ต้นข่อย สมุนไพร
ต้นข่อย สมุนไพร : รักษาโรคต่างๆ แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาอายุวัฒนะ โรคผิวหนัง ยางใช้กำจัดแมลง
data-ad-format="autorelaxed">
ต้นข่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ Streblus asper.
ชื่อสามัญ Siamese rough bush
ตระกูล MORACEAE
ลักษณะทั่วไป ของ ต้นข่อย
เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบขึ้นตามพื้นราบและป่าเบญจพรรณทั่วๆ ไปลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีเทา ค่อนข้างขาว โคนลำต้นตรง เนื้อไม้เหนียว ส่วนบนค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม และเป็นร่องเล็กน้อย ใบออกจากปลายกิ่งมีขนาดเล็กสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบมนแหลม ปลายใบแหลม ใบหนา หยาบคล้ายกระดาษทราย ใช้ขัดฟันหรือถูขูดเมือกปลาไหลได้ ออกดอกเป็นช่อดอกเล็ก สีขาวและเหลือง ผลกลมมีขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด เรียบ เมื่อยังอ่อนจะมีสีขาวหรือเทา เปลือกในมียางสีขาว เมื่อสุกผลสีเหลืองรับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยม
การปลูกและการดูแลรักษา ต้นข่อย
หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุก ๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นข่อย
การดูแลรักษา ต้นข่อย
แสง ต้องการแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5–7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1–2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปีละ 4–5 ครั้ง
การขยายพันธุ์ ต้นข่อย
ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด ปักชำ ซึ่งวิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการปักชำ หรือจะขุดล้อมจากธรรมชาติมาปลูกเลี้ยงก็ได แต่ควรมีขนาดลำต้นไม่เกิน 3 เซนติเมตร เพราะหากโตกว่านี้จะเลี้ยงรอดยาก
ประโยชน์ ต้นข่อย
เปลือก แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาอายุวัฒนะ โรคผิวหนัง ยางใช้กำจัดแมลง ไม้ ทำกระดาษ ทำเป็นสมุด เรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย เชียงใหม่ใช้มวนยาสูบ เรียกว่า ไชดยเหนือ ขี้โย กิ่ง ชาวอินเดียใช้สีฟัน ทำให้ฟันทน ใบ ใบสดปิ้งไฟชงน้ำดื่มเป็น ยาระบายอ่อนๆ
อ่านเสร็จแล้ว ขอความกรุณาคลิ๊กปุ่ม +1 , ปุ่ม Like ,ปุ่ม Tweet และ แสดงความเห็น ให้เราด้วยนะครับ
อ้างอิง : www.the-than.com
หมายเหตุสำหรับข้อมูลในหมวดสมุนไพร : การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้น ควรศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ถูกต้อง และศึกษาผลข้างเคียงโดยละเอียด ว่าไม่มีผลกระทบข้างเคียงใดๆ
ข้อมูลที่ฟาร์มเกษตรนำมาเสนอนั้น เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีการค้นข้อมูลเชิงลึก ฉนั้น ผู้สนใจ ต้องศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนใช้สมุนไพรแต่ละชนิด
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 19401 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,