ผลิตภัณฑ์ ใยกัญชง ทำเงิน!!-สู่ผลิตภัณฑ์เด่น อาชีพทำเงินชาวบ้านห้วยทราย
ด้วยจุดเด่นของใยกัญชงที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้น เป็นเส้นใยที่มีความเหนียว แข็งแรง การดูดซึมความชื้นได้ดีใกล้เคียงกับ...
data-ad-format="autorelaxed">
ผลิตภัณฑ์'ใยกัญชง'ทำเงิน!!สู่ผลิตภัณฑ์เด่น อาชีพทำเงินชาวบ้าน'ห้วยทราย' ถึงแม้กัญชง (Hemp) จะมีต้นกำเนิดเดียวกับต้นกัญชา (Marijuana) แต่แตกต่างกันด้วยสารออกฤทธิ์กระตุ้นประสาทในปริมาณที่ต่ำกว่ากัญชามาก จึงเป็นทางออกให้แก่ประเทศต่างๆ ในการสนับสนุนให้มีการปลูกกัญชงอย่างถูกกฎหมาย เช่น ประเทศในแถบยุโรป แคนาดา สหรัฐอเมริกา โดยได้วิจัยพัฒนาสายพันธุ์กัญชงให้มีปริมาณสาร THC ไม่เกินกว่า 0.3%
ด้วยจุดเด่นของใยกัญชงที่ได้จากส่วนเปลือกของลำต้น เป็นเส้นใยที่มีความเหนียว แข็งแรง การดูดซึมความชื้นได้ดีใกล้เคียงกับเส้นใยแฟลกซ์ที่ถูกนำมาผลิตเป็นผ้าผืนลินิน ทำให้ใยกัญชงเป็นทางเลือกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยผลิตภัณฑ์ใยกัญชงบ้านห้วยทราย ต.ห้วยทราย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ภายใต้การนำของประธานกลุ่ม "นวลศรี พร้อมใจ" ในฐานะผู้บุกเบิกการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าจากใยกัญชงเมื่อกว่า 10 ปีก่อน
"ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพหลักคือการทำไร่ ทำนา แต่ก็มีความรู้ด้านเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว จะเห็นว่า เมื่อว่างจากทำนา ทำไร่ พวกผู้หญิงก็จะจับเข็มโครเชต์ หรือไม่ก็ไม้ถักนิตติ้ง โดยมีเชือกฟางและไหมพรมเป็นวัตถุดิบ อย่างหน้าหนาวก็ถักหมวก ถักผ้าพันคอ ให้ลูกหลานและสมาชิกในครอบครัวใช้”
กระทั่งปี 2544 มีหน่วยงานภาครัฐ โดยเกษตรอำเภอแม่ริม และสหกรณ์การเกษตร เล็งเห็นว่า การผลิตผลงานดังกล่าวสามารถนำสู่ตลาดได้ จึงพูดคุยให้คำแนะนำพร้อมจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายขึ้นมา โดยมีคุณนวลศรี เป็นประธานกลุ่ม มีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) สาขาแม่ริม ให้การสนับสนุนเรื่องของแหล่งทุน
นวลศรี เผยต่อว่า วัตถุดิบใยกัญชง ขณะนี้ยังไม่สามารถปลูกเองได้ จึงจำเป็นต้องสั่งซื้อจากโครงการหลวงประมาณ 30% ส่วนอีก 70% สั่งมาจากชางม้งใน จ.พะเยา ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้านในราคากิโลกรัมละ 300-400 บาท โดยใยกัญชง 1 กิโลกรัม สามารถถักเสื้อขนาดเล็กได้ประมาณ 4 ตัว หรือถ้าเป็นหมวกก็ราว 5-6 ใบ
เส้นใยกัญชงที่กลุ่มรับซื้อจะอยู่ในลักษณะเป็นไจ เช่นเดียวกับไหมพรม โดยจ้างผู้แก่ผู้เฒ่าในหมู่บ้านให้ช่วยม้วนเส้นใยกัญชงเป็นก้อน เพื่อง่ายต่อกระบวนการผลิต จากนั้นก็กระจายไปให้สมาชิก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 70 คน ถักออกมาเป็นผลงานหลากหลายชนิด อาทิ เสื้อ กระโปรง กางเกง กระเป๋า หมวก ซองใส่โทรศัพท์ กระเป๋าใส่เศษสตางค์ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ เป็นต้น
“การทำงานค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร เพราะอาศัยฝีมือเท่านั้น อย่างเสื้อ 1 ตัว ต้องใช้เวลาถักแบบเต็มวันประมาณ 3 วัน ส่วนค่าจ้างก็จะให้เป็นรายชิ้น เริ่มตั้งแต่ชิ้นละ 5 บาท จนถึง 500 บาท ส่วนราคาขายก็ต้องนำค่าแรงบวกกับค่าใยกัญชง แล้วบวกเพิ่มอีกเท่าตัว จึงสรุปออกมาเป็นราคาขายต่ำสุด 20 บาทไปจนถึงหลักพัน ผลกำไรก็ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วนยอดขายตอนนี้เฉลี่ยเดือนละ 4-5 หมื่นบาท”
ประธานกลุ่มคนเดิมระบุอีกว่า ในส่วนของผลิตภัณฑ์นั้น นอกจากเสื้อแล้ว ยังมีกระเป๋า หมวก ปลอกหมอนและผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์ โดยลูกค้าหลักมีทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งตลาดหลักนอกจากวางจำหน่ายตามงานเทศกาลต่างๆ ทั้งในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ แล้ว ยังส่งไปจำหน่ายต่างประเทศด้วย โดยเฉพาะญี่ปุ่นและสวีเดน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักในขณะนี้
ผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกัญชงไม่เพียงเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทออินทรีย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างงานสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเย็บปักถักร้อยบ้านห้วยทรายได้เป็นอย่างดี สนใจผลิตภัณฑ์ใยกัญชงติดต่อประธานกลุ่ม 08-1289-4744 ได้ตลอดเวลา
อ้างอิง:www.komchadluek.net
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 18610 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,