ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 5907 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ปลากัดสวยงาม ทำรายได้มหาศาล ในตลาดส่งออกต่างประเทศ

ความสวยงามของปลากัด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น จากเดิมปลากัดเป็นเพียงแค่ปลาต่อสู้ของเซียนพนันใน..

data-ad-format="autorelaxed">

ปลากัดสวยงาม

ความสวยงามของปลากัด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้คนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น จากเดิมปลากัดเป็นเพียงแค่ปลาต่อสู้ของเซียนพนันในหมู่บ้านเล็ก หลังจากที่มีคนนำปลากัดมาผสม และสร้างสายพันธุ์ใหม่ จนได้ปลากัดที่มีความสวยงาม และไม่เหลือเค้าโครงของปลากัด ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลากัดที่สร้างรายได้หลายล้านบาทต่อปี มีตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ฟาร์มเพาะปลากัดเพื่อส่งออก

วันนี้ ได้มีโอกาสรู้จักกับฟาร์มเพาะเลี้ยงปลากัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดนครปฐม มีชื่อว่า สยามเบต้า ฟาร์ม เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงปลากัดเพื่อการส่งออก และจำหน่ายในประเทศ ของ “นายชัชวาล ฤกษ์ประวัติ” “นายวัชระพล วินิจธรรม” และ “นายอาวุธ อินต๊ะสุวรรณ์” โดยทั้ง 3 คนได้คลุกคลีอยู่ในวงการปลากัดมาได้ระยะหนึ่งประมาณ 4-5 ปี ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากความชอบ และพลิกผันตัวเองจนมาเป็นเจ้าของฟาร์ม

plagad01

อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงปลากัด ไม่ได้มีอยู่ในตำราเรียน หรืออาจารย์เองก็ไม่ได้สอนการเพาะเลี้ยงปลากัด แต่สิ่งที่ได้ จากการเรียนและนำมาใช้คือ แนวทางในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ส่วนการเพาะขยายพันธุ์ หรือพัฒนาสายพันธุ์ นั้นต้องมาเรียนรู้กันใหม่จากผู้รู้ ซึ่งต้องยอมรับว่า บ้านเรามีคนที่อยู่ในวงการเพาะเลี้ยงปลากัด และมีความเชี่ยวชาญอยู่เป็นจำนวนมาก เราก็ได้อาศัยไปขอความรู้จากเขา และนำมาต่อยอดพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดให้มีความหลากหลาย จนปัจจุบันทางฟาร์มสามารถพัฒนาสายพันธุ์จนได้ปลากัดเกือบทุกสีที่มีขายกันในท้องตลาด แต่เราจะเลือกปลากัดในแบบซึ่งไม่ได้รับความนิยมในช่วงนั้นออกมาขาย เพราะไม่ต้องการจะไปแข่งกับฟาร์มอื่นๆ เช่น ช่วงนี้นิยมสีแดง ก็หันไปพัฒนาสายพันธุ์สีขาว หรือแฟนซีออกมาขาย

“เดิมทีผมไม่ได้คาดคิดว่าจะทำฟาร์มปลากัดและประสบความสำเร็จมากถึงปัจจุบันนี้ เพราะไม่รู้ว่าตลาดปลากัดเขาเป็นอย่างไร และจะทำปลาออกมาได้สวยงาม สู้กับฟาร์มอื่นๆ ได้หรือไม่ แต่ก็อาศัยลองผิดลองถูก ตั้งใจทำอย่างจริงจัง ลงมือทำเองทุกขั้นตอนด้วยตัวเอง มีลูกน้องมาช่วยงานเพียงคนเดียว เริ่มจากจุดเล็ก และค่อยศึกษาว่าตลาดเขาต้องการอะไร เราก็ทำออกมาให้ได้ตามความต้องการของตลาด ส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จมาจากตลาดปลากัดโตขึ้นมาก จากคนเลี้ยงที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความต้องการของคนเลี้ยงปลาที่ต้องการปลากัดก็เพิ่มมากขึ้นด้วย”

plagad02

ทั้งนี้ ปัจจุบัน สยามเบต้าฟาร์มมีการผลิตปลาออกตลาดเดือนละกว่า 3,000 ตัว แบ่งเป็นปลาเกรดส่งออกเดือนละ 1,000 ตัว ที่เหลือจะเป็นปลาที่ขายในประเทศ ซึ่งมีหลายเกรด ถ้าเป็นปลาส่งออกอยู่ที่ตัวละ 20 ดอลลาร์สหรัฐ หรือถ้าเป็นตลาดในประเทศ จะเป็นการขายส่งให้พ่อค้าคนกลางรับไปจำหน่าย โดยขายตัวละ 100 บาท หรือถ้าเป็นปลาตกเกรด เหลือตัวละ 3 ถึง 5 บาท ในส่วนของราคาปลากัดที่จำหน่ายปลีกในประเทศอยู่ที่ตัวละ 300 บาทไปจนถึงปลาคัดเกรด ราคาสูงถึงตัวละ 1,500 บาท

จัดอันดับปลากัดสวยงาม เพื่อการส่งออก

อย่างไรก็ตาม การเพาะเลี้ยงปลากัด ปัจจุบันมีการพัฒนาสายพันธุ์ไปมาก ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งจากการจัดอันดับปลาสวยงามเพื่อการส่งออก ปรากฏว่าปลากัดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทุกปี และปีนี้ยอดการส่งออกมากเป็นอันดับ 3 จากสถิติของกรมประมง ประเทศที่มีการส่งออกปลากัดไปมาก จะเป็นประเทศในกลุ่มยุโรป และเอเชีย เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฯลฯ และปีนี้เป็นอีกปีหนึ่งที่ทางฟาร์มได้มีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศในแถบตะวันออก เพราะมีพ่อค้าจากดูไบเริ่มที่จะสั่งปลากัดเข้าไปจำหน่าย ซึ่งตลาดดูไบถือว่าเป็นตลาดใหม่ เนื่องจากยังไม่ค่อยรู้จักปลากัดมากนัก แต่พอมีการนำเข้าไปจำหน่าย ปัจจุบันประเทศในแถบตะวันออกกลางให้ความสนใจกับการเลี้ยงปลากัดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

plagad03

สำหรับประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นต้นกำเนิดของปลากัดก็ว่าได้ แต่ระยะหลังประเทศรอบบ้านเราก็เริ่มเพาะพันธุ์ปลากัดได้สวยงามเช่นเดียวกับเรา เช่น เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ ในอนาคตอันใกล้นี้ แต่เนื่องจากตอนนี้เขายังมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าเรา เพราะเขายังไม่สามารถหาแหล่งวัตถุดิบราคาถูกได้เช่นบ้านเรา ถ้ามีแหล่งวัตถุดิบที่ราคาไม่แพง ต่อไปก็จะเป็นคู่แข่งสำคัญที่เราไม่อาจจะประมาทได้

สำหรับสยามเบต้า ฟาร์ม เป็นฟาร์มที่เพาะเลี้ยงปลากัด สายพันธุ์ปลาหม้อฮาร์ฟ และทางฟาร์มได้มีการพัฒนาสายพันธุ์จนได้รับรางวัลบ่อยครั้ง ซึ่งการได้รับรางวัลเป็นเครื่องการันตีว่าจะมีคนให้ความสนใจปลากัดของทางฟาร์มมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ

ปลาเพาะพันธุ์ในบ่อ และนำมาใส่ขวด ก่อนจะคัดเลือกปลาเกรดคุณภาพส่งออก

 


อ้างอิง manager.co.th

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5907 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7394
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7621
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 7142
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 8336
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6884
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5929
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 6326
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>