ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 11541 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

หนุนสร้างถนนด้วยยางพาราผสมยางมะตอย ฝ่าวิกฤตราคายางตกต่ำ

จะทำให้ผลผลิตยางพาราหายไปในปริมาณครั้งละมากๆ ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ และจะต้องเน้นไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตในสิ่งที่ไม่เคยทำ..

data-ad-format="autorelaxed">





นางณพรัตน์ วิชิตชลชัย ผู้อำนวยการกลุ่มอุตสาหกรรมยาง สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การจะทำให้ผลผลิตยางพาราหายไปในปริมาณครั้งละมาก ๆ ต้องเพิ่มปริมาณการใช้ และจะต้องเน้นไปใช้เป็นวัตถุดิบผลิตในสิ่งที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน

เพราะถ้าแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบเดิม ๆ เช่น ยางล้อรถ ก็จะมีการใช้ยางพาราในปริมาณเท่าเดิม ไม่ทำให้ผลผลิตยางพาราหายไปจากตลาดอย่างชัดเจนนัก แต่ถ้านำมาสร้างเป็นถนน ที่จะต้องใช้ปริมาณมากก็จะช่วยให้หายไปจากสต๊อกได้เร็ว และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา สร้างเสถียรภาพราคายางในระยะยาว

สถาบันวิจัยยาง ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องการใช้ยางพาราผสมยางมะตอยราดถนน มาตั้งแต่ปี 2542 ซึ่งวิธีแรกที่ทดสอบคือการใช้น้ำยางข้นหรือยางแผ่นรมควันมาผสมกับยางมะตอย โดยวิธีนี้จะต้องมีเครื่องมือผสมที่เหมาะสมและปลอดภัย เนื่องจากเวลาผสมน้ำยางข้นกับยางมะตอยจะเกิดปัญหาเรื่องฟองและ แรงดัน สถาบันฯ จึงสร้างเครื่อง ต้นแบบที่ใช้ผสมยางมะตอยกับยางพาราแบบเคลื่อนที่ ขนาดความจุ 5 ตัน และได้ทดลองนำไปราดผิวถนนในพื้นที่หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตร 35 แห่ง ประมาณ 160,000 ตารางเมตร และร่วมกับกรมทางหลวงราดถนนบางแห่ง ตั้งแต่ปี 2547 จนถึงขณะนี้ถนนยังมีสภาพดีอยู่

จากการทดสอบค่าความลึกของร่องล้อในห้องปฏิบัติการของกรมทางหลวงพบว่าถนนที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยางพารามีความทนทานมากกว่าถนนที่ราดด้วยยางมะตอยปกติ เนื่องจากยางพารามีความเหนียว ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ทำให้การคืนตัวกลับดีกว่ายางมะตอย นอกจากนี้ ยังทนต่ออุณหภูมิได้ดีกว่า จากปกติค่าความอ่อนตัวของยางมะตอยจะอยู่ที่ประมาณ 50-54 เมื่อใส่ยางพาราเข้าไปจะมีค่าอ่อนตัวอยู่ที่ 60 กว่า ซึ่งเหมาะกับสภาพอากาศบ้านเรา ทั้งนี้ การใช้ยางพาราจะเข้าไปช่วยเสริมความแข็งแรงให้ถนน ยืดอายุการใช้งาน

แต่การใช้เครื่องผสมที่คิดค้นขึ้นนี้มีข้อจำกัดเพราะต้องเคลื่อนย้ายไปผสมทุกสถานที่ที่ดำเนินการราดถนน ไม่เหมาะไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมถึงการใช้น้ำยางข้นที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปก็มีค่า ใช้จ่ายเพิ่ม สถาบันฯ จึงทดสอบวิธีผสมยางพาราแห้งกับยางมะตอย ซึ่งสามารถนำยางแห้งที่มีอยู่ทั่วไปและมีหลายชนิด เช่น เศษยางที่ตัดมาจากยางแผ่นรมควัน (คัตติ้ง) เศษยาง ยางชั้น 5 ยางตกเกรด ยางที่มีความชื้นหรือยางมีเชื้อรา ก็สามารถนำมาใช้ได้โดยนำมาผสมกับยางมะตอยในเครื่องผสมแบบปิด สัดส่วน 1:1 เพื่อให้เป็นมาสเตอร์แบทซ์ หรือหัวเชื้อ จากนั้นนำไปต้มกับยางมะตอยและราดถนนตามปกติ ปัจจุบันวิธีการผสมยางพาราแบบแห้งนี้ถือว่าง่ายที่สุด อีกทั้งยังไม่มีข้อจำกัดเรื่องน้ำยางไม่ต้องแปรรูป เอาเศษยางมาทำได้เลย และสามารถขยายในเชิงพาณิชย์ได้ ปัจจุบันมีภาคเอกชนที่สนใจพร้อมจะลงทุนทำเครื่องมือผสมยางมาสเตอร์แบทซ์ หากมีนโยบายส่งเสริมเรื่องนี้อย่างจริงจัง

ถ้าสามารถดำเนินการนำยางพารา มาใช้ในการทำถนนได้ ไม่เพียงแต่จะช่วย ดูดซับยางพาราที่ล้นตลาดออกมาได้ในปริมาณมากและรวดเร็ว โดยเฉพาะตอนนี้ราคายางตกต่ำ ยิ่งเป็นโอกาสดีที่ จะนำเอายางมาแปรรูปเพิ่มมูลค่า เมื่อยางน้อยลง ราคา ก็จะเพิ่มขึ้นตามกลไกตลาด ซึ่งจะแก้ปัญหาเสถียรภาพราคายางได้โดยไม่เข้าไปทำให้ตลาดบิดเบือน.

อ้างอิง dailynews.co.th

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 11541 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8468
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7572
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7514
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6690
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7666
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6654
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7057
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>