data-ad-format="autorelaxed">
หนุ่มออฟฟิศเปลี่ยนวิถีสู่เกษตรกร “เลี้ยงแพะ” สร้างรายได้แก่ครอบครัว
เมื่อก่อนนี้ทำงานอยู่กรุงเทพ ประมาณ 20 – 23 ปีได้ เรามาคิดดูว่าเค้าจ้างเงินเดือนสูง เปรียบเทียบรายวันถ้าเราทำงานไม่ถึงยอดของเค้า หมายถึงว่าคุมคนไทยที่เป็นลูกน้องด้วยกันถ้าไม่ถึงยอดเค้าก็บ่นบ้างเพราะเค้าเป็นเจ้าของเงิน เราก็ต้องมาหาธุรกิจ การทำธุรกิจ กลับมาบ้านเราจะทำอย่างไร ถ้าอย่างเราจะทำปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ ก็มีต้นทุนค่าอาหาร ตั้งแต่ปู่ย่าตายายเราก็เลี้ยงวัวเลี้ยงควายมาโดยที่เค้าไม่ต้องใช้ต้นทุนอะไร เค้าใช้แต่ทรัพยากรที่มีอยู่ บางคนมองข้ามหญ้าที่ต้องตัดทิ้งไป
อย่างหญ้าที่ชลประทานต้องตัดทิ้งไปแต่พอมีแพะมาก็เตียน ชาวบ้านก็ใช้ประโยชน์ร่วมกับเราได้ หญ้าเตียนก็ปลูกอะไรเพิ่มได้ อย่างกระถินเราฟันมาให้แพะกินมีโปรตีนสูงเท่ากับถั่ว คนอื่นเลี้ยงแพะขุนกัน อย่างผมเลี้ยงแพะประมาณว่าไล่ทุ่งถ้าจะเปรียบกับเป็ดไล่ทุ่งผมก็แพะไล่ทุ่ง คือเลี้ยงในที่สาธารณะ ต้นทุนไม่มีแม้แต่บาทเดียวแทบจะไม่ได้จ่าย นอกจากค่าน้ำมันรถมอเตอร์ไซค์วันหนึ่ง 20 บาทไม่หมด ก็ถือว่าแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวหนึ่งเพราะว่าเค้าเปิดเออีซี เปิดเออีซีผมมาดูแล้วตอนนั้นอยู่กรุงเทพคิดว่าเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการเปิดเออีซี เราไม่รู้เลย ก็มาศึกษาจากยูทูป มาเลเซียเป็นประเทศมุสลิมที่บริโภคเนื้อแพะมากเป็นอันดับต้นๆของเอเชียเลย ก็เลยมองดูว่าบ้านเรามีต้นทุนเรื่องหญ้าอยู่แล้ว น้ำก็ดี ทุกอย่างสมบูรณ์หมด
เราจะมาเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเงินเราก็ไม่พอ ถ้าเปรียบเทียบแม่วัว 1 ตัวใช้เงินถึง 3 – 4 หมื่นบาท เทียบกับถ้าซื้อแม่แพะก็จะได้ถึง 10 ตัว ใน 1 ปีแม่แพะ 10 ตัวให้ผลผลิต 2 ครั้ง ถ้าเป็นแม่สาวครั้งแรกให้ลูก 1 ตัว คอกที่สองจะให้ 2 – 3 ตัว แต่ถ้าเป็นไปได้อยากได้แค่ 2 ตัวพอ เพราะถ้า 3 ตัวจะเป็นต้นทุนต้องซื้อนมมาเลี้ยง เพราะว่าแพะมี 2 เต้านมก็จะแย่งกัน ผมก็ศึกษาจากยูทูปบ้างก็เลยเป็นที่มาของการเลี้ยงแพะ
……………………………………………………
คุณเกชา สานุ่ม
เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ
Source: http://www.nuradio.nu.ac.th/th/index.php/en/multimedia/565-2016-08-14-05-52-44