โรคไต - รักษาด้วย สมุนไพร
สมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทึ่ช่วยบำรุง รักษาไตได้ สมุนไพรที่จะกล่าวต่อไปนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงไต คือ
data-ad-format="autorelaxed">
โรคไต
โรคไต วายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือที่เราเรียกกันว่าไตวาย หลายคนไม่เคยรู้จัก เลยไม่กลัวพิษภัยว่าจะต้องดูแลรักษาตัวอย่างไร สิ้นเปลืองค่ารักษาขนาดไหน แม้แต่เวลาในการไปรักษาหรือไปพบแพทย์แต่ละครั้ง ผู้ที่เคยเป็นหรือกำลังเป็น โรคไต วาย อยู่ก็จะรู้ดี มีผู้อ่านบางท่านอยากให้ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน โรคไต พิษณุโลก ไปสืบค้นสมุนไพร หรือพืชผักอะไรที่ช่วยยับยั้ง รักษา โรคไต วายได้ แล้วนำมา สังเคราะห์ ปรึกษาผู้รู้ แล้วนำมาเผยแพร่ ก็เลยได้ทำงานขนานใหญ่เพื่อนำมาเผยแพร่ให้กับผู้อ่านทุกท่าน โดยได้ปรึกษากับท่านอาจารย์ที่สอนสมุนไพรไทยของชมรมแพทย์แผนไทยพิษณุโลก (วัดทองหลาง) เพื่อหาตัวยามาให้กับทุกท่าน ขอเชิญติดตามก็แล้วกัน เผื่อเป็นประโยชน์
สมุนไพรมีมากมายหลายชนิดทึ่ช่วยบำรุง รักษา โรคไต ได้ ในความคิดของผมคิดว่าถ้าท่านจะเลือกใช้สมุนไพร ไม่ว่าจะเป็นการรักษา โรคไต หรือโรคใด ๆ ก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือ เรื่องการรักษาความสะอาดของตัวยาสมุนไพร ระยะเวลาการเก็บรักษาสมุนไพร คือถ้าสมุนไพรเก็บไว้นานเกินคุณค่าของสมุนไพรอาจเสื่อมคุณภาพ และ อาจมีเชื้อรา ซึ่งผู้ที่จะนำมาใช้ควรมีความรู้และพิจารณาให้เข้าใจจึงจะเป็นประโยชน์ ในการเลือกใช้สมุนไพร นอกจากนี้แล้วสมุนไพรที่นำมารวมกันหลาย ๆ ตัว อาจมีสรรพคุณขัดกัน พูดง่ายๆ ทำลายกันเองดังนั้นจึงควรศึกษาให้เข้าใจจริง ๆ จึงจะทำให้เกิดประโยขน์ มิฉะนั้นแล้วจะเป็นโทษต่อผู้ใช้เอง
สมุนไพรที่จะกล่าวต่อไปนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบำรุงไต หรือ รักษา โรคไต คือ
1. รากหญ้าคา รากหญ้าคานี้มีรส หวานเล็กน้อย เมื่อนำมาล้างน้ำให้สะอาด ก็นำไปต้มกับน้ำสะอาดพอเดือดแล้ว นำน้ำนั้นมาดื่มต่างน้ำ เสมือนน้ำชา รับประทานเป็นประจำขะช่วยบำรุงไตให้ทำงานได้ดี มีอายุการทำงานได้นาน ไม่เสื่อม
2. หัวยาข้าวเย็นเหนือและใต้ มีสรรพคุณเหมือนกัน มีรสมันกร่อยหวานเล็กน้อย นิยมมาใช้แก้อักเสบ แก้ปัสสาวะพิการ โดยนำมาใช้ร่วมกับยาอื่น จะได้ผลดี
3. กระแตไต่ไม้
มีรสจืดเบื่อ เป็นพืชที่เกาะอยู่ตามไม้อื่น ๆ หรือเกาะอยู่ตามหินผา ใบแข็งใหญ่ห่อหุ้มหัวไว้มีใบเล็กติดก้านคล้ายใบเฟิร์น เป็นแฉก ๆ งอกออกจากหัว หัวยาวมีขนสีน้ำตาลแก่ห่อหุ้มอยู่ นำมาต้มดื่มน้ำแก้ไตพิการได้ แต่รับประทานมากจะเกิดอาการระบาย หรืออาจท้องเสีย ดังนั้นควรใส่ผสมตัวยาอื่น โดยใส่แต่เล็กน้อยจะใช้ได้ผลดี
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคไต เป็นคำถามที่มักจะได้ยินบ่อยๆ คำตอบก้คือใช้การวินิจฉัยโรค ซึ่งตามหลักวิชาแพทย์จะอาศัยกรรมวิธี 3 ประการคือ
1. การซักประวัติ (Signs) จะได้ทราบถึงลักษณะอาการ
2. การตรวจทางร่างกาย (Symptoms) จะได้ทราบอาการที่แสดง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (Lab) คือการตรวจทางห้องแล็ป ได้แก่การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และการเอ็กซ์เรย์ รวมทั้งการตรวจทางพยาธิวิทยาเช่น การตรวจทางชิ้นเนื้อ การเพาะเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น
โดยปกติแล้วเราต้องเรียนรู้กายวิภาคและสรีระหน้าที่ก่อน คือต้องรู้ว่าสภาพปกติของอวัยวะนั้นๆ เป็นอย่างไรก่อน แล้วจึงมารู้เรื่องพยาธิสภาพก็คือการรู้
ภาวะการเป็นโรคซึ่งจะทราบถึงอาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องแล็ป พูดง่ายๆการที่จะรู้ว่าเป็น โรคไต หรือไม่ ก็ต้องรู้สภาพปกติและหน้าที่ของ
ไต รวมทั้งโรคต่างๆของไตเสียก่อน เมื่อไตเป็นโรคก็จะมีอาการ และอาการแสดงตลอดจนความผิดปกติทั้งทางสภาพและหน้าที่ เมื่อประมวลต่างๆเข้าด้วยกันก็จะรู้ว่าเป้น โรคไต หรือไม่
โรคไต สามารถใช้หลักในการแบ่งความผิดปกติได้หลายวิธี
1. แบ่งตามสาเหตุ
- โรคไต ที่เป็นมาแต่กำเนิด (Congenital) เช่นมีไตข้างเดียวหรือไตมีขนาดไม่เท่ากัน โรคไต เป็นถุงน้ำ (Polycystic kidney disease) ซึ่งเป็นกรรมพันธุ์ด้วย เป็นต้น
- โรคไต ที่เกิดจากการอักเสบ (Inflammation) เช่นโรคของกลุ่มเลือดฝอยของไตอักเสบ (glomerulonephritis)
- โรคไต ที่เกิดจากการติดเชื้อ (Infection) เกิดจากเชื้อแบคที่เรียเป็นส่วนใหญ่ เช่นกรวยไตอักเสบ ไตเป็นหนอง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (จากเชื้อโรค) เป็นต้น
- โรคไต ที่เกิดจากการอุดตัน (Obstruction) เช่นจากนิ่ว ต่อมลูกหมากโตมะเร็งมดลูกไปกดท่อไต เป็นต้น
- เนื้องอกของไต ซึ่งมีได้หลายชนิด
2.แบ่งตามกายวิภาคของไต
- โรคของหลอดเลือดของไต เช่นมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดไต
- โรคของกลุ่มเลือดฝอยของไต (Glomerulus) ซึ่งพบได้มาก เกิดการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อ (Glomerulonephritis)
- โรคของหลอดไต (Tubule) เช่นการตายของหลอดไตภายหลังอาการช็อคหรือได้รับสารพิษ เกิดภาวะไตวายแบบเฉียบพลัน (Acute renal failure)
- โรคของเนื้อไต (Interstitium) เช่น แพ้ยาหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น
3. แบ่งตามต้นเหตุ จะแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
- ต้นเหตุจากภายในไตเอง ซึ่งอาจรูหรือไม่รู้สาเหตุก็ได้
- ต้นเหตุจากภายนอกไต เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรค SLE
อาการ อาการแสดง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดและตามระยะของโรค สิ่งตรวจพบอย่างหนึ่งอาจตรวจพบได้ในหลายๆโรค ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการบวม อาจเกิดจาก โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ โรคขาดสารอาหารโปรตีน จากความผิดปกติของฮอร์โมน หรือจากผลข้างเคียงของยาบางตัว แต่คนทั่วไปอาจรูจักกันดีว่า อาการบวมเป็นอาการที่พบได้บ่อยใน โรคไต ซึ่งก็เป็นจริงถ้ามีลักษณะบ่งชี้เฉพาะของ โรคไต และแยก
แยะโรคอื่นๆออกไปแล้วในขณะเดียวกัน โรคอื่นๆอาจจะมีอาการและสิ่งตรวจพบได้หลายอย่างที่มีส่วนคล้านเช่นโรคเอส แอล อี ซึ่งเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง อาจมีอาการแสดงออกตามระบบต่างๆเช่น ผิวหนัง เส้นผม ข้อ ไต หัวใจ ปอด และระบบเลือดเป็นต้น
ดังนั้นการวินิจฉัยดรคไตจะใช้วิธีย้อนศร กล่าวคือจะเริ่มดูจากปัสสาวะ ก่อนเพราะไตเป็นตัวสร้างและขับถ่ายปัสสาวะ ดังนั้นปัสสาวะกับไตน่าจะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ที่สำคัญต้องมีขบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ปัสสาวะ เอ็กซ์เรย์ บางครั้งอาจต้องเจาะไต (kidney biopsy) เอาเนื้อไต
มาตรวจจึงจะทราบว่าเป็น โรคไต
เหตุสงสัยว่าจะเป็น โรคไต พอจะสรุปได้ดังนี้
- ปัสสาวะเป็นเลือด โดยปกติในน้ำปัสสาวะจะไม่มีเลือดหรือเม็ดเลือดสอออกมา อาจมีได้บ้างประมาณ 3-5 ตัว เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศ์ขยายปานกลางการมีเลือดออกในปัสสาวะถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น โรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ ปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ ปัสสาวะเป็นสีแดง สีน้ำล้างเนื้อ สีชาแก่ๆ หรือปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้มก็ได้ ในสตรีที่มีประจำเดือน ปัสสาวะอาจถูกปนด้วยประจำเดือน กลายเป็นปัสสาวะสีเลือดได้ ถือว่าปกติ ในโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะมักจะเป็นเลือดสดๆ หรือเป็นลิ่มๆได้ ในโรคของเนื่อไตหรือตัวไตเอง การมีเลือดในปัสสาวะมักเป็นแบบสีล้างเนื้อ สีชาแก่ หรือสีเหลืองเข้ม ในผู้ป่วยชาย จำเป็นต้องตรวจค้นหาสาเหตุของปัสสาวะเป็นเลือด แม้จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ตาม แต่ในผู้หญิงเนื่องจากมีโอกาสกรพเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยอาจตรวจค้นหาสาเหตุได้ช้าหน่อย ในหลายๆกรณีแม้การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ อาจยังไม่สามารถบอกสาเหตุได้ จำเป็นต้องเจาะเอาเนื่อไตมาตรวจโดยพยาธิแพทย์ จึงจะทราบถึงสาเหตุได้
-ปัสสาวะเป็นฟองมาก คนปกติเวลาปัสสาวะอาจจะมีฟองขาวๆบ้าง แต่ถ้าในปัสสาวะมีไข่ขาว (albumin) หรือโปรตีนออกมามาก จะทำให้ปัสสาวะมีฟอง
ได้มาก ขาวๆ เหมือนฟองสบู่ จำเป็นต้องตรวจปัสสาวะ และเก็บปัสสาวะตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ผู้ป่วยที่มีไข่ขาวออกมาในปัสสาวะมาก ส่วนมากเป็นจากโรคหลอดเลือดฝอยของไตอักเสบจากไม่รู้สาเหตุ ทำให้ระดับโปรตีนในเลือดลดลงและเกิดอาการบวม รวมทั้งปริมาณโคเลสเตอรอลและไขมันเลือดสูงได้ดูการตรวจหาระดับโปรตีน (albumin) ในปัสสาวะด้วยตนเองการตรวจพบไข่ขาวออกมาในปัสสาวะในจำนวนไม่มากอาจพบได้ในโรคหัวใจ
วาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น แต่การมีปัสสาวะเป็นเลือด พร้อมกับมีไข่ขาว-โปรตีนออกมาในปัสสาวะพร้อมๆกัน เป็นข้อสัญนิฐานที่มีน้ำหนักมากว่าจะเป็น โรคไต
-ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว(มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งทีร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่นพวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น
-การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระบบทาง
เดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากและท่อทางเดินปัสสาวะ
- การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไตและทางเดินปัสสาวะ
- การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็น โรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
- การปวดหลัง ในความหมายของคนทั่วๆไป การปวดหลังอาจไม่ใช่ โรคไต เพราะการปวดบริเวณเอวมักเกิดจากโรคกระดูและข้อ หรือกล้ามเนื้อ ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่นและปวดหลังบิเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย
อาการและอาการแสดงทั้งหมดที่กล่าวนี้ จัดเป็นอาการและอาการแสดงเฉพาะที่(local signs&symptoms) ซึ่งได้แก่ไต ทางเดินปัสสาวะ และการขับถ่ายปัสสาวะ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มอาการและอาการแสดงที่ชวนให้สงสัยหรือเป็นส่วนหนึ่งของอาการดรคไตคือ อาการแสดงทั่วไป (systemic signs &symptoms) ได้แก่
- อาการบวม เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็น โรคไต จะมีอาการบวม โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว
อาจเกิดได้ใน โรคไต หลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อย โรคไต อักเสบชนิดเนฟโฟรติคซินโดรม (Nephrotic Syndrome) อย่างไรก็ตามอาการบวมอาจเกิดได้จากโรค ตับ โรคหัวใจ การขาดสารอาหารโปร ความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมน และการบวมชนิดไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งต้องใช้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อใช้แยกแยะ หรือยืนยันให้แน่นอน
- ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไตมีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิตสูงอาจเป็นจาก โรคไต โดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆความดันโลหิตก็จะสูงได้ อย่างไรก็ตาม สาเหตุของความดันโลหิตสูงนั้นมีมากมาย โรคไต เป็นเพียงสาเหตุหนึ่งเท่านั้น แต่ก็เป็นสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้
- ซีดหรือโลหิตจาง เช่นเดียวกับความดันโลหิตสูง สาเหตุของโลหิตจางมีได้หลายชนิด แต่สาเหตุที่เกี่ยวกับ โรคไต ก็คือ โรคไต วายเรื้อรัง (Chronic renalfailure) เนื่องจากปกติไตจะสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) เพื่อไปกระตุ้นให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง เมื่อเกิดไตวายเรื้อรังไตจะไม่สามารถสร้างสารอีริโธรโปอีติน (Erythopoietin) ไปกระตุ้นไขกระดูก ทำให้ซีดหรือโลหิตจาง มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามือ เป็นลมบ่อยๆ
ขอแนะนำว่า ถ้าอยากรู้ว่าตัวเองเป็น โรคไต หรือไม่นั้น ต้องไปพบแพทย์ ทำการวักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็น โรคไต หรือไม่ ถ้าหากพบแพทย์ท่านหนึ่งแล้วยังสงสัยอยู่ก็ขอให้ไปพบและปรึกษาแพทย์ โรคไต เฉพาะอายุรแพทย์ โรคไต (Nephrologist) หรือศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ (Urologist) ก็ได้
อ้างอิง
http://www.gotoknow.org/posts/259243
http://www.thailabonline.com/sec6renaldis.htm
หมายเหตุสำหรับข้อมูลในหมวดสมุนไพร : การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้น ควรศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ถูกต้อง และศึกษาผลข้างเคียงโดยละเอียด ว่าไม่มีผลกระทบข้างเคียงใดๆ
ข้อมูลที่ฟาร์มเกษตรนำมาเสนอนั้น เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีการค้นข้อมูลเชิงลึก ฉนั้น ผู้สนใจ ต้องศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนใช้สมุนไพรแต่ละชนิด
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 25834 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,