ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 24107 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ยางตายนึ่ง หรือ โรคยางเปลือกแห้ง (PANEL DRYNESS)

ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็น

data-ad-format="autorelaxed">

ยางตายนึ่ง หรือ โรคยางเปลือกแห้ง (PANEL DRYNESS)

สาเหตุของ โรคยางตายนึ่ง หรือ โรคยางเปลือกแห้ง
สวนยางขาดการบำรุงรักษา
การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน
รีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง
กิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง

ลักษณะอาการของ โรคยางตายนึ่ง
ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้
น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง


ขณะเป็น โรคยางตายนึ่ง
ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย ถ้าปล่อยปละไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด (ไม่แพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น) การ ลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ
เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษา โรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน
การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่าง ถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน
อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 - 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด


การป้องกันกำจัด โรคยางตายนึ่ง หรือ โรคยางเปลือกแห้ง
เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ


ยางที่จะเปิดกรีดใหม่
สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกัน ในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง
ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก
เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง


ยางที่เปิดกรีดแล้วและเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน
หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด
ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม.
หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค

ยางตายนึ่ง หรือ โรคยางเปลือกแห้ง (PANEL DRYNESS)

ข้อมูลจาก : rubber.co.th


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 24107 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

Staff
[email protected]
การใส่ปุ๋ยในยางพารา 
 
สูตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน
และอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง
 
ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง
 
ปุ๋ยสูตรที่สูตรปุ๋ยชนิดของดินอายุของต้นยาง
ปุ๋ยเม็ดปุ๋ยผสม
118-10-68-14-3ดินร่วน2 - 41 เดือน
218-4-513-9-4ดินร่วน47 - 71 เดือน
316-8-148-13-7ดินทราย2 - 41 เดือน
414-4-1911-10-7ดินทราย47 - 71 เดือน
5-15-0-18ดินทุกชนิดต้นยางหลังจากเปิดกรีดซึ่งเคยปลูกพืชคลุมดินและใส่ปุ๋ยฟอสเฟต บำรุงพืชคลุมดิน
615-7-1812-5-14 ดินทุกชนิดต้นยางหลังเปิดกรีด ซึ่งไม่เคยปลูกพืชคลุมดินมาก่อน

หมายเหตุ 
  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 
  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด 
  • ดินทราย คือ ดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย มีโปแตสเซียมต่ำ 
  • ดินร่วน คือ ดินที่มีเนื้อดินะเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ 
  • ปุ๋ยเม็ด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด 
  • ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
​ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วนที่
แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางถัดไป
 
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม
 
ปุ๋ยผสมสูตรที่ปริมาณธาตุอาหาร (%)น้ำหนักของแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสม (กิโลกรัม)
ไนโตรเจน
(N)
ฟอสเฟต
(P2 O5)
โปแตสเซี่ยม
(K2O)
แอมโมเนียมซัลเฟต
(21%N)
ร้อคฟอสเฟต
(25%P25)
โปแตสเซี่ยมคลอไรด์
(60%K20)
1814338575
2139460346
38137365311
411107503812
515-1871-29
612514572023
 
หมายเหตุ
  • ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว

วิธีการใส่ปุ๋ย 
 วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้ 
  • ใส่รองพื้น - นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง 
  • ใส่แบบหว่าน - เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย 
  • ใส่แบบเป็นแถบ - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถวต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย
  • ใส่แบบเป็นหลุม - เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได 
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดิน
มีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
 
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย 
ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไป จนถึง
กึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่นอยู่ในบริเวณห่างจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนต้นยางที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปให้แถวยางห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
 
 
ระยะเวลาและอัตราการใส่ปุ๋ย 
ต้นยางก่อนเปิดกรีด ในระยะตั้งแต่เริ่มต้นปลูกจนถึงต้นยางอายุประมาณ 17 เดือน จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในช่วงนี้
จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยให้บ่อยครั้งในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของต้นยางหลังจากที่ต้นยางมีอายุเกิน 17 เดือนขึ้นไปแล้ว จะใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ย
 
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก
 
อายุต้นยาง
(เดือน)
จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
สูตร 1 (ดินร่วน)
และ
สูตร 3 (ดินทราย)
สูตร 2 (ดินร่วน)
และ
สูตร 4 (ดินทราย)
ปุ๋ยผสม
260  130ใส่รอบต้นรัศมี 30 เซนติเมตร
460 130ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
690 200ใส่รอบต้นรัศมี 40 เซนติเมตร
11120 260ใส่รอบต้นรัศมี 50 เซนติเมตร
14120 260ใส่รอบต้นรัศมี 60 เซนติเมตร
17120 260
ใส่เป็นแถบในแถวยาง ห่าง   
จากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

 
23190 400
29190 400
35190 400
41190 400
47 250530
53 250530
59 250530
65 250530
ใส่เป็นแถบกว้าง 2.5 เมตร   
ห่างจากโคนต้นยางข้างละ   
อย่างน้อย 50 เซนติเมตร
71 250530
77 250530
83 250530

 
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
อายุต้นยาง
หรือเดือนที่ใส่ปุ๋ย
สูตรปุ๋ยที่ใช้กับชนิดของดินอัตราปุ๋ย (กรัมต่อต้น)
ดินร่วนดินทราย
ปุ๋ยเม็ด
ปุ๋ยผสม
1 เดือนหลังปลูก 
ปุ๋ยเม็ด
18-10-6
หรือปุ๋ยผสม
8-14-3 
ปุ๋ยเม็ด
16-8-14
หรือปุ๋ยผสม
8-13-7
45100
4 เดือน (ต.ค.)70150
11 เดือน (พ.ค.)90200
16 เดือน (ต.ค.)90200
23 เดือน (พ.ค.)  135300
28 เดือน (ต.ค.)135300
35 เดือน (พ.ค.)135300
40 เดือน (ต.ค.)135300
47 เดือน (พ.ค.) 
ปุ๋ยเม็ด
18-4-5
หรือปุ๋ยผสม
13-9-4
ปุ๋ยเม็ด
14-4-9
หรือปุ๋ยผสม
11-10-7
90140
52 เดือน (ต.ค.)190400
59 เดือน (พ.ค.)190400
64 เดือน (ต.ค.)190400
71 เดือน (พ.ค.)190400
76 เดือน (ต.ค.)190400
 
หมายเหตุ
  • เดือนที่ใส่ปุ๋ยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
ต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว จะใส่ปุ๋ย 2 ครั้งในอัตรา 1-1.2 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี (แล้วแต่สูตรปุ๋ยที่ใช้) โดยใส่ครั้งแรก
หลังจากที่ยางผลัดใบแล้วในช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม ครั้งที่สองใส่ในช่วงปลายฤดูฝน ประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคม ดังแสดงไว้ในตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว

 
ตารางแสดงระยะเวลาการใส่ปุ๋ยและอัตราการใส่ปุ๋ยสำหรับยางที่เปิดกรีดแล้ว
 
เวลาที่ใส่ปุ๋ย
สำหรับยาง
ที่เปิดกรีดแล้ว
ชนิดของปุ๋ยจำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กรัมต่อต้น)บริเวณที่ใส่ปุ๋ย
ปุ๋ยเม็ดปุ๋ยผสม
ครั้งที่ 1
- ใส่ต้นฤดูฝนประมาณ
เดือนพฤษภาคม
ปุ๋ยผสมสูตร 5500
ใส่ทั่วแปลงยาง โดยหว่านให้ห่างจากแถวยางประมาณ 1 เมตร
 
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6500600
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ500-
ครั้งที่ 2
- ใส่ปลายฤดูฝนประมาณเดือนกันยายน ถึง เดือนตุลาคมปุ๋ยผสมสูตร 5-500
ใส่ทั่วแปลงยางโดยหว่านให้ให้ห่างจากแถวยางประมาณ 1 เมตร
 
ปุ๋ยเม็ดหรือปุ๋ยผสมสูตร 6500600
ปุ๋ยเม็ดอื่นๆ500-
 
หมายเหตุ
  • ยางแก่ก่อนโค่น 3-5 ปี ควรงดใส่ปุ๋ย


 
ที่มา : http://web.ku.ac.th

13 พ.ค. 2557 , 04:35 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

คุณnarong chailit
[email protected]
อยากได้สุตรปุ๋ยสำหรับต้นยางที่มีอายุ17ปีขึ้นไป(นับจากระยะแรกการกรีต)
12 พ.ค. 2557 , 07:31 AM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8468
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7572
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7514
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6690
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7666
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6654
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7056
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>