data-ad-format="autorelaxed">
แนะนำเกษตรกรชาวสวนยาง ป้องกันโรคใบร่วง สาเหตุการเกิดโรค เกิดจากเชื้อราไฟทอปโทรา
ลักษณะอาการที่เกิด ใบยางจะร่วงทั้งที่ใบยังเขียวสด และใบเหลือง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศลักษณะที่เด่นชัดคือ ก้านใบมีรอยช้ำสีดำ ตรงกึ่งกลางรอยช้ำจะปรากฏหยดน้ำยาง สีขาวเกาะอยู่เมื่อนำใบยางที่ร่วงนำมาสะบัดไปมาเบาๆ ใบย่อยจะหลุดร่วงบางครั้งบนแผ่นใบจะเป็นแผล มีลักษณะช้ำ ฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ฝักยางจะเน่าดำและไม่ร่วงหล่นตามธรรมชาติ ส่วนต้นยางอ่อน เชื้อจะเข้าทำลายบริเวณยอดอ่อน ทำให้ยอดเน่าแล้วลุกลามเข้าทำลายก้านใบและแผ่นใบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย
การแพร่ระบาด เชื้อราจะแพร่ระบาดโดยลมพัดพาสปอร์ไป โรคจะระบาดมากในสภาพอากาศเย็น มีฝนตกชุก และความชื้นสูงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 4 วันและมีแสงแดดน้อยกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน พบมากในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลลมมรสุม ในภาคใต้ฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก
การป้องกันกำจัด
-ปลูกยางพันธุ์ต้านทานโรค -ควรกำจัดวัชพืชและตัดแต่งกิ่งในสวนยางให้โปร่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกลดความชื้นในสวนยาง
-ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อรา เช่น ทุเรียน ส้ม พริกไทย ร่วมในสวนยาง
-การใช้สารเคมีสำหรับต้นยางอายุน้อยกว่า 2 ปี ฉีดพ่นพุ่มใบยางด้วยยาเอพรอน 35% SD หรืออาลีเอท 80%WP ในอัตรา 20 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร ก่อนฤดู โรคระบาดทุก 7วัน
-นำยูเรีย (46-0-0)อัตรา 5% ผสมสารจัดใบฉีดพ่นพุ่มใยยางก่อนฤดูกาลระบาด ในช่วงเย็นทุก 3 วัน
-ในต้นยางใหญ่ การใช้สารเคมีป้องกันไม่คุ้มค่าใช้จ่าย แนะนำให้หยุดกรีดยางระหว่างที่เกิดโรคระบาด แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางให้สมบูรณ์
อ้างอิง : http://www.yangpara.com/