เลี้ยงเป็ดกินแกลบลดต้นทุน
แม้จะจบแค่ชั้นป.4 แต่ก็ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็น..
data-ad-format="autorelaxed">
เลี้ยง'เป็ดกินแกลบ'ลดต้นทุน
เลี้ยง 'เป็ดกินแกลบ' ลดต้นทุน วิธีหมอดินอาสา 'อ๋า พรมไธสง' หมอดินอาสา นามว่า "อ๋า พรมไธสง" เกษตรกรวัย 48 เศษแห่งบ้านทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง แม้จะจบแค่ชั้นป.4 แต่ก็ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นเครื่องนำทางมากว่า 6 ปี หลังได้ค้นพบความจริงว่า ดิน คือต้นทุนสำคัญในการตั้งต้นชีวิต หากจะมุ่งสู่ภาคเกษตรอย่างจริงจัง
คนหาปลาขี้เมาแห่งบ้านทุ่งควายกิน อ.แกลง จ.ระยอง ก็มาถึงจุดเปลี่ยนของชีวิต เมื่อภรรยาหอบเอกสารการฝึกอบรมของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)แจ้งให้ไปอบรมที่ปฐมอโศก จ.นครปฐม เป็นเวลา 4 คืนกับ 5 วัน ในขณะกำลังเบื่อความจำเจของชีวิตที่เช้าออกหาปลาตกเย็นมาก็เมาหยำเปไม่เว้นแต่ละวัน ในระหว่างการอบรมอบายมุขที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตถูกสั่งห้ามอย่างเด็ดขาด ทำให้รู้สึกอึดอัด แต่หลังจากได้เห็นพฤติกรรมและรับรู้เรื่องราวของผู้คนที่นี่ และสิ่งที่พวกเขาได้ย้ำเสมอว่า "พูดและฟัง" เท่านี้ยังไม่พอต้องกลับไปปฏิบัติดูให้เห็นกับตา
กว่า 6 ปีที่เขาได้พลิกฟื้นนาร้างมาเป็นนาข้าว พื้นที่ไม้ผล ปลูกผักสมุนไพรด้วยการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่เน้น "ไม้แดด" มากกว่า "ไม้ดอก" เนื่องจากให้ประโยชน์ได้มากกว่าการดูเพื่อความสวยงาม โดยเริ่มจากการพัฒนานารกร้างของคนอื่น ด้วยการไปขอเช่า แต่ผลผลิตข้าวกลับไม่ดีนัก เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องดิน หลังได้ค่อยๆ สังเกตสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไปและบันทึกเอาไว้ ในขณะเดียวกันก็ได้รับคำแนะนำเรื่องดินจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดระยองแล้วนำไปลองปฏิบัติดู ปรากฏว่าในฤดูกาลผลผลิตต่อมา ผลผลิตข้าวต่อไร่ก็เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
หลังจากข้าวได้ผลผลิตมากขึ้น เป็นผลมาจากดินมีคุณภาพ จากนั้นเขาก็มีความคิดที่จะมีโรงสีข้าวเป็นของตนเอง เพื่อให้ได้รำและแกลบสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ โดยการปรับปรุงโรงสีเล็กๆ ของหมู่บ้าน ที่ถูกทิ้งร้างไม่ใช้งานมาปรับปรุงใหม่ พร้อมรับบริการสีข้าวฟรีจากคนในหมู่บ้านเพื่อให้ได้มาซึ่งรำและแกลบ
"แรกๆ ก็เก็บค่าบริการกระสอบละ 5 บาท แต่บางทีชาวบ้านให้แบงก์ 100 บ้าง 500 บ้างก็เลยสีให้ฟรีเลย แต่สิ่งที่เราได้คือแกลบกับรำเพื่อนำมาเป็นอาหารสุกร เป็ดและไก่ที่เราเลี้ยงไว้ โดยรำนั้นจะนำมาผสมหยวกกล้วยและเศษผักแล้วตำให้ละเอียดเพื่อเป็นอาหารสุกรและไก่ ส่วนแกลบก็จะนำมาเป็นอาหารเลี้ยงเป็ด หรือที่รู้จักกันในนาม "เป็ดกินแกลบ" ทำให้ลดต้นทุนได้มาก" หมอดินอ๋าเผย
เขาเผยอีกว่า การใช้แกลบเป็นอาหารเป็ดนั้น จะต้องผ่านกระบวนการผลิตอย่างถูกวิธี โดยเริ่มจากนำแกลบไปหมักให้นิ่ม โดยการแช่น้ำที่ผสมกับน้ำหมักชีวภาพ หรือ พด.2 และหมักทิ้งไว้ประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นให้นำแกลบที่หมักมาผสมกับรำข้าวให้เป็ดกิน ซึ่งจากการสังเกตพบว่าเป็ดจะมีสุขภาพแข็งแรง ไข่ดก ที่สำคัญยังสามารถนำมูลเป็ดมาผลิตปุ๋ยหมักที่ได้คุณภาพอีกด้วย
ไม่เพียงรำและแกลบ ผลพลอยได้จากโรงสี ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนการผลิตเท่านั้น แต่เขายังได้นำมูลสุกรมาผลิตแก๊สหุงต้มและมูลวัว เป็ดและไก่มาผลิตปุ๋ยคอกใส่พืชผักและไม้ผลที่ปลูกไว้เพื่อลดต้นทุนการผลิตในเรื่องค่าปุ๋ยค่ายา อีกทั้งยังเน้นการทำเกษตรอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีแต่อย่างใด
อ๋า พรมไธสง หมอดินอาสาแห่งตำบลทุ่งควายดิน ผู้กล้าเปลี่ยนวิถีชีวิต ชนิดหันหลังกลับและน้อมนำแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมๆ กับการทำประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วยการทำหน้าที่วิทยากรเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
สนใจเยี่ยมชมสวนเกษตรหมอดินอาสาอ๋า พรมไธสง โทร.08-6027-0954 ได้ทุกวัน
อ้างอิง:komchadluek.net
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 22076 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,