data-ad-format="autorelaxed">
การรักษาหน้ายางพารา
ในช่วงฝนตกชุก พื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ตั้งแต่เช้า-เที่ยงวัน ผู้คนและต้นยางพาราก็ยังไม่มีโอกาสได้รับแสงอาทิตย์เลย และคิดว่าน่าจะไม่มีแสงแดดแน่นอนในวันนี้นอกจากสายฝนที่โปรยปรายมาเรื่อยๆ สภาพอากาศแบบนี้ หากติดต่อกัน 3-4 วัน และในแต่ละวันมีแสงแดดให้แก่สวนยางพาราน้อยกว่า 3 ชั่วโมง ก็จะส่งผลให้ความชื้นในสวนยางพารามีถึงหรือมากกว่า 90 % ซึ่งจะเหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเชื้อราที่จะทำให้เกิดโรคต่อต้นยางพารา อาทิ โรคใบร่วงและฝักเน่าไฟทอปโทรา, โรคเปลือกเน่า, โรคเส้นดำ,ฯลฯ สำหรับวันนี้จะขอกล่าวเฉพาะโรคที่จะเกิดบริเวณหน้ายาง คือ โรคเปลือกเน่าและโรคเส้นดำ เท่านั้น
ชาวสวนยางพาราควรหยุดกรีดยางในช่วงฝนตกชุกที่ตกติดต่อกันหลาย ๆ วัน จนสิ้นฤดูฝน โดยเฉพาะสวนยางพาราที่เพิ่งเปิดกรีดในระยะ 1-3 ปีแรก ต้องให้ความสำคัญให้มากเพราะมีโอกาสที่หน้ายางหรือหน้ากรีดจะเน่าเปื่อยได้ง่ายกว่ายางพาราที่มีอายุการกรีดมากแล้ว โดยก่อนหยุดกรีดยางก็ควรพ่นหรือทาหน้ายางด้วย “สารป้องกันการเข้าทำลายโดยเชื้อรา” เช่น เอพรอน 35 เอส ดี หรือสรุปแนวทางการดูแลสวนยางพารายามหน้าฝน คือ
ควรจัดการสวนยางพาราให้โล่งหรือโปร่งเพื่อให้ความชื้นในสวนยางลดลง
หากฝนตกไม่ชุกพอจะกรีดยางได้บ้าง ก็ให้พ่นหรือทาหน้ายางด้วย “สารป้องกันการเข้าทำลายโดยเชื้อรา” โดยควรพ่นหรือทาในระยะเวลาที่ไม่เกิน 12 ชั่วโมงหลังกรีดเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หากไม่สามารถทำได้ ก็ให้ทา 2-3 วัน/ครั้ง หรือ สัปดาห์ละครั้ง จนหมดฤดูฝน
การใช้มีดกรีดยางในช่วงเวลาดังกล่าวควรระวังเชื้อราที่จะติดไปกับมีดกรีดยางจากต้นสู่ต้น จึงควรพกภาชนะเล็ก ๆ ใส่สารละลายของ เอพรอน 35 เอส ดี เพื่อจุ่มมีดทุกครั้งที่กรีดเสร็จ 1 ต้น
หากเชื้อราเข้าทำลายหน้ายางแล้ว ควรเฉือนส่วนที่เป็นโรคออก แล้วพ่นหรือทาด้วย เอพรอน 35 เอส ดี (ดูในรายละเอียดในเรื่องโรคยางพาราอีกทีนะครับ)
หากเราสังเกตุหน้ากรีดในสวนยางพาราโดยทั่ว ๆ ไป ก็จะพบว่าชาวสวนยางที่ไม่ได้ใช้ “สารป้องกันการเข้าทำลายโดยเชื้อรา” นั้นมีมากกว่าที่ใช้ โดยจะมองเห็นเป็นแถบสีแดง ๆ หรือสีดำสนิท ติดอยู่เป็นแถบ ๆ หรือเป็นช่วง ๆ (ใช้ในช่วงจำเป็น) ถ้าเห็นเป็นสีแดง ๆ แสดงว่าเป็นการใช้ เอพรอน 35 เอส ดี ผสมฝุ่นแดงทา ซึ่ง เอพรอน 35 เอส ดี จะมีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อราอยู่ด้วย แต่ถ้าเป็นแถบสีดำ แสดงว่าชาวสวนยางใช้ “สารป้องกันการเข้าทำลายโดยเชื้อรา” ที่เป็นคล้าย ๆ แอสฟัลส์(ไม่มียาทำลายเชื้อรา) ซึ่งเป็นของมาเลเซีย แต่คงผลิตในประเทศไทย
ดังนั้น หน้าฝนนี้ หากสามาถหยุดกรีดยางได้ก็จะเป็นการดีมาก ในแง่ที่ไม่ไปเพิ่มปริมาณยาง(Supply) เข้าสู่ตลาดให้ราคาตกมากไปกว่านี้ ที่สำคัญต้องยางพาราของเราก็ปลอดภัยจากโรคหน้ายาง(โรคเปลือกเน่า และโรคเส้นดำ) “การป้องกันทำง่ายกว่าการรักษาเยียวยา” เพราะฉะนั้น รักษาหน้ายางเอาไว้ค่อยกรีดทำเงินเมื่อพ้น
อ้างอิงทั้งหมดจาก : http://www.live-rubber.com/