เตือนอันตราย สมุนไพรไคร้เครือ เจอสารก่อมะเร็ง
ทำให้ไตวาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกโรงเตือนแล้ว นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณ.
data-ad-format="autorelaxed">
เตือนอันตราย“สมุนไพรไคร้เครือ”เจอสารก่อมะเร็ง ทำให้ไตวาย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ออกโรงเตือนแล้ว
นพ.นิพนธ์ โพธิพัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ไคร้เครือเป็นเครื่องยาสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้กันมากในตำรับยาไทย โดยเฉพาะตำรับยาแก้ไข แก้อักเสบ และคลายกล้ามเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า อริสโตโลเซีย ( Aristolochia sp.) มีความเป็นพิษต่อตับ ไต และต่อมหมวกไต เนื่องจากมีรายงานการศึกษาทางพิษวิทยา พบว่า กรดเอริสโทโลคิก ( aristolochic acid) จากสมุนไพรไคร้เครือ มีผลต่อหนูที่ตั้งท้อง ทำให้มดลูกผิดปกติ และทำให้แท้ง นอกจากนี้จากการศึกษางานวิจัยทางคลินิกในต่างประเทศ รายงานว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสมุนไพรที่มีสารดังกล่าว พบอาการเป็นพิษต่อไต โดยตรวจพบสารอริสโตแลคตัม ( aristolactams) และสารเอเอ-ดีเอ็นเอ แอดดัคท์(AA-DNA adducts) อื่น ๆ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งและทำให้ไตวายในผู้ป่วย
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อปี 2545 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุล อริสโตโลเซียเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ เนื่องจากในหลายประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนนาดา ฝรั่งเศส โอมาน และสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศระงับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรที่มีกรดเอริสโทโลคิกซึ่งเป็นพิษต่อร่างกายโดยทำให้เกิดไตวายและเป็นมะเร็งทางเดินปัสสาวะ ดังนั้นทางคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติจึงได้มีประกาศตัดสมุนไพรไคร้เครือออกจากตำรับยาแผนไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 จำนวน 10 ตำรับ จาก 28 ตำรับ ได้แก่ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมแก้ลมวิงเวียน ยาหอมอินทจักร์ ยาธาตุบรรจบ ยาประสะการพลู ยาประสะเจตพังคี ยามัมทธาตุ ยาวิสัมพยาใหญ่ ยาเขียวหอม ยาอำมฤควาที เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้และมีการจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุลอริสโตโลเซีย
นางณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสมุนไพร กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2555 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการวิจัยศึกษาความเป็นพิษของสมุนไพรไคร้เครือ โดยสุ่มเก็บตัวอย่างจากร้านขายยาสมุนไพรในกรุงเทพฯ นครปฐม สกลนคร เชียงใหม่ และราชบุรี จำนวน 10 ตัวอย่าง มาตรวจวิเคราะห์ทางเคมีด้วยวิธี โครมาโทกราฟีผิวบาง พบว่า ทุกตัวอย่างมีกรดเอริสโทโลคิก และเมื่อใช้วิธีวิเคราะห์กึ่งปริมาณ พบว่า สารสกัดด้วยเมทานอลจากไคร้เครือมีปริมาณกรดเอริสโทโลคิก ดังนั้นผู้บริโภคต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการใช้สมุนไพรไคร้เครือที่เป็นพืชสกุลอริสโตโลเซียเพราะเป็นอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้ก่อนเลือกซื้อยาสมุนไพรทุกชนิด ต้องสังเกตว่ามีทะเบียนยาถูกต้องหรือไม่ ดูวันผลิตยาและวันหมดอายุ ภาชนะบรรจุอยาในสภาพดีหรือไม่ แหล่งผลิตน่าเชื่อถือและจะต้องระบุสถานที่ผลิตยาในฉลากอย่างชัดเจน.
อ้างอิง:www.dailynews.co.th
หมายเหตุสำหรับข้อมูลในหมวดสมุนไพร : การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้น ควรศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ถูกต้อง และศึกษาผลข้างเคียงโดยละเอียด ว่าไม่มีผลกระทบข้างเคียงใดๆ
ข้อมูลที่ฟาร์มเกษตรนำมาเสนอนั้น เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีการค้นข้อมูลเชิงลึก ฉนั้น ผู้สนใจ ต้องศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนใช้สมุนไพรแต่ละชนิด
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 12843 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,