ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 7490 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ราคายางพารา ปี 59 ผลผลิตล้นโลก ราคายังเป็นช่วงขาลง

ราคายางพารา วิกฤตยางพาราผลพวงจากระดับราคายาง เริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงตั้งแต่ปี 2555 หลังพุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2554 โดยระดับร

data-ad-format="autorelaxed">

ราคายางพารา ปี 59

 

ราคายางพารา วิกฤตยางพาราผลพวงจากระดับราคายาง เริ่มเข้าสู่ช่วงขาลงตั้งแต่ปี 2555 หลังพุ่งขึ้นสูงสุดเมื่อปี 2554 โดยระดับราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดกลางยางพารา จ.สงขลา เฉลี่ย 146 บาท/กก. ราคาสูงสุดทะลุ 195 บาท/กก. ขณะที่ราคาซื้อขายยางแผ่นดิบเฉลี่ย 132 บาท/กก. และราคาสูงสุดกว่า 180 บาท/กก. ล่าสุดวันที่ 30 ธ.ค. 2558 ราคาประมูลยางแผ่นรมควันชั้น 3 ร่วงลงเหลือ 37.12 บาท/กก. ส่วนยางแผ่นดิบซื้อขายที่ 38.33 บาท/กก. เทียบกับต้นทุนการผลิตยางพาราของกระทรวงเกษตรฯที่ 64.19 บาท/กก.แล้ว ไม่แปลกที่ชาวสวนยางจะได้รับความเดือดร้อนจนต้องออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐช่วย โดยเฉพาะภาคใต้ซึ่งพึ่งพารายได้จากสวนยางและการประมงเป็นหลัก

 

ราคายางพารา

 

ปี 2559 ทิศทางยางพาราจะเป็นอย่างไร ชาวสวนยางพอมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์หรือไม่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) วิเคราะห์สถานการณ์ยางพาราไทย ดังนี้

 

พท.ปลูกเพิ่ม-ผลผลิตโลกพุ่ง 12 ล้านตัน

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เนื้อที่ปลูกยางของโลกเพิ่มขึ้นทุกปี จาก 73.14 ล้านไร่ในปี 2554 เป็น 77.60 ล้านไร่ในปี 2558 สำหรับผลผลิตยางของโลกเพิ่มขึ้นจาก 11.23 ล้านตันในปี 2554 เป็น 12.00 ล้านตันในปี 2558 เนื่องจากราคายางอยู่ในระดับสูง จูงใจให้มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา รวมทั้งมีการขยายเนื้อที่เปิดกรีดเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตยางรายใหญ่ของโลก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปี 2558 มีเนื้อที่ปลูกยางรวม 46.50 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 59.92 ของเนื้อที่ปลูกยางของโลก ผลผลิตรวม 8.36 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 69.67 ของผลผลิตโลก โดยอินโดนีเซียปลูกยางมากที่สุดในโลก มีการขยายเนื้อที่ปลูกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 21.60 ล้านไร่ในปี 2554 เป็น 22.00 ล้านไร่ในปี 2558 จากนโยบายสนับสนุนให้ประเทศเป็นฐานการผลิตรถยนต์ในภูมิภาคอาเซียน แต่ผลผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากไทย โดยมีผลผลิต 3.23 ล้านตันในปี 2558 มาเลเซียมีเนื้อที่ปลูกอันดับ 4 รองจากอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม 6.50 ล้านไร่ในปี 2558 ผลผลิตลดลงจาก 1.00 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 0.70 ล้านตันในปี 2558

 

ราคายางพารา-ส่งออก

 

จีนต้องการใช้เพิ่มสวนทางยุโรป-ญี่ปุ่น

ด้านความต้องการใช้ยาง ช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.22 ต่อปี จาก 10.98 ล้านตันในปี 2554 เป็น 12.24 ล้านตันในปี 2558 โดยเฉพาะจีนขยายตัวทางเศรษฐกิจรวดเร็ว จึงมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้นมาก โดยปี 2554-2558 การใช้ยางของจีนเพิ่มขึ้นจาก 3.60 ล้านตันในปี 2554 เป็น 5.00 ล้านตันในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.05 ต่อปี

 

ส่วนยุโรปมีความต้องการใช้ยางลดลงจาก 1.24 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 1.13 ล้านตันในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 1.31 ต่อปี อินเดียต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้นจาก 0.96 ล้านตันปี 2554 เป็น 1.05 ล้านตันในปี 2558 สวนทางกับสหรัฐที่ต้องการใช้ยางลดลงจาก 1.03 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 0.91 ล้านตันในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 2.65 ต่อปี เช่นเดียวกับญี่ปุ่น ที่ใช้ยางลดลงจาก 0.77 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 0.70 ล้านตันในปี 2558 ทำให้ผู้ผลิตยางต้องพึ่งพาตลาดจีนมากขึ้น

 

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกยางโลกเพิ่มขึ้นจาก 8.33 ล้านตันในปี 2554 เป็น 10.00 ล้านตันในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.45 ต่อปี โดยอินโดนีเซียส่งออกยางพาราอันดับ 2 รองจากไทย ส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 2.57 ล้านตันในปี 2554 เป็น 2.70 ล้านตันในปี 2558 มาเลเซียส่งออกอันดับ 3 เพิ่มขึ้นจาก 1.24 ล้านตันปี 2554 เป็น 1.26 ล้านตันในปี 2558 เวียดนามส่งออกอันดับ 4 จาก 0.82 ล้านตันในปี 2554 เป็น 1.00 ล้านตันในปี 2558

 

ราคาร่วงหนักตั้งแต่ปี′55-58

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ราคายางในตลาดโลกปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะปี 2555-2558 โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสิงคโปร์ : SICOM ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ลดลงจาก กก.ละ 482.54 เซนต์สหรัฐในปี 2554 เหลือ 165.00 เซนต์สหรัฐในปี 2558 ลดลงร้อยละ 23.63 ต่อปี และในรูปของเงินบาทลดลงจาก กก.ละ 144.66 บาทในปี 2554 เหลือ 55.00 บาทในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 21.74 ต่อปี ยางแท่งลดลงจาก กก.ละ 136.40 บาทในปี 2554 เหลือ 54.00 บาทในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 21.61 ต่อปี ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดโตเกียว TOCOM ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 จาก กก.ละ 145.04 บาทในปี 2554 เป็น 55.00 บาทในปี 2558 หรือลดลงร้อยละ 21.74 ต่อปี

 

ผลผลิตยางไทย 4.24 ล้านตัน

สำหรับสถานการณ์ยางพาราไทย ช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเนื้อที่กรีดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.79 ต่อปี จาก 12.77 ล้านไร่ในปี 2554 เป็น 18.85 ล้านไร่ในปี 2558 ขณะที่ผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 3.31 ล้านตันในปี 2554 เป็น 4.24 ล้านตันในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.23 ต่อปี ผลผลิตต่อไร่ลดลงจาก 262 กก.ต่อไร่ในปี 2554 เหลือ 237 กก.ต่อไร่ในปี 2558 เนื่องจากนโยบายสนับสนุนการขยายเนื้อที่ปลูกของรัฐบาล ปัจจุบันไทยมีเนื้อที่ปลูกยางมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย แต่มีผลผลิตยางมากที่สุด ส่วนความต้องการใช้ยางของไทยเพิ่มขึ้นจาก 486,745 ตันปี 2554 เป็น 582,000 ตันในปี 2558 จากการขยายฐานการผลิตของอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ทั้งอุตสาหกรรมยางล้อ และอุตสาหกรรมแบบจุ่ม เช่น ถุงมือยาง เป็นต้น

 

ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกยางไทยเพิ่มขึ้นจาก 3.06 ล้านตันในปี 2554 เป็น 3.70 ล้านตันในปี 2558 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.33 ต่อปี เนื่องจากจีนและอินเดียมีดีมานด์เพิ่มขึ้น ทั้งนี้แนวโน้มการส่งออกยางแท่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.91 ตามความต้องการของตลาด

 

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ได้แก่ จีนมีแนวโน้มนำเข้ายางจากไทยเพิ่มขึ้นจาก 1.34 ล้านตันในปี 2554 เป็น 2.10 ล้านตันในปี 2558 เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.98 ต่อปี มาเลเซียนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 0.36 ล้านตันในปี 2554 เป็น 0.40 ล้านตันในปี 2558 ญี่ปุ่นนำเข้าลดลงจาก 0.34 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 0.25 ล้านตันในปี 2558 สหรัฐนำเข้าลดลงจาก 0.21 ล้านตันในปี 2554 เหลือ 0.15 ล้านตัน โดยปี 2558 ไทยส่งออกยางพารา 3.70 ล้านตัน ลดลงจาก 3.76 ล้านตันของปี 2557

 

ปี′59 ราคายังอยู่ช่วงขาลง

ปี 2559 คาดว่าผลผลิตยางโลกมีประมาณ 13.15 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 9.58 เนื่องจากประเทศผู้ผลิตต่าง ๆ เช่น เวียดนาม ลาว เมียนมา และกัมพูชา ขยายเนื้อที่ปลูกและทยอยเปิดกรีดยางเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้ยางโลกปี 2559 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2558 เล็กน้อย และราคามีแนวโน้มลดลงจากปีที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน

 

ในส่วนของไทยปี 2559 จะมีเนื้อที่กรีดได้ 19.61 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจาก 18.85 ล้านไร่ในปี 2558 ผลผลิต 4.32 ล้านตัน จาก 4.24 ล้านตันในปี 2558 ผลผลิตต่อไร่ คาดว่าลดลงเหลือ 232 กก.ต่อไร่ จาก 237 กก.ต่อไร่ในปี 2558 จากการที่พื้นที่เกิดกรีดใหม่ที่ให้ผลผลิตน้อยเพิ่มขึ้น ความต้องการใช้ยางในประเทศปี 2559 จะเพิ่มเป็น 0.61 ล้านตัน ส่วนการส่งออกของไทยจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีที่ผ่านมาจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ขณะที่ราคายางในประเทศยังมีแนวโน้มลดลงตามทิศทางตลาด

 

ข้อมูลจาก prachachat.net


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 7490 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6689
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7052
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>