ปลูกผักหลังนาที่บ้านนาเกียน
อดีตที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณบ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ถูกบุกรุกทำลายไปกว่า 50% ของพื้นที่ป่าที่มีอยู่ ทำให้ราษฎรใน.
data-ad-format="autorelaxed">
ปลูกผักหลังนาที่บ้านนาเกียน อดีตที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณบ้านนาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ถูกบุกรุกทำลายไปกว่า 50% ของพื้นที่ป่าที่มีอยู่ ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค ผล ผลิตทางการเกษตรลดต่ำลง
ต่อมาราษฎรในพื้นที่ได้รวมตัวกันขอพระราชทานความช่วยเหลือ พร้อมให้คำมั่นสัญญา เลิกตัดไม้ เลิกล่าสัตว์ จะไม่ยุ่งกับยาเสพติด และมอบพื้นที่คืนให้กับทางราชการ เพื่อดำเนินการฟื้นฟูโดยไม่เรียกร้องค่าตอบ แทนใด ๆ
ต่อมาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2548 ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขา นุการในพระองค์ พล.อ.ณพล บุญทับ รองราชสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้แทนพระองค์ไปตรวจพื้นที่และได้อัญเชิญแนวพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในการจัดตั้งสถานีฯ มามอบให้แก่คณะทำงานโดยมีพระราชดำริให้สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริบ้านนาเกียน เป็นแหล่งให้ความรู้แก่ราษฎร ในการทำการเกษตรอย่างถูกหลักวิชาการ โดยยึดถือแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องระบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักในการดำเนินงานจากนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทำการฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณหมู่บ้าน
นาเกียน และอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำน้ำแม่ฮอง เพื่อป้องกันวิกฤติการขาด แคลนน้ำในอนาคต สร้างงานให้ราษฎรมีอาชีพ มีรายได้ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนและการว่างงาน ให้โอกาสแก่ราษฎรผู้ด้อยโอกาสได้มีงานทำ ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สถานีฯ แห่งนี้ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.นาเกียน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 1,200–1,600 เมตร ระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ 247 กิโลเมตร โดยเป็นทางลาดยาง 187 กิโลเมตร ทางลูกรังบดอัด ระยะทาง 32 กิโลเมตร ทางลำรอง 25 กิโลเมตร
พื้นที่บริเวณหมู่บ้านนาเกียน เป็นพื้นที่ราบระหว่างหุบเขา มีลำน้ำแม่ฮองไหลผ่าน สภาพพื้นที่ป่าเป็นป่าดิบเขาระหว่างพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,200 ไร่ เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและเป็นพื้นที่นา การตั้งบ้านเรือนจะอยู่กันเป็นกลุ่ม ๆ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มหมู่บ้าน ภายหลังจากการฟื้นฟู
เป็นผลให้พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติมากขึ้น โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีประมาณ 20 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 1,300 มิลลิเมตร สภาพอากาศมีความชื้นสูงในฤดูฝน ประชากรเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง 616 คน 141 หลังคาเรือน
ราษฎรประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชหลังฤดูการทำนา รับจ้างทั่วไปโดยเป็นแรงงานจากการจ้างงานของสถานีฯ ก่อนที่จะมีการตั้งสถานีฯ ประชากรในพื้นที่ค่อนข้างมีคุณภาพชีวิตที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเวลาผ่านไป หลังจากมีการก่อตั้งสถานีฯ แล้ว คุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่ค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ
โดยเฉพาะในช่วงหลังนาในอดีตราษฎรจะอพยพออกจากหมู่บ้านไปขายแรงงาน แต่ปัจจุบันต่างไม่ทิ้งบ้านและครอบครัว โดยหันมาทำการเพาะปลูกในช่วงหลังนาแทน ด้วยการปลูกผักประจำฤดูกาล เนื่องจากสภาพพื้นที่ที่สมบูรณ์ มีปริมาณน้ำตามธรรมชาติเพียงพอ ผลผลิตจากการเพาะปลูกจึงให้ผลคุ้มค่า
ที่สำคัญราษฎรในพื้นที่แห่งนี้ปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเจริญเติบโตของพืชผักแต่ประการใด ยังมาซึ่งความต้องการของผู้บริโภคจากตัวเมือง โดยเฉพาะจากอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่แต่ละวันจะมีพ่อค้าฝ่าความยากลำบากของถนนเดินทางเข้าไปรับซื้ออย่างต่อเนื่อง ยังมาซึ่งรายได้ของราษฎรในพื้นที่ที่เป็นกอบเป็นกำได้เป็นอย่างดี.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19267 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,