้นข้าวโพด โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น กาบใบ โคนใบ ยอด กาบฝัก
อ่านแล้ว: 7397
กลางปีหน้า เจียไต๋ ปล่อยของ ข้าวโพดหวานม่วง..กินสดได้
ข้าวโพดหวานลูกผสมสีม่วง ที่ใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์มานานถึง 10 ปี เพื่อให้ได้ข้าวโพดที่มี แอนโทไซยานิน หรือสาร..
อ่านแล้ว: 6832
ข้าวโพด8ล้านตันใครได้-ใครเสีย พรศิลป์ ชำแหละธุรกิจอาหารสัตว์

อ่านแล้ว: 5667
บัณฑิตเกษตรยุคไอที ปั้นข้าวโพดแดงขายผ่านโซเชียล
บัณฑิตป้ายแดงจากรั้วนนทรี ผู้ไม่อยากเป็นลูกจ้าง เข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว ทำการตลาดเอง ปั้นแพ็กเกจสุดเก๋ ขายผ่านออนไลน์
อ่านแล้ว: 5947
หมวด ไร่ข้าวโพด ทั้งหมด >>