ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 21234 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กรมวิทยาศาสตร์บริการ คิดค้นพัฒนา เทคโนโลยีถ้วยดินเผารองรับน้ำยาง

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงจัดทำโครงการพัฒนาถ้วยดินเผารองรับน้ำยางขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาถ้วยรองรับน้ำยางให้..

data-ad-format="autorelaxed">

ถ้วยรองน้ำยาง เซรามิค น้ำยางไม่ติดถ้วย

กรมวิทยาศาสตร์บริการ เสนอผลงานวิจัยจากการคิดค้นพัฒนา “เทคโนโลยีถ้วยดินเผารองรับน้ำยางช่วยเกษตรกร” หวังช่วยให้เกษตรกรชาวสวนยางมีภาชนะรองรับน้ำยางที่สามารถทนแดดทนฝน และใช้งานได้ดีในราคาไม่แพง

เนื่องจากยางพารา ถือเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่าปีละ 300,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีการปลูกยางพารารวม 18 ล้ายไร่ ใน 64 จังหวัด โดยภาคใต้มีพื้นที่เพาะปลูกหลักกว่า 10 ล้านไร่ และที่เหลือปลูกกระจายอยู่ในภาคต่างๆ ทั้ง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในกรรมวิธีการกรีดยางนั้น เดิมชาวสวนยางจะใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะรองรับน้ำยาง เนื่องจากก่อนนี้พื้นที่ปลูกยางส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้ ซึ่งมีการปลูกต้นมะพร้าวจำนวนมาก แต่เมื่อมะพร้าวมีราคาแพงขึ้นกะลามะพร้าวหายาก ชาวสวนยางจึงเปลี่ยนมาใช้ถ้วยพลาสติกที่มีราคาถูกกว่าแทน แต่ก็มีข้อเสีย คือ น้ำยางจะติดภาชนะ ไม่สามารถปาดออกได้หมด ทั้งยังไม่ทนทานต่อแดด ฝน จึงกรอบแตกได้ง่าย ทำให้ต้องเปลี่ยนถ้วยรองน้ำยางบ่อย ชาวสวนยางบางรายจึงหันไปใช้ถ้วยเซรามิก หรือ ถ้วยดินเผา หากเป็นถ้วยเนื้อขาวในลักษณะเดียวกับจานชาวเซรามิกก็จะใช้งานได้ดี แต่มีราคาแพง และ มีค่าขนส่งสูง เนื่องจากส่วนใหญ่มีการผลิตอยู่เฉพาะในจังหวัดลำปาง ขณะเซรามิกคุณภาพต่ำชนิดเนื้อดินแดง ก็จะมีความแข็งแรงน้อยกว่า แตกหักง่าย อีกทั้งสีน้ำมันที่ใช้ในการเคลือบผิว เมื่อใช้งานไปนานๆ สีก็จะหลุดลอกไม่สามารถ

กรมวิทยาศาสตร์บริการ จึงจัดทำโครงการพัฒนาถ้วยดินเผารองรับน้ำยางขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาถ้วยรองรับน้ำยางให้มีคุณภาพดี สามารถใช้งานในสวนยางได้จริง

เกษม พิฤทธิ์บูรณะ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า นักวิจัยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเซรามิก ได้พัฒนาถ้วยเซรามิกเพื่อรองรับน้ำยาง ที่ทดสอบแล้วว่ามีคุณสมบัติดีกว่ากะลามะพร้าว และถ้วยพลาสติก ทั้งอายุการใช้งานของถ้วยเซรามิกที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถใช้งานได้นานเท่ากับอายุต้นยาง เพราะมีความทนทานมาก จากต้นยางที่มีไม่ต่ำกว่า 640 ล้านต้น ขณะการใช้ภาชนะแบบเดิมยังไม่ให้ผลลัพธ์ที่ดีพอ เทคโนโลยีถ้วยดินเผารองรับน้ำยางนี้จึงนับเป็นงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง

ด้าน อุราวรรณ อุ่นแก้ว ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีชุมชน กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ของกรมฯ ได้ศึกษาและพัฒนาถ้วยดินเผาตั้งแต่วัตถุดิบที่เป็นเนื้อดิน พัฒนาเทคนิคการขึ้นรูป รวมถึงพัฒนากรรมวิธีในการเคลือบ และได้นำเทคโนโลยีไปเผยแพร่ให้กับ กลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมแล้ว ด้วยชาวบ้านกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลาง มีอาชีพทำครกซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม การเผยแพร่เทคโนโลยีครั้งนี้จึงเป็นเสมือนการเพิ่มโอกาสทางด้านการตลาด เพิ่มกลุ่มลูกค้าให้ขยายกว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งนักวิจัยยังได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านนำวัตถุดิบในท้องถิ่น เช่น ดิน ขี้เถ้าจากเตาฟืนมาใช้ในการผลิต และด้วยการผลิตที่มีการเผาถ้วยเพียงครั้งเดียวจึงช่วยลดต้นทุนการผลิตจากเดิมลง ทำให้ชาวบ้านมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ด้วยจุดเด่นของผลงานวิจัยถ้วยดินเผารองรับน้ำยาง ที่เป็นภาชนะเนื้อแกร่ง มีความแข็งแรงสูง มีผิวเคลือบมันวาว เมื่อนำไปทดลองใช้รองน้ำยางในสวนยาง จึงทำให้สามารถเก็บน้ำยางออกได้ทั้งหมด ไม่มีน้ำยางติดถ้วย นอกจากนั้นยังทนแดด ทนฝน ใช้งานได้นาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติตามที่เกษตรกรต้องการ” อุราวรรณ กล่าว

อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี ที่ต้องการให้นำผลงานวิจัยถ่ายทอดสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จริง จากตัวอย่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จังหวัดนครพนม ชาวบ้านกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านกลางก็มีเป้าหมายจะผลิตถ้วยยางเพื่อจำหน่าย ให้ชาวสวนยางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อีกทั้งกรมฯยังมีแผนที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมาย เนื่องจากมีการปลูกต้นยางจำนวนมาก ที่กำลังเข้าสู่ช่วงระยะเวลาเก็บเกี่ยวน้ำยางอีกด้วย

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคตกรมวิทยาศาสตร์บริการก็มีนโยบายที่จะนำผลงานวิจัยมาจดสิทธิบัตรให้มากขึ้น และหลังจากจดสิทธิบัตรแล้ว ก็จะได้นำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีเหล่านั้น ไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ชาวบ้าน และกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SME เพื่อให้ผลงานนั้นเกิดผลเป็นประโยชน์อย่างสมบูรณ์

อ้างอิง: http://www.engineeringtoday.net

 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 21234 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8470
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7572
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7515
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6693
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7666
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6655
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7057
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>