วิจัยโอสถสารจากบัวหลวง สรรพคุณลดความดันโลหิตสูง
จากสภาพวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมยุคนี้ที่ต้องเร่งรีบแข่งขัน จนในบางครั้งไม่มีเวลาที่จะหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารและ..
data-ad-format="autorelaxed">
วิจัยโอสถสารจากบัวหลวง สรรพคุณลดความดันโลหิตสูง จากสภาพวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมยุคนี้ที่ต้องเร่งรีบแข่งขัน จนในบางครั้งไม่มีเวลาที่จะหันมาใส่ใจในเรื่องอาหารและออกกำลังกาย ทำให้หลายคนมีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ทั้ง หัวใจ เบาหวาน รวมทั้ง “ความดันโลหิตสูง” กันได้ง่าย ซึ่งแต่ละปีรัฐต้องสูญเสียงบในการสั่งนำเข้ายาเพื่อมาใช้ในการบรรเทารักษา...
ฉะนี้...เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ผศ.ดร.เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์ จากคณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ “สกัดบัวหลวงเพื่อใช้ลดความดันโลหิตสูง” ขึ้น
ผศ.ดร.เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์ เปิดเผยว่า...บัวหลวงเป็นไม้น้ำที่พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลพบว่า แม้ในอดีตการแพทย์แผนไทยจะมีการนำไปต้มดื่มเพื่อลดความดันโลหิต แต่ทว่ายังไม่มีที่ใดศึกษาเพื่อยืนยันว่า ในพรรณไม้น้ำดังกล่าวสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการลดความดันโลหิตได้มากน้อยเพียงใด ดังนั้นเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสมุนไพรไทย และเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่มีภาวะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าว ทีมวิจัยจึงได้หันมาทำการศึกษา...
สำหรับขั้นตอนการสกัด เริ่มจากนำใบบัวหลวงสดมาล้างและผึ่งแดดให้แห้ง จากนั้นตัดเป็นชิ้นให้มีขนาดประมาณ 1 นิ้ว นำใบบัวหลวงที่หั่นแล้วไปอบด้วยเครื่อง hot air oven ที่อุณหภูมิ 60 ํ C เป็นเวลา 3 ชม. นำใบบัวหลวงแห้ง 50 กรัม ต้มกับ ethanol 5% ปริมาณ 200 มล. นาน 10 นาที กรองน้ำต้มด้วยกระดาษกรอง แล้วนำไปทำระเหยด้วยเครื่อง rotary evaporator ที่อุณหภูมิ 37 ํ C เพื่อทำให้เข้มข้น เสร็จแล้วใส่ภาชนะนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -80 ํ C เป็นเวลา 4 ชม.
...แล้วนำไปทำให้แห้งด้วยเครื่อง freeze dryer ขบวนการดังกล่าวจะได้สารสกัดใบบัวหลวงลักษณะเป็นผลสีน้ำตาล ซึ่งประมาณ 19.87 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำหนักใบแห้ง นำสารสกัดที่ได้ไปทดสอบในหนูที่เหนี่ยวนำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง โดยให้สารฯทุกวันในปริมาณที่ทีมวิจัยคิดค้นอย่างสม่ำเสมอ กระทั่งพบว่าในช่วงสัปดาห์ที่ 3 สารสกัดดังกล่าวสามารถช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ประมาณ 8 เปอร์เซ็นต์ในกลุ่มที่ได้สารสกัดขนาด 400/ug/kg/d และลดได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มที่ได้สารสกัด 800/ug/kg/d
ผลการศึกษายังพบว่า สารสกัดใบบัวหลวงสามารถถูกยับยั้งด้วย L-NAME (10 uM) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ควบคุมการสังเคราะห์ nitric oxide (NO) และพบว่าฤทธิ์ขยายหลอดเลือดยังถูกยับยั้งด้วย methylene blue (1 uM) ซึ่งเป็นสารที่ยับยั้งเอนไซม์ guanylyl cyclase ในเส้นทางการส่งผ่านสัญญาณการออกฤทธิ์ของ NO ซึ่งผลการทดลองนี้สนับสนุนซึ่งกันและกัน
จากผลที่ได้นี้เองจึงสามารถกล่าวได้ว่า สารสกัดใบบัวหลวง สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดการตึงของหลอดเลือด ช่วยให้ความดันโลหิตลดลงได้อีกทางหนึ่ง.
อ้างอิง:www.thairath.co.th
หมายเหตุสำหรับข้อมูลในหมวดสมุนไพร : การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้น ควรศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ถูกต้อง และศึกษาผลข้างเคียงโดยละเอียด ว่าไม่มีผลกระทบข้างเคียงใดๆ
ข้อมูลที่ฟาร์มเกษตรนำมาเสนอนั้น เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีการค้นข้อมูลเชิงลึก ฉนั้น ผู้สนใจ ต้องศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนใช้สมุนไพรแต่ละชนิด
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11155 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,