หนุนผลิตเนื้อโคอินทรีย์
ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคนิยมบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีการรับรองมาตร.
data-ad-format="autorelaxed">
หนุนผลิตเนื้อโคอินทรีย์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่หันมาดูแลและใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน มักเลือกสินค้าที่ผลิตจากเกษตรธรรมชาติ หรือเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก เนื่องจากเป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อสุขภาพ รวมถึงระบบนิเวศด้วย
โดยในเรื่องนี้ นายสัตวแพทย์ทฤษดี ชาวสวนเจริญ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า จากการกำหนดนโยบายของรัฐบาลให้การเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ รัฐบาลจึงเร่งผลักดัน และสนับสนุนให้เกษตรกรหันมาผลิตสินค้าอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งผู้บริโภคนิยมบริโภคสินค้าเพื่อสุขภาพที่มีการรับรองมาตรฐานด้านคุณภาพและความปลอดภัย อีกทั้งเพื่อเร่งพัฒนาขีดความสามารถและศักยภาพการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตร รองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558
ทั้งนี้ ความต้องการเนื้อสัตว์อินทรีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงขึ้น เกษตรกรหลายรายจึงสนใจที่จะผลิตสินค้าอินทรีย์เพิ่มขึ้นเพราะมีตลาดรองรับ และสามารถจำหน่ายสินค้าได้ในราคาที่สูงกว่าสินค้าปกติ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2555 กรมปศุสัตว์จึงได้รับการสนับสนุนเงินอุดหนุนจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) ในวงเงิน 16 ล้านบาท เพื่อนำไปสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตเนื้อโคอินทรีย์ ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดมหาสารคาม กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม เลย และอุดรธานี โดยมีเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 ราย ซึ่งกรมปศุสัตว์จะจัดหาพันธุ์โคให้แก่เกษตรกรจำนวนทั้งสิ้น 480 ตัว ปรับปรุงแปลงปลูกพืชอาหารสัตว์ให้เป็นแปลงพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ในพื้นที่รวม 480 ไร่ พัฒนาโรงชำแหละโคตามมาตรฐานอินทรีย์ จำนวน 1 แห่ง สนับสนุนให้เกษตรกรผลิตโคขุนตามมาตรฐานอินทรีย์ปีละ 120 ตัว และส่งเสริมการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคอินทรีย์เพื่อการจำหน่าย
“โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ซึ่งคาดว่าในอนาคต จะมีฟาร์มโคเนื้อที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์อย่างน้อย 120 ฟาร์ม มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อโคอินทรีย์ซึ่งเป็นสินค้าปลอดภัยและได้คุณภาพออกวางจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่ม อีกทั้งโครงการนี้ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรได้ตระหนัก และช่วยลดผลกระทบจากการใช้สารเคมีในภาคการผลิต ซึ่งอาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศในระยะยาวอีกด้วย” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าเมื่อเกษตรกรยึดแนวทางเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง 2-3 ปี ระบบนิเวศที่ถูกฟื้นฟูสภาพจะเริ่มดูแลตัวเองได้ซึ่งหมายความว่าผลผลิตของเกษตรกรจะได้ทั้งปริมาณและคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 13648 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,